การกร่อน
ในทางปฐพีวิทยา การกร่อนคืออาการของกระบวนการที่ทำให้พื้นผิวดิน หิน หลุดออก หรือทำละลายออกจากตำแหน่งใด ๆ ของเปลือกโลก ให้เคลื่อนย้ายไปสู่ตำแหน่งอื่น ๆ การกร่อนนี้มีสองรูปแบบคือ การกร่อนทางกล และการกร่อนทางเคมี การกร่อนทางกลคือการที่ดินหรือหินแตกแยกย่อยและเคลื่อนย้ายตำแหน่ง ส่วนการกร่อนทางเคมีคือการที่ดิน หิน หรือแร่ธาตุถูกย้ายตำแหน่งด้วยการละลายในตัวทำละลาย ซึ่งโดยมากคือน้ำ เมื่อละลายแล้วได้รับการพัดพาไปสู่ตำแหน่งใหม่ การกร่อนทั้งสองรูปแบบนี้เป็นผลให้สสารเคลื่อนย้ายตำแหน่งไป ในระดับมิลลิเมตร จนถึงหลายพันกิโลเมตร การกร่อนตามธรรมชาตินั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยขับดันทางธรรมชาติ ซึ่งทำให้เกิดอัตราและรูปแบบการกร่อนที่แตกต่างกัน เช่นการไหลของน้ำฝน การกร่อนของชั้นหินดินดานในแม่น้ำ การกัดเซาะชายฝั่งโดยคลื่น การกระทบกระแทกโดยธารน้ำแข็ง การกร่อนโดยกระแสลม การไหลของน้ำใต้ดิน หรือการไถล ถล่มของดิน เป็นต้น นอกจากการกร่อนทางธรรมชาติและ กิจกรรมของมนุษย์ทำให้เกิดการกร่อนด้วยเช่นกัน เช่นการทำการเกษตรอย่างเข้มข้น การทำลายป่าไม้ การสร้างถนน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากกิจกรรมของมนุษย์ |