Share to:

 

กลีบขมับ

สมองกลีบขมับ
(Temporal lobe)
ภาพตัดของสมองแสดงผิวด้านบนของสมองกลีบขมับ
รายละเอียด
ส่วนหนึ่งของซีรีบรัม
หลอดเลือดแดงหลอดเลือดแดงมิดเดิลซีรีบรัล (Middle cerebral artery)
หลอดเลือดแดงโพสทีเรียร์ซีรีบรัล (Posterior cerebral artery)
ตัวระบุ
ภาษาละตินlobus temporalis
MeSHD013702
นิวโรเนมส์125
นิวโรเล็กซ์ IDbirnlex_1160
TA98A14.1.09.136
TA25488
FMA61825
ศัพท์ทางกายวิภาคของประสาทกายวิภาคศาสตร์

สมองกลีบขมับ (อังกฤษ: Temporal lobe; lobus temporalis) ในทางประสาทกายวิภาคศาสตร์ เป็นส่วนของเปลือกสมองในซีรีบรัม อยู่บริเวณด้านข้างของสมอง ใต้ร่องด้านข้าง (lateral fissure) หรือร่องซิลเวียน (Sylvian fissure) ในซีกสมองทั้งสองข้างของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม[1] หากมองสมองของมนุษย์ให้เหมือนนวมนักมวย สมองกลีบขมับเป็นส่วนของนิ้วโป้ง

สมองกลีบขมับมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบความจำทางการเห็น การประมวลความรู้สึกคือการเห็น การเข้าใจในภาษา การบันทึกความทรงจำใหม่ ๆ อารมณ์ความรู้สึก และการเข้าใจความหมาย[2]: 21 

นอกจากนั้นแล้ว สมองกลีบขมับยังมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการได้ยิน เป็นที่อยู่ของคอร์เทกซ์การได้ยินปฐมภูมิ และสมองส่วนนี้ยังเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ความหมาย (semantics) ทั้งในการพูดและการมองเห็น

หน้าที่

ความจำทางการเห็น

สมองกลีบขมับมีส่วนประกอบคือฮิปโปแคมปัสที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างความจำระยะยาวแบบชัดแจ้ง (explicit long-term memory) โดยมีอะมิกดะลาเป็นตัวควบคุม.[2]: 349 

การประมวลสัญญาณความรู้สึก

การได้ยิน

ส่วนที่ติดกันของส่วนบน ส่วนล่าง และส่วนข้างของสมองกลีบขมับมีบทบาทในการประมวลผลของการได้ยินระดับสูง สมองกลีบขมับมีความเกี่ยวข้องในการได้ยินปฐมภูมิ และประกอบด้วยคอร์เทกซ์การได้ยินปฐมภูมิ (primary auditory cortex)[3]

คอร์เทกซ์การได้ยินปฐมภูมิรับข้อมูลความรู้สึกมาจากหูทั้งสองข้าง และคอร์เทกซ์การได้ยินทุติยภูมิประมวลข้อมูลต่อไปให้เป็นหน่วยที่เข้าใจได้เช่นคำพูด[3] รอยนูนกลีบขมับบน (superior temporal gyrus) มีเขตภายในร่องด้านข้างที่สัญญาณเสียงจากหูชั้นในรูปหอยโข่ง (cochlea) เดินทางมาถึงเป็นส่วนแรกในเปลือกสมอง แล้วคอร์เทกซ์การได้ยินปฐมภูมิของสมองกลีบขมับซีกซ้ายก็ประมวลสัญญาณนั้นต่อไป[ต้องการอ้างอิง]

การเห็น

เขตต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเห็นในสมองกลีบขมับทำหน้าที่ให้ความหมายกับตัวกระตุ้นทางตา และยังให้เกิดการรู้จำวัตถุ[ต้องการอ้างอิง] ส่วนด้านล่าง (ventral) ของคอร์เทกซ์กลีบขมับมีส่วนร่วมกับการประมวลผลระดับสูงของการเห็นตัวกระตุ้นที่ซับซ้อน เช่นรอยนูนรูปกระสวย (fusiform gyrus) มีส่วนในการรับรู้ใบหน้า[4] และรอยนูนรอบฮิปโปแคมปัสมีส่วนในการรับรู้ทิวทัศน์[5] ส่วนด้านหน้าของสมองกลีบขมับ ซึ่งเป็นส่วนของทางสัญญาณด้านล่าง (ventral stream) ของระบบประมวลผลทางตา มีส่วนร่วมในการรับรู้ (perception) และการรู้จำ (recognition) วัตถุ[3]

ภาพเคลื่อนที่ของสมองกลีบขมับซีกซ้ายของมนุษย์

การเข้าใจภาษา

สมองกลีบขมับซีกซ้ายประกอบด้วยคอร์เทกซ์การได้ยินปฐมภูมิ (primary auditory cortex) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการประมวลความหมาย (semantics) ทั้งในคำพูดและในการเห็น ของมนุษย์[ต้องการอ้างอิง] เขตเวอร์นิเกที่แผ่ขยายไปทั้งในสมองกลีบขมับและสมองกลีบข้าง มีบทบาทสำคัญในการเข้าใจคำพูด โดยทำงานร่วมกับเขตโบรคา (Broca's area) ในสมองกลีบหน้า[6]

กิจหน้าที่ของสมองกลีบขมับซีกซ้ายไม่จำกัดเพียงแค่การรับรู้ระดับต่ำเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการรับรู้ระดับที่สูงยิ่งขึ้นไปเช่น การเข้าใจ การเรียกชื่อ และระบบความจำคำพูด (verbal memory) [ต้องการอ้างอิง]

ความจำใหม่

สมองกลีบขมับส่วนใน (medial temporal lobe) ที่อยู่ใกล้ระนาบแบ่งซ้ายขวา (sagittal plane) ได้รับการสันนิษฐานว่ามีส่วนร่วมในการเข้ารหัส[7]ความจำระยะยาวเชิงประกาศ[8] (declarative long term memory)[2]: 194–199 

สมองกลีบขมับส่วนในประกอบด้วยฮิปโปแคมปัส ซึ่งเป็นส่วนที่ขาดไม่ได้ในการบันทึกความทรงจำ ดังนั้น ความเสียหายที่เกิดขึ้นในบริเวณนี้อาจทำให้เกิดความเสียหายในการสร้างความทรงจำใหม่ ๆ และอาจนำไปสู่ภาวะเสียความจำภายหน้า (anterograde amnesia[9]) โดยชั่วคราวหรือโดยถาวร[2]: 194–199 

สมองกลีบขมับส่วนใน

สมองกลีบขมับส่วนใน (อังกฤษ: medial temporal lobe) หรือ คอร์เทกซ์กลีบขมับส่วนใน ประกอบด้วยโครงสร้างต่าง ๆ ที่ขาดไม่ได้ในความจำระยะยาว หรือความจำเชิงประกาศ (Declarative memory[8]) ความจำเชิงประกาศหรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความจำชัดแจ้ง (Explicit memory) เป็นความทรงจำที่อยู่ใต้อำนาจจิตใจที่แบ่งออกเป็นความจำโดยความหมาย (semantic memory) คือความทรงจำของความจริงต่าง ๆ และความจำอาศัยเหตุการณ์ (episodic memory) คือความทรงจำของเหตุการณ์ต่าง ๆ[2]: 194 

โครงสร้างต่าง ๆ ของสมองกลีบขมับส่วนในที่ขาดไม่ได้สำหรับความจำระยะยาว รวมทั้งอะมิกดะลา ก้านสมอง และฮิปโปแคมปัส พร้อมกับเขตสมองรอบ ๆ คือ perirhinal cortex, Parahippocampal gyrus, และ Entorhinal cortex[2]: 196 

ฮิปโปแคมปัสเป็นส่วนที่ขาดไม่ได้ในการสร้างความจำ (memory formation) ส่วนคอร์เทกซ์กลีบขมับส่วนในที่อยู่รอบ ๆ เป็นเขตที่สันนิษฐานว่า ขาดไม่ได้ในการบันทึกความจำ (memory storage)[2]: 21  นอกจากนั้นแล้วคอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า (prefrontal cortex) และคอร์เทกซ์สายตา ก็มีส่วนร่วมด้วยเกี่ยวกับความจำชัดแจ้ง[2]: 21 

งานวิจัยแสดงว่า รอยโรคในฮิปโปแคมปัสเขตเดียวของลิงนำไปสู่ความพิการที่จำกัด แต่ว่า รอยโรคอย่างกว้างขวางในทั้งฮิปโปแคมปัสและคอร์เทกซ์กลีบขมับส่วนในนำไปสู่ความพิการที่รุนแรง[10]

ภาพอื่น ๆ

อ้างอิง

  1. "Temporal Lobe". Langbrain. Rice University. สืบค้นเมื่อ 2 January 2011.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 Smith; Kosslyn (2007). Cognitive Psychology: Mind and Brain. New Jersey: Prentice Hall. pp. 21, 194–199, 349.
  3. 3.0 3.1 3.2 Schacter, Daniel L.; Gilbert, Daniel T.; Wegner, Daniel M. (2010). Psychology (2nd ed.). New York: Worth Publishers. ISBN 9781429237192.[ต้องการเลขหน้า]
  4. Sergent J, Ohta S, MacDonald B (Feb 1992). "Functional neuroanatomy of face and object processing. A positron emission tomography study". Brain. 115 (1): 15–36. doi:10.1093/brain/115.1.15. PMID 1559150.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  5. "A cortical representation of the local visual environment : Abstract : Nature". สืบค้นเมื่อ 2009-11-03.
  6. Poeppel D, Idsardi WJ, van Wassenhove V (March 2008). "Speech perception at the interface of neurobiology and linguistics". Philos. Trans. R. Soc. Lond., B, Biol. Sci. 363 (1493): 1071–86. doi:10.1098/rstb.2007.2160. PMC 2606797. PMID 17890189.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  7. การเข้ารหัสโดยรวม ๆ ก็คือ การแปลงข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบหนึ่ง ไปเป็นข้อมูลในอีกรูปแบบหนึ่ง ตัวอย่างเช่น เข้ารหัสเสียงดนตรีไปเป็นหลุมเล็ก ๆ บนซีดีที่ใช้เล่นเพลงนั้นได้
  8. 8.0 8.1 ความจำเชิงประกาศ (Declarative memory) ซึ่งบางครั้งเรียกว่าความจำชัดแจ้ง (explicit memory) เป็นประเภทหนึ่งในสองประเภทของความจำระยะยาวของมนุษย์ เป็นความทรงจำที่สามารถระลึกได้ใต้อำนาจจิตใจเช่นเรื่องราวและความรู้ต่าง ๆ ส่วนความจำระยะยาวอีกอย่างหนึ่งเรียกว่า ความจำไม่ประกาศ (non-declarative memory) ซึ่งเป็นความทรงจำที่ไม่ได้อยู่ใต้อำนาจจิตใจเช่นทักษะต่าง ๆ มีการขี่จักรยานเป็นต้น
  9. ภาวะเสียความจำภายหน้า (anterograde amnesia) คือการสูญเสียความสามารถการสร้างความทรงจำใหม่ ๆ หลังจากเหตุการณ์ที่เป็นเหตุของภาวะเสียความจำ ซึ่งนำไปสู่ความไม่สามารถระลึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นบางส่วนหรือทั้งหมด ในขณะที่ความจำระยะยาวก่อนเหตุการณ์ที่เป็นเหตุของภาวะเสียความจำไม่มีความเสียหายอะไร
  10. Squire, LR; Stark, CE; Clark, RE (2004). "The medial temporal lobe" (PDF). Annual Review of Neuroscience. 27: 279–306. doi:10.1146/annurev.neuro.27.070203.144130. PMID 15217334.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya