กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย
โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เป็นกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อสนองพระราชปณิธานของสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ที่ทรงมุ่งมั่นจะส่งเสริมคุณภาพชีวิต ในด้านความเป็นอยู่และการศึกษาของเยาวชน ปัจจุบันเป็นโรงเรียนที่อยู่ในแผนและยุทธศาสตร์ สำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ โดยจัดการเรียนการสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนส่งเสริมให้นักเรียนคิดเป็น และกล้าลงมือทำ โดยโรงเรียนจะสนับสนุนทั้งด้านอุปกรณ์การเรียนการสอน อุปกรณ์ในห้องทดลองที่มีครบถ้วนและเพียงพอต่อความต้องการของเด็ก ในการศึกษาคนคว้าส่งที่ตนเองสนใจได้เอง โดยมีอาจารย์ที่มีความรู้ความสามารถ คอยให้คำปรึกษาและสนับสนุนให้เด็กแสดงศักยภาพของตนได้อย่างเต็มที่[3] ประวัติสัมพันธ์ ทองสมัคร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้นได้ประกาศจัดตั้ง โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี ตามด้วยชื่อจังหวัดสถานที่ตั้ง ทั้งหมด 10 แห่ง ประจำเขตการศึกษาต่าง ๆ ทุกเขตการศึกษาของประเทศ ต่อมาได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี พระราชทานตราสัญลักษณ์และนามโรงเรียนใหม่ คือ "จุฬาภรณราชวิทยาลัย" ตามด้วยชื่อจังหวัดอันเป็นสถานที่ตั้ง ซึ่งเป็นพระนามของสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ต่อมาจึงได้ประกาศจัดตั้งโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยเพิ่มอีก 2 แห่งเพื่อให้ครบทุกเขตพื้นที่การศึกษา[4] โรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาคในปี พ.ศ. 2551 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานร่วมกับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์จัดการเรียนการสอนหลักสูตรวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ที่โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนละ 1 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 24 คน โดยมีโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เป็นโรงเรียนต้นแบบ และพัฒนาบุคลากร รวมทั้งควบคุมการใช้หลักสูตรให้เป็นไปตามมาตรฐานของหลักสูตร และในปี พ.ศ. 2552 สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานพิจารณาแห่งว่า โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยทั้ง 12 โรงเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรวิทยาศาสตร์ได้มาตรฐานเดียวกันกับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์จึงประกาศ ณ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ให้โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยทั้ง 12 แห่งเป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค[4] ต่อมาเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบข้อเสนอของกระทรวงศึกษาธิการ ให้ดำเนินการพัฒนากลุ่มโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค เพื่อเพิ่มโอกาสให้กับผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ซึ่งมีกระจายอยู่ในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ เน้นการให้โอกาสกับผู้มีความสามารถพิเศษที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ในภูมิภาค ตลอดจนพัฒนา ปรับปรุง ส่งเสริม ให้โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยทั้ง 12 แห่ง มีมาตรฐานเทียบเท่าโรงเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นนำของนานาชาติ และมีมติให้จัดตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการพัฒนาโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค[5] จากนั้น กลุ่มโรงเรียนจึงเริ่มรับนักเรียนเข้าเรียนในหลักสูตรโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาคเป็นรุ่นแรกในปี พ.ศ. 2554 ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนละ 1 ห้องเรียน 24 คน (จัดสอบใหม่โดยโรงเรียน) และระดับชั้นมัธยมศีกษาปีที่ 4 โรงเรียนละ 2 ห้องเรียน (โดยใช้บัญชีรายชื่อนักเรียนที่เคยสมัครสอบของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์) แต่ละห้องมีนักเรียน 24 คน รวม 48 คน [6] ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 - 2556 มีการปรับการรับนักเรียนใหม่ แบ่งระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนละ 4 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 24 คน รวม 96 คน และระดับชั้นมัธยมศีกษาปีที่ 4 โรงเรียนละ 4-6 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 24 คน โดยใช้การรับนักเรียนร่วมกับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์[7] และตั้งแต่ปีการศึกษา 2557 เป็นต้นมา ทุกโรงเรียนปรับการรับนักเรียนเป็นไปตามแผนการรับนักเรียน กล่าวคือ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนละ 4 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 24 คน รวม 96 คน และระดับชั้นมัธยมศีกษาปีที่ 4 โรงเรียนละ 6 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 24 คน รวม 144 คนต่อปีการศึกษา[8] ในวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2558 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้จัดตั้งศูนย์บริหารโครงการพัฒนาโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค มีสถานะเป็นกลุ่มงานภายในสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา เพื่อประสานการดำเนินงานโครงการของคณะกรรมการโครงการฯ กับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ มหาวิทยาลัย นักวิชาการ หน่วยงานต่าง ๆ รวมถึงผู้บริหารและบุคลากรของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตลอดจนดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง[9] ต่อมา เปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์พัฒนาโรงเรียนวิทยาศาสตร์ เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2560[10] เปลี่ยนชื่อโรงเรียนสำนักพระราชวังมีหนังสือที่ รล 0011.3/18298 ลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2561 แจ้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยอ้างถึงหนังสือกระทรวงศึกษาธิการ ที่ ศธ 04278/2112 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2561 เรื่อง การเปลี่ยนชื่อโรงเรียนในกลุ่มโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยเป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ความว่า ความทราบฝ่าพระบาทแล้ว พระราชทานพระอนุญาตให้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนตามที่กราบทูลขอมา ต่อมาเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2561 กระทรวงศึกษาธิการออกประกาศ เรื่อง การเปลี่ยนชื่อโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย โดยมีผลตั้งแต่ 3 กรกฎาคม 2561[11] จัดตั้งโรงเรียนเพิ่มเติมวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2564 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการการพัฒนายกระดับคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษาให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยขึ้นเพิ่มเติมประจำเขตตรวจราชการ 6 แห่ง และปรับปรุงเขตพื้นที่บริการของโรงเรียนให้เหมาะสมกับบริบทสังคม[12] จากนั้น กระทรวงศึกษาธิการโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ดำเนินการพัฒนายกระดับคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษาให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย 6 แห่ง โดยพัฒนาและใช้พื้นที่โรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีอยู่เดิม 4 แห่ง (ลำปาง สุพรรณบุรี กาฬสินธุ์ และอุบลราชธานี) และพื้นที่ที่ได้รับจัดสรรใหม่ 2 แห่ง (สระแก้ว และกำแพงเพชร) ขอพระราชทานนามโรงเรียนพร้อมตราสัญลักษณ์ตามแบบที่กรมศิลปากรได้ออกแบบไว้ ความทราบแล้วพระราชนามตามที่กราบทูลขอมา ปรับปรุงเขตพื้นที่บริการของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยทุกแห่งให้รับนักเรียนจากเดิม 7-8 จังหวัดต่อ 1 โรงเรียนเป็น 3-5 จังหวัดต่อ 1 โรงเรียน และประกาศจัดตั้งโรงเรียนทั้งหกแห่งขึ้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566[13] สัญลักษณ์ประจำโรงเรียน
ส่วนคำว่าวิทยาศาสตร์นั้นเติมขึ้นมาในภายหลัง เพื่อเน้นความเป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ที่อยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ดังนั้น จุฬาภรณราชวิทยาลัย หมายถึง สถาบันการศึกษาขั้นสูงอันเกี่ยวเนื่องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ในสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เจ้าฟ้านักวิทยาศาสตร์ ทั้งนี้ ทางโรงเรียนได้ใช้พระนามเพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 36 พรรษา
เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2562 สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ได้ทรงพระราชทานตราสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนใหม่ โดยออกแบบโดยสำนักช่างสิบหมู่ กรมศิลปากร[15]
โรงเรียนในเครือข่ายโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มีทั้งหมด 18 แห่ง ตามพื้นที่บริการของโรงเรียนซึ่งอิงตามเขตการศึกษาเดิม 12 เขตและเขตตรวจราชการ 18 เขต ดังนี้ หลักสูตรของโรงเรียน
ในช่วงก่อนเป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค โรงเรียนใช้หลักสูตรแกนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 มีการใช้หลักสูตรวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ในห้องเรียนที่คัดเลือกนักเรียนร่วมกับโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์[4] จนกระทั่งคณะรัฐมนตรีมีมติดำเนินการโครงการพัฒนาโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค จึงได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค เพื่อพัฒนานักเรียนให้เป็นตามไปเป้าหมายของโรงเรียน โดยแบ่งเป็นหลักสูตรสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย นักเรียนจะต้องลงทะเบียนเรียนตามหน่วยกิตที่กำหนด โดยมีผลการเรียนแต่ละรายวิชาไม่ต่ำกว่า 2 นอกจากนี้จะต้องเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ผ่านการประเมินความสามารถด้านการอ่าน คิด วิเคราะห์และเขียน และผ่านการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นปัจจุบันใช้หลักสูตรโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2554 (ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2558) โดยแบ่งรายวิชาออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้[18]
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายปัจจุบันใช้หลักสูตรโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2560 โดยใช้กรอบโครงสร้างหลักสูตรของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พุทธศักราช 2560 โดยแบ่งรายวิชาออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้[19]
การคัดเลือกนักเรียนการคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยทั้ง 12 แห่ง ใช้รูปแบบการสมัครและการสอบคัดเลือกในรอบแรกเหมือนกัน ส่วนการสอบในรอบที่สองนั้นเต่ละโรงเรียนจะเป็นผู้พิจารณารูปแบบ วัน เวลา และสถานที่สอบเอง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1การรับนักเรียนเข้าศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 จะรับนักเรียนที่กำลังศึกษาในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่าในปีการศึกษาที่สมัคร โดยสมัครและสอบรอบแรกผ่านโครงการพัฒนาอัจฉริยภาพวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รับนักเรียนแห่งละ 96 คน[20] โดยแบ่งรับนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4การรับนักเรียนเข้าศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 จะรับนักเรียนที่กำลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือเทียบเท่าในปีการศึกษาที่สมัคร โดยสมัครและสอบรอบแรกผ่านการคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ รับนักเรียนจากโรงเรียนทุกโรงเรียนในเขตพื้นที่บริการของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัยแต่ละแห่งจำนวน 144 คน[21] ความร่วมมือกับต่างประเทศ
ประเพณีสำคัญ
ประเพณีเครือข่าย
ประเพณีโรงเรียน
งานพิธี
ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช
โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี
โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ลพบุรี
อ้างอิง
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
|