กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานDepartment of Labour Protection and Welfare |
ตราสัญลักษณ์ |
ภาพรวมกรม |
---|
ก่อตั้ง | 29 ตุลาคม พ.ศ. 2508; 59 ปีก่อน (2508-10-29) |
---|
กรมก่อนหน้า | |
---|
ประเภท | ส่วนราชการ |
---|
เขตอำนาจ | ทั่วราชอาณาจักร |
---|
สำนักงานใหญ่ | ถนนมิตรไมตรี แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400 |
---|
บุคลากร | 2,059 คน (พ.ศ. 2566)[1] |
---|
งบประมาณต่อปี | 1,143,096,500 บาท (พ.ศ. 2568)[2] |
---|
ฝ่ายบริหารกรม | - เรือเอก สาโรจน์ คมคาย, อธิบดี
- กาญจนา พูลแก้ว, รองอธิบดี
- ว่าที่ร้อยตรี สมศักดิ์ พรหมดำ, รองอธิบดี
- ว่าง, รองอธิบดี
|
---|
ต้นสังกัดกรม | กระทรวงแรงงาน |
---|
ลูกสังกัดกรม | |
---|
เว็บไซต์ | เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ |
---|
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (อังกฤษ: Department of Labour Protection and Welfare) เป็นหน่วยงานระดับกรมของประเทศไทย สังกัดกระทรวงแรงงาน มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน แรงงานสัมพันธ์ และความปลอดภัยแรงงาน เพื่อคุ้มครองสิทธิลูกจ้างตามที่กฎหมายกำหนด
ประวัติ
ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ก่อให้เกิดภาวการณ์ว่างงานเพิ่มมากขึ้น จึงมีการตราพระราชบัญญัติว่าด้วยสำนักจัดหางาน พ.ศ. 2475 และพระราชบัญญัติสำนักงานจัดหางานประจำท้องถิ่น พ.ศ. 2475 พร้อมกับการปรับปรุงกฎหมายด้านแรงงาน และจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาบริหารให้เกิดผลในทางปฏิบัติ โดยแผนกจัดหางาน กองทะเบียน กรมปลัดกระทรวงมหาดไทย นับเป็นหน่วยงานแรกที่มีบทบาทในการบริหารแรงงานอย่างชัดเจน
และได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ด้วยปริมาณงานในด้านแรงงานที่ขยายตัวมาโดยตลอด กองแรงงานซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ด้านบริหารแรงงานขณะนั้นจึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นส่วนแรงงานในปี พ.ศ. 2505 และในปี พ.ศ. 2508 ได้รับการยกฐานะเป็นกรมแรงงานภายใต้สังกัดกระทรวงมหาดไทย ทำหน้าที่ในการบริหารแรงงาน การคุ้มครองแรงงาน การแรงงานสัมพันธ์ การพัฒนาฝีมือแรงงาน การจัดหางาน และกองทุนเงินทดแทนต่อมาในปีพ.ศ. 2533 รัฐบาลพิจารณาเห็นว่าแรงงานควรมีความมั่นคงในชีวิตด้วยระบบประกันสังคม จึงได้จัดตั้งสำนักงานประกันสังคม และโอนภารกิจด้านกองทุนเงินทดแทนของกรมแรงงานให้กับสำนักงานประกันสังคม
เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2535 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ยุบเลิกกรมแรงงานและจัดตั้งหน่วยงานในสังกัดกระทรวงมหาดไทยขึ้นใหม่ 2 หน่วยงาน คือ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ทำหน้าที่ดูแล รับผิดชอบ บริหารการคุ้มครองแรงงานและการแรงงานสัมพันธ์ และกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบ บริหารงานการส่งเสริมการมีงานทำ ได้แก่ การพัฒนาฝีมือแรงงาน และการจัดหางาน พร้อมทั้งอนุมัติในหลักการให้เตรียมดำเนินการจัดตั้งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมต่อไปและได้ดำเนินการจัดตั้งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมประสบผลสำเร็จในปี พ.ศ. 2536 โดยรัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่และกิจการบางส่วนของกระทรวงมหาดไทยไปเป็นของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม พ.ศ. 2536 อันมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน 2536 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงได้เป็นส่วนราชการภายใต้สังกัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
ในปี พ.ศ. 2545 รัฐบาลจึงได้ตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐมีการบริหารราชการแผ่นดินอย่างเป็นระบบ มีการกำหนดรูปแบบการจัดโครงสร้างและปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริหารงานใหม่ให้ชัดเจน เป็นผลให้มีการปรับกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมไปเป็นกระทรวงแรงงาน โดยโอนงานด้านประชาสงเคราะห์ไปยังกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ดังนั้น กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจึงเป็นส่วนราชการในสังกัดกระทรวงแรงงานนับตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2545 เป็นต้นมา
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน มีภารกิจเกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานแรงงาน การคุ้มครองแรงงาน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน การแรงงานสัมพันธ์ การแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และการสวัสดิการแรงงาน โดยการพัฒนามาตรฐาน รูปแบบ กลไก มาตรการ ส่งเสริม สนับสนุน และแก้ไขปัญหา เพื่อเพิ่มโอกาสในการแข่งขันทางการค้า และพัฒนาแรงงานให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
อำนาจหน้าที่
- กำหนดและพัฒนามาตรฐานแรงงาน รวมทั้งการส่งเสริม กำกับ ดูแลให้การรับรองสถานประกอบกิจการที่มีการบริหารจัดการตามมาตรฐานแรงงานที่สอดคล้องกับมาตรฐานแรงงานสากล
- คุ้มครองและดูแลแรงงานทั้งในระบบและนอกระบบ ให้ได้รับสิทธิประโยชน์ตามที่กฎหมายกำหนดและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
- ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์กฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
- ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาระบบความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
- ส่งเสริม พัฒนา และเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจด้านมาตรฐานแรงงาน คุ้มครองแรงงานความปลอดภัยในการท างาน แรงงานสัมพันธ์ แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ และสวัสดิการแรงงาน
- ส่งเสริมและดำเนินการให้มีการจัดสวัสดิการแรงงาน
- ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ข้อพิพาทแรงงาน และความไม่สงบด้านแรงงาน
- พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศด้านสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จัดทำแผนงานและประสานแผนปฏิบัติงานของกรมให้สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านแรงงานของกระทรวง
- ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมหรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
ช่องทางการใช้สิทธิเรียกร้องของลูกจ้าง
กรณีลูกจ้างถูกละเมิดสิทธิให้ยื่นเรื่องที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในท้องที่ที่ลูกจ้างทำงาน หรือที่ใกล้บ้านในวัน และเวลาราชการ หรือสายด่วน 1506 กด 3 หรือสายด่วน 1546 หรือสามารถใช้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ที่ https://eservice.labour.go.th
หน่วยงานในสังกัด
- สำนักพัฒนามาตรฐานแรงงาน ตั้งอยู่ชั้น 13, 14 และ 15 อาคารกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานแรงงาน มีหน้าที่ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตามมาตรฐานแรงงานไทย รวมถึงการให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปัจจุบันมีคุณสุนิสา ผิวนวล เป็นผู้อำนวยการสำนักฯ
- สำนักแรงงานสัมพันธ์ ตั้งอยู่ชั้น 2 - 3 ตึกกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานแรงงาน มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์
- กองความปลอดภัยแรงงาน ตั้งอยู่ตึกกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานแรงงาน (ส่วนแยกตลิ่งชัน) มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยแรงงาน
- กองคุ้มครองแรงงาน ตั้งอยู่ชั้น 10 - 11 ตึกกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานแรงงาน มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน
- กองคุ้มครองแรงงานนอกระบบ ตั้งอยู่ชั้น 11 ตึกกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานแรงงาน มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานเฉพาะแรงงานนอกระบบ
- สำนักงานเลขานุการกรม ตั้งอยู่ชั้น 4 ตึกกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานแรงงาน มีหน้าที่รับ - ส่งหนังสือจากหน่วยงานภายนอก
- กองนิติการ ตั้งอยู่ชั้น 12 ตึกกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานแรงงาน มีหน้าที่ให้คำปรึกษาปัญหาด้านแรงงานและเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้อง
- กองสวัสดิการแรงงาน ตั้งอยู่ชั้น 3 ตึกกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานแรงงาน มีหน้าที่ให้คำแนะนำการจัดสวัสดิการด้านแรงงาน การรับคำร้องกรณีย้ายสถานประกอบกิจการ
- สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 (เขตบางรัก ปทุมวัน ราชเทวี สาทร) ตั้งอยู่เลขที่ 43 อาคารไทยซีซีทาวเวอร์ ชั้น 2 ถนนสาทร แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
- สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 2 (เขตจอมทอง ทุ่งครุ บางขุนเทียน บางบอน ราษฎร์บูรณะ) ตั้งอยู่เลขที่ 2 อาคารเหล่าธงสิงห์ ซอยสุขสวัสดิ์ 33 ถนนสุขสวัสดี์ แขวงราษฎร์บูรณะ เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร 10140
- สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 3 (เขตคลองเตย บางคอแหลม บางนา ประเวศ พระโขนง ยานนาวา วัฒนา สวนหลวง) ตั้งอยู่ที่สำนักงานเขตประเวศ ชั้น 6 ถนนเฉลิมพระเกียรติ ร.9 แขวงประเวศ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร 10250
- สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 4 (เขตคันนายาว บางกะปิ ลาดพร้าว บึงกุ่ม วังทองหลาง สะพานสูง) ตั้งอยู่เลขที่ 72, 74, 76 อาคารกีรทรัพย์ ถนนนวมินทร์ 98 แขวงคันนายาว เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร 10230
- สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 (เขตดินแดง พญาไท ห้วยขวาง) ตั้งอยู่ที่อาคารสำนักงานประกันสังคม ชั้น 8 ในบริเวณกระทรวงแรงงาน ถนนมิตรไมตรี แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
- สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 6 (เขตคลองสาน ธนบุรี บางพลัด บางกอกน้อย บางกอกใหญ่) ตั้งอยู่เลขที่ 308 ร้านสหกรณ์กรุงเทพ จำกัด สำนักงานลาดหญ้า ชั้น 3 ถนนลาดหญ้า แขวงคลองสาน เขตคลองสาน กรุงเทพมหาคนร 10600
- สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 7 (เขตตลิ่งชัน ทวีวัฒนา บางแค ภาษีเจริญ หนองแขม) ตั้งอยู่ที่อาคารกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (ส่วนแยกตลิ่งชัน) 22/3 ถนนบรมราชชนนี แขวงฉิมพลี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 10170
- สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 8 (เขตดุสิต ป้อมปราบศัตรูพ่าย พระนคร สัมพันธวงศ์) ตั้งอยู่ที่อาคารกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (เดิม) ชั้น 1, 2 ภายในกระทรวงมหาดไทย แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
- สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 9 (เขตจตุจักร ดอนเมือง บางเขน บางซื่อ สายไหม หลักสี่) ตั้งอยู่ที่สำนักงานเขตจตุจักร ชั้น 7 ซอยวิภาวดีรังสิต 34 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
- สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 10 (เขตคลองสามวา มีนบุรี ลาดกระบัง หนองจอก) ตั้งอยู่เลขที่ 555/28-33 ชั้น 3 หมู่ 13 ถนนสีหบุรานุกิจ แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร 10510
- ศูนย์ความปลอดภัยในการทำงานเขต 1 (พระนครศรีอยุธยา) ตั้งอยู่เลขที่ 158/138-139 หมู่ 3 ต.คลองสวนพลู อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา 13000
- ศูนย์ความปลอดภัยในการทำงานเขต 2 (ชลบุรี) ตั้งอยู่เลขที่ 145 หมู่ 1 ต.หนองไม้แดง อ.เมืองชลบุรี จ.ชลบุรี 20000
- ศูนย์ความปลอดภัยในการทำงานเขต 3 (นครราชสีมา) ตั้งอยู่เลขที่ 2223/9-10 ถ.สืบศิริ ต.ในเมือง อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา 30000
- ศูนย์ความปลอดภัยในการทำงานเขต 4 (อุดรธานี) ตั้งอยู่เลขที่ 423/1 หมู่ 7 ถ.เลี่ยงเมือง ต.หนองบัว อ.เมืองอุดรธานี จ.อุดรธานี 41000
- ศูนย์ความปลอดภัยในการทำงานเขต 5 (ลำปาง) ตั้งอยู่เลขที่ 384 หมู่ 3 ถ.พหลโยธิน ต.ศาลา อ.เกาะคา จ.ลำปาง 52130
- ศูนย์ความปลอดภัยในการทำงานเขต 6 (นครสวรรค์) ตั้งอยู่เลขที่ 49/54-56 ต.นครสวรรค์ตก อ.เมืองนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ 60000
- ศูนย์ความปลอดภัยในการทำงานเขต 7 (ราชบุรี) ตั้งอยู่เลขที่ 138/1 หมู่ 10 ต.ดอนตะโก อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี 70000
- ศูนย์ความปลอดภัยในการทำงานเขต 8 (สุราษฎร์ธานี) ตั้งอยู่เลขที่ 15 หมู่ 1 ถ.สุราษฎร์ธานี-บ้านนาสาร ต.ขุนทะเล อ.เมืองสุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานี 84100
- ศูนย์ความปลอดภัยในการทำงานเขต 9 (สงขลา) ตั้งอยู่ที่อาคารศาลากลางจังหวัดสงขลา ถ.ราชดำเนิน ต.บ่อยาง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา 90000
- ศูนย์ความปลอดภัยในการทำงานเขต 10 (สมุทรปราการ) ตั้งอยู่เลขที่ 1636 หมู่ 4 ถ.เทพารักษ์ ต.เทพารักษ์ อ.เมืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ 10270
- ศูนย์ความปลอดภัยในการทำงานเขต 11 (ตลิ่งชัน) ตั้งอยู่เลขที่ 18 ถนนบรมราชชนนี แขวงฉิมพลี เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร 10170
- ศูนย์ความปลอดภัยในการทำงานเขต 12 (มีนบุรี) ตั้งอยู่เลขที่ 555/12-16 (ชั้น 2) ถนนสีหบุรานุกิจ แขวงมีนบุรี เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร 10510
ราชการบริหารส่วนภูมิภาค [5]
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น