กองกำลังตำรวจฮ่องกง
กองกำลังตำรวจฮ่องกง (จีน: 香港警務處; อังกฤษ: Hong Kong Police Force; อักษรย่อ: HKPF) เป็นหน่วยงานการบังคับใช้กฎหมายปฐมภูมิ และราชการข้อบังคับที่ใหญ่ที่สุดภายใต้กองบัญชาการความมั่นคงของฮ่องกง ซึ่งได้รับการก่อตั้งขึ้นโดยรัฐบาลฮ่องกงของบริเตนเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1844 มีคำเรียก 'หลวง' มอบให้เมื่อกองกำลังตำรวจฮ่องกงมีความพยายามในการปราบปรามการจลาจลคอมมิวนิสต์ใน ค.ศ. 1967 ครั้นแล้ว กองกำลังตำรวจหลวงฮ่องกง (อังกฤษ: Royal Hong Kong Police Force; อักษรย่อ: RHKP) ได้เปลี่ยนกลับเป็นชื่อเดิมหลังจากโอนอำนาจอธิปไตยของฮ่องกงจากสหราชอาณาจักรไปสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน[4] ตามหลักการของหนึ่งประเทศ สองระบบ กองกำลังตำรวจฮ่องกงมีความเป็นอิสระอย่างเป็นทางการจากเขตอำนาจของกระทรวงตำรวจสาธารณะของสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งอาจไม่ก้าวก่ายการบังคับใช้กฎหมายของฮ่องกง เจ้าหน้าที่กองกำลังตำรวจฮ่องกงทุกคนมีงานทำในฐานะข้าราชการ และดังนั้นจึงจำเป็นต้องส่งเสริมความเป็นกลางทางการเมืองของพวกเขา กองกำลังตำรวจฮ่องกงประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ประมาณ 34,000 คน รวมถึงกองกำลังตำรวจกองหนุนฮ่องกง, ข้าราชการพลเรือน และตำรวจทางทะเล (3,000 นายและเรือ 143 ลำใน ค.ศ. 2009) นี่แสดงถึงอัตราส่วนเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อพลเมือง ที่สูงเป็นอันดับสองของโลก[5] ประวัติกองกำลังตำรวจได้ให้บริการที่ฮ่องกงตั้งแต่ไม่นานหลังจากที่เกาะถูกก่อตั้งขึ้นเป็นอาณานิคมใน ค.ศ. 1841 ในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1841 ซึ่งเป็น 12 สัปดาห์หลังจากบริติชขึ้นฝั่งในฮ่องกง กัปตัน ชาลส์ เอลเลียต ได้สถาปนาผู้มีอำนาจการตำรวจในอาณานิคมใหม่ โดยมอบอำนาจกัปตัน วิลเลียม เคน เพื่อบังคับใช้กฎหมายชิง ในความเคารพของคนในท้องถิ่น และ "กฎหมายตำรวจบริติช" สำหรับ "ผู้ที่ไม่ใช่ชาวพื้นเมือง"[6] เมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1842 การจัดระเบียบกองกำลังตำรวจ (ยังอยู่ภายใต้การดูแลของเคนซึ่งเป็นหัวหน้าผู้พิพากษาเช่นกัน) ก็นำอาชญากรมาขึ้นศาลก่อนการพิจารณาคดีเป็นประจำ[6]: 17 บทบาทของเคนในฐานะหัวหน้าตำรวจสิ้นสุดลงเมื่อผู้อำนวยการคนแรกได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1844 คือกัปตัน ฮาลี แห่งทหาราบพื้นเมืองมัทราสที่ 41[6]: 40–41 การจัดตั้งกองกำลังอย่างเป็นทางการได้ถูกประกาศในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1844[7] ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ญี่ปุ่นยึดครองฮ่องกง และกองกำลังตำรวจฮ่องกงถูกยุบชั่วคราว คริสต์ทศวรรษ 1950 เป็นการตั้งต้นของฮ่องกง 40 ปีสู่ความมีชื่อเสียงระดับโลก ในช่วงเวลานั้นตำรวจฮ่องกงได้จัดการกับปัญหาจำนวนมากที่ท้าทายเสถียรภาพของฮ่องกง ระหว่าง ค.ศ. 1949 ถึง 1989 ฮ่องกงต้องเผชิญกับคลื่นผู้อพยพจำนวนมากจากจีนแผ่นดินใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ค.ศ. 1958–1962 ส่วนในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 และคริสต์ทศวรรษ 1980 ผู้คนบนเรือเวียดนามจำนวนมากเดินทางมาถึงฮ่องกง นับเป็นความท้าทายประการแรกสำหรับตำรวจน้ำ, ประการที่สองสำหรับเจ้าหน้าที่ที่ควบคุมค่ายพักแรมหลายสิบแห่งในอาณาบริเวณแห่งนี้ และสุดท้ายสำหรับผู้ที่ต้องส่งพวกเขากลับประเทศ กองกำลังดังกล่าวได้รับอนุญาตให้ใช้คำเรียก ‘หลวง’ ใน ค.ศ. 1969 เพื่อจัดการกับการจลาจลในฮ่องกง ค.ศ. 1967 — โดยเปลี่ยนชื่อเป็นกองกำลังตำรวจหลวงฮ่องกง (อักษรจีนตัวเต็ม: 皇家香港警務處)[ต้องการอ้างอิง] ใน ค.ศ. 1974 คณะกรรมการอิสระต่อต้านการทุจริต (ICAC) ได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อให้อำนาจรัฐบาลในวงกว้างในการสืบสวนสอบสวนการทุจริต[8] ในช่วงเปลี่ยนคริสต์ทศวรรษ 1980 กองกำลังตำรวจฮ่องกงได้เริ่มทำการตลาดด้วยตัวมันเองในฐานะ "ดีที่สุดของเอเชีย"[9] การสรรหาบุคคลชาวยุโรปเข้ากองกำลังสิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1994[10] และใน ค.ศ. 1995 ตำรวจหลวงฮ่องกงรับผิดชอบในการลาดตระเวนชายแดนร่วมกับจีน ซึ่งก่อน ค.ศ. 1995 กองทัพบกสหราชอาณาจักรได้ดำเนินการตระเวนชายแดน กองกำลังตำรวจนี้มีบทบาทสำคัญในกระบวนการการส่งมอบอำนาจอธิปไตยใน ค.ศ. 1997 และยังคงประกอบพิธีชักธงในทุก ๆ วันครบรอบปี[ต้องการอ้างอิง] ด้วยการมอบอำนาจอธิปไตย กองกำลังตำรวจจึงตัดคำว่า "หลวง" ออกจากชื่อ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 2010 กองกำลังตำรวจมีบทบาทสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการประท้วงในฮ่องกง ค.ศ. 2014 และการประท้วงในฮ่องกง ค.ศ. 2019[11][12] หลังจากที่เติ้ง ปิ่งเฉียง ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บัญชาการตำรวจในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2019 กองกำลังตำรวจได้เปลี่ยนคำขวัญจาก "เราให้บริการด้วยความภาคภูมิใจและห่วงใย" ซึ่งใช้มากว่า 20 ปีเป็น "รับใช้ฮ่องกงด้วยเกียรติ, หน้าที่ และความภักดี"[13] หนังสือพิมพ์ดิอีโคโนมิสต์ได้มุ่งเสนอว่าการเปลี่ยนแปลงนี้จะได้รับความนิยมจากรัฐบาลกลางของจีน[14] ข้อพิพาทในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1940 กองกำลังตำรวจฮ่องกงต้องเผชิญกับเรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับการทุจริตที่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่ ส่วนในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 และคริสต์ทศวรรษ 1960 กองกำลังดังกล่าวได้ต่อสู้กับปัญหาการทุจริตที่เกี่ยวข้องกับสินบนจากสารเสพติดที่รวบรวมไว้ และการดำเนินการเกี่ยวกับการพนันที่ผิดกฎหมาย[15] การทุจริตของตำรวจกลายเป็นปัญหาสำคัญอีกครั้งในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 เมื่อผู้บัญชาการสั่งการสอบสวนเพื่อทำลายวัฒนธรรมการทุจริต ทำให้เจ้าหน้าที่สี่สิบคนต้องหนีจากฮ่องกงด้วยเงินสดมากกว่า 80 ล้านดอลลาร์ฮ่องกง (ประมาณ 2 ล้านดอลลาร์ฮ่องกงต่อคน)[15][16] อาวุธยุทโธปกรณ์
ปืนพกปืนลูกซองปืนกลมือปืนเล็กยาว
ยุทโธปกรณ์อื่น ๆ
กำลังพลที่มีชื่อเสียง
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่นวิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ กองกำลังตำรวจฮ่องกง
|