Share to:

 

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ดงรัก

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ดงรัก
เป็นส่วนหนึ่งของ การฆ่าล้างเผ่าพันธ์ุชาวเขมร
สงครามกัมพูชา–เวียดนาม
วิกฤตการณ์ด้านมนุษยธรรมของกัมพูชา
see caption
ทิวเขาพนมดงรัก
สถานที่ชายแดนไทย–กัมพูชา
วันที่8 มิถุนายน 2522
เป้าหมายผู้ลี้ภัยกัมพูชาเชื้อสายจีนในประเทศไทย
ประเภทการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์, การเดินแถวมรณะ
ตาย400–10,000 คน
ผู้ก่อเหตุ กองทัพบกไทย
เขมรแดง
เวียดนาม

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ดงรัก (อังกฤษ: Dangrek genocide) หรือที่เรียกอีกอย่างว่า การผลักดันพระวิหาร (Preah Vihear pushback) หรือ กรณีเขาพระวิหาร[1] เป็นเหตุการณ์ที่ชายแดนซึ่งเกิดขึ้นตามทิวเขาพนมดงรักบนชายแดนไทย–กัมพูชา ส่งผลให้ผู้ลี้ภัยชาวกัมพูชาเชื้อสายจีนจำนวนมากเสียชีวิต เนื่องจากประเทศไทยปฏิเสธไม่ให้ผู้ลี้ภัยเข้ามาหนีภัยในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2522

บริบท: การหลบหนีจากความอดอยากหลังจากการล่มสลายของเขมรแดง

ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2522 กองกำลังเวียดนามได้โค่นล้มระบอบกัมพูชาประชาธิปไตยในประเทศกัมพูชาที่เป็นประเทศเพื่อนบ้าน ทหารเวียดนามได้บุกเข้าโจมตีประเทศและรุกเข้าไปถึงค่ายทหารของเขมรแดงในทิวเขาพนมดงรักบนชายแดนไทย–กัมพูชา[2] ชาวกัมพูชาจำนวนมากเบื่อหน่ายสงครามและอดอยากจากความแร้นแค้นหลังจากถูกเขมรแดงปกครองเป็นเวลาสามปี จึงหลีกเลี่ยงการเกณฑ์ทหารหรือการตอบโต้โดยขอสถานะผู้ลี้ภัยในประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้าน

ชาวเดการ์ซึ่งเป็นผู้นำกองกำลังต่อต้านชาวมงตาญญาร์ซึ่งต่อต้านระบอบคอมมิวนิสต์ของกรุงฮานอยก็ใช้โอกาสนี้หวังที่จะเข้าถึงฝั่งตะวันตกเช่นกัน แต่หลายคนถูกทหารเขมรแดงภายใต้การนำของ ซน เซน จับตัวไว้ได้ และบังคับให้พวกเขาต่อสู้กับเวียดนามในฐานะ "ศัตรูร่วม" อย่างไรก็ตาม เพื่อพยายามขัดขวางไม่ให้หลบหนี จึงมีการวางทุ่นระเบิดไว้รอบๆ ค่ายที่ชาวเดกาถูกกักขัง ทำให้หลายคนเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ[2]

ผู้ลี้ภัยชาวเขมรประมาณ 140,000 คนขอสถานะผู้ลี้ภัยในประเทศไทยระหว่างฤดูใบไม้ผลิถึงต้นฤดูใบไม้ร่วงของปี พ.ศ. 2522 จำนวนผู้ขอสถานะผู้ลี้ภัยในประเทศไทยมีถึงหนึ่งเปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมด[3]

เส้นเวลา

มีนาคม 2522: ปิดพรมแดนไทย

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2522 เนื่องจากเกรงว่าผู้ลี้ภัยจะมากล้นเกินความควบคุม ประเทศไทยจึงประกาศว่าจะปิดพรมแดนและขุดวางทุ่นระเบิดในดินแดนรกร้าง (no man's land) บริเวณชายแดนระหว่างประเทศไทยและกัมพูชา เริ่มมีค่ายผู้อพยพเกิดขึ้น เจ้าหน้าที่ของไทยได้พัฒนานโยบาย "การยับยั้งอย่างมีมนุษยธรรม" เพื่อลดจำนวนผู้ลี้ภัยชาวเขมรในค่ายเหล่านั้น พวกเขาไม่ได้ถูกเรียกว่าผู้ลี้ภัยอีกต่อไป แต่เรียกว่าผู้อพยพผิดกฎหมาย ค่ายเหล่านี้ได้รับเพียงสิ่งที่จำเป็นเท่านั้น ผู้มาใหม่ถูกปฏิเสธสิทธิ์ในการสัมภาษณ์กับตัวแทนระหว่างประเทศเพื่อที่จะย้ายไปยังต่างประเทศ[3]

มิถุนายน 2522: การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ดงรัก

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2522 กองบัญชาการทหารสูงสุดได้สั่งการให้กองทัพบกไทย ผลักดันบังคับให้ผู้ลี้ภัยชาวกัมพูชาราว 42,000[1] ถึง 45,000 คนที่ข้ามเข้ามาในไทยให้กลับเข้าไปในฝั่งกัมพูชาอีกครั้ง ขณะเดียวกันได้มีการสั่งการให้กองทัพเรือและตำรวจน้ำผลักดันเรือของเวียดนามออกจากชายฝั่งไปยังทะเลเช่นกัน[1]

ผู้ลี้ภัยชาวเขมรที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วอำเภออรัญประเทศ ถูกบังคับให้ขึ้นรถบัสและขับรถไปยังทิวเขาพนมดงรักซึ่งอยู่ห่างออกไปกว่า 300 กิโลเมตร จากที่นั่นพวกเขาถูกบังคับให้เดินลงไปยัง "หน้าผาในทิวเขาดงรัก ซึ่งเป็นสันเขาที่เต็มไปด้วยภูเขาและป่าทึบ"[4] ผู้ลี้ภัยเหล่านี้มีครอบครัวที่เปราะบาง หลายครอบครัวที่มีลูก ๆ อยู่ด้วย รวมถึง เมงลี่ จานดี้ ควอช ผู้ลี้ภัยชาวเขมรที่บรรยายถึงความยากลำบากนี้ในอัตชีวประวัติของเขา[5] และเช่นเดียวกับเขา ผู้ลี้ภัยชาวเขมรหลายคนมีบรรพบุรุษเป็นชาวจีน[6]

หลังจากผู้ลี้ภัยชาวเขมรบางส่วนพยายามล่าถอยออกจากแนวพรมแดนเนื่องจากกลัวว่าจะต้องกลับเข้าไปอยู่ใต้การปกครองของเขมรแดงและเดินข้ามทุ่นระเบิด ทหารไทยจึงเปิดฉากยิงพวกเขา[7]

คาดว่าผู้ลี้ภัยชาวเขมรหลายพันคนเสียชีวิตในสิ่งที่เรียกว่าการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ดงรัก[8] ในขณะที่ผู้ที่ล่าถอยกลับไปยังฟั่งกัมพูชาและรอดจากการกราดยิงของทหารไทย ส่วนใหญ่เสียชีวิตจากการขาดน้ำ ท้องร่วง และจากทุ่นระเบิดซึ่งถูกวางไว้ในพื้นที่โดยทั้งกองทัพเขมรแดงและกองทัพเวียดนามที่รุกราน

ตุลาคม 2522: จากการประชุมเจนีวาสู่การแก้ปัญหาทางการทูต

ข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์โศกนาฏกรรมดังกล่าวในทิวเขาพนมดงรักได้ปลุกเร้ากระแสความคิดเห็นของสาธารณชนและก่อให้เกิดความโกรธแค้นในระดับนานาชาติ เพื่อแก้ไขโศกนาฏกรรมที่ผู้ลี้ภัยชาวอินโดจีนต้องเผชิญ จึงมีการจัดประชุมเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 ที่สำนักงานใหญ่คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติที่เจนีวา ซึ่งจัดโดยสภาคริสตจักรโลก โดยมีรองข้าหลวงใหญ่ฯ เป็นประธาน โดยมีตัวแทนจากกว่า 60 ประเทศเข้าร่วม[9] อุปดิศร์ ปาจรียางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยถูกกล่าวหาว่าใช้วิกฤติด้านมนุษยธรรมนี้เพื่อให้ได้ชัยชนะทางการเมืองโดยบังคับให้เวียดนามล่าถอย ซึ่งเวียดนามปฏิเสธที่จะหารือ[10]

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2522 พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางไปเยือนชายแดนและรู้สึกหวาดกลัวอย่างเห็นได้ชัดจากความทุกข์ยากที่เขาได้พบเห็น[11]

ภายในสิ้นปี พ.ศ. 2522 กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติและโครงการอาหารโลกได้ดำเนินการตอบสนองต่อเหตุการณ์นี้ที่ชายแดน ส่งผลให้ดึงดูดผู้ลี้ภัยจำนวนมากจากกัมพูชา และนำไปสู่การสร้างค่ายผู้ลี้ภัยหลายแห่ง[4] ด้วยเหตุนี้ ค่ายผู้อพยพสระแก้วจึงถูกจัดตั้งขึ้น "แทบจะชั่วข้ามคืน" ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2522 ต่อมา โรซาลีนน์ คาร์เตอร์ ได้เดินทางเยี่ยมชมค่ายดังกล่าวในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2522[12] และในเดือนเดียวกัน ค่ายที่ใหญ่ที่สุดคือศูนย์ที่พักพิงชั่วคราวสำหรับผู้หลบหนีเข้าเมืองจากกัมพูชาเขาอีด่างได้เปิดขึ้น ผู้ลี้ภัยชาวเขมรจำนวนมากเดินทางมาหลบหนีจากแผนเค 5 ที่กองทัพเวียดนามที่ยึดครองอยู่บังคับใช้ ซึ่งบังคับให้ชายชาวเขมรเกณฑ์ทหารเพื่อพยายามสร้าง "กำแพงไม้ไผ่" เพื่อเป็นม่านเหล็กในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเพื่อปกป้องกัมพูชาจากการรุกรานของไทย

อย่างไรก็ตาม หลังจากการเลือกตั้งทำให้รัฐบาลของไทยเปลี่ยนแปลง นโยบายพรมแดนเปิดก็ถูกพลิกกลับ และพรมแดนของไทยก็ถูกปิดอีกครั้งโดยนายกรัฐมนตรีคนใหม่ คือ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2523 โดยอ้างถึงความกลัวว่าเขมรแดงจะแทรกซึมเข้ามาในประเทศไทย[13] ในความเป็นจริง จากค่ายผู้อพยพทั้งหมด มีอยู่ 5 แห่งที่ถูกเขมรแดงครอบงำอยู่ รวมถึงไซต์ 8[14] รัฐบาลไทยได้สร้างคำศัพท์ใหม่ขึ้นมา คือ ผู้ถูกอพยพ (evacuees) เพื่อสื่อว่าผู้ลี้ภัยจะได้รับการต้อนรับเพียงชั่วคราวเท่านั้น และจะต้องย้ายไปที่อื่นโดยเร็วที่สุด[15]

ผลสืบเนื่อง

พระอาทิตย์ขึ้นที่ทิวเขาพนมดงรัก

การปลูกฝังความรู้สึกต่อต้านสยามของชาวเขมร

เนื่องจากชาวเขมรหลายหมื่นคนถูกบังคับให้ลี้ภัยในประเทศไทยเนื่องจากความอดอยาก การตอบสนองอย่างรุนแรงของทางการไทยได้ทิ้งรอยประทับไว้ในจิตสำนึกของคนยุคใหม่[7] โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัยชาวเขมรอย่างไร้มนุษยธรรมได้จุดชนวนความรู้สึกต่อต้านสยามในกัมพูชา เหตุการณ์จลาจลต่อต้านไทยในปี พ.ศ. 2546 ในกัมพูชาเต็มไปด้วยความทรงจำเกี่ยวกับความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้ลี้ภัยในทิวเขาพนมดงรัก[8] เหตุการณ์ดงรักไม่เพียงแต่จุดชนวนความรู้สึกต่อต้านสยามเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความรู้สึกต่อต้านเวียดนามด้วย เนื่องจากเขมรแดงใช้ความโหดร้ายในพนมดงรักเป็นเวทีในการล็อบบี้ต่อต้านการยึดครองของเวียดนาม[16]

กรณีพิพาทพรมแดนไทย–กัมพูชา

เหตุการณ์ที่ดงรักเป็นเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นหลายจุดตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา การเนรเทศผู้ลี้ภัยหลายพันคนไปยังทิวเขาพนมดงรักแม้ว่าทางการไทยจะอ้างว่าเป็นจุดที่ปลอดภัยที่สุดในการผลักดันผู้ลี้ภัยชาวเขมร แต่เหตุการณ์ดังกล่าวอาจเป็นการตอบโต้เชิงสัญลักษณ์หลังจากคำตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในปี พ.ศ. 2507 ซึ่งมอบอำนาจควบคุมปราสาทพระวิหารให้กับกัมพูชา[6] ตามสนธิสัญญาในปี พ.ศ. 2447 ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องตามมาหลังจากวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 โดยยึดถือพรมแดนในบริเวณทิวเขาพนมดงรักทอดยาวตามแนวสันปันน้ำ[17]

การกำจัดทุ่นระเบิดตามแนวชายแดน

หลังสงครามสิ้นสุดลง ต้องใช้เวลานานหลายสิบปีจึงจะกำจัดทุ่นระเบิดที่ทิ้งไว้โดยเขมรแดง ทหารไทย และเวียดนาม บนทิวเขาพนมดงรัก รวมไปถึงทั่วกัมพูชาออกไปได้

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 ศิลปวุฒิ, ดวงพร (1992). นโยบายของรัฐบาลไทยต่อผู้ลี้ภัยกับปัญหาสิทธิมนุษยชน : ศึกษากรณีศูนย์ฯ พนัสนิคม. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
  2. 2.0 2.1 Kiernan, Ben (2017). Việt Nam: A History from Earliest Times to the Present (ภาษาอังกฤษ). Oxford University Press. p. 460. ISBN 978-0-19-516076-5.
  3. 3.0 3.1 Kim, Audrey U. (2003). Not Just Victims: Conversations with Cambodian Community Leaders in the United States (ภาษาอังกฤษ). University of Illinois Press. p. 25. ISBN 978-0-252-07101-0.
  4. 4.0 4.1 Physicians for Human Rights (1991). Land Mines in Cambodia: The Coward's War, September 1991 (ภาษาอังกฤษ). Human Rights Watch. p. 25. ISBN 978-1-56432-001-8.
  5. Quach, Mengly J. (2018). ភ្នំដងរែក: ទីពុំអាចភ្លេច [Dangrek mountains: unforgettable] (ภาษาเขมร). Mengly J. Quach University Press. ISBN 978-9924-508-11-3.
  6. 6.0 6.1 Kamm, Henry (1979-06-12). "Thais Deport 30,000 Cambodians While Others Continue to Arrive". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2022-09-30.
  7. 7.0 7.1 Shawcross, William (1985). The Quality of Mercy: Cambodia, Holocaust and Modern Conscience (ภาษาอังกฤษ). Fontana. pp. 90–92. ISBN 978-0-00-636972-1.
  8. 8.0 8.1 Hinton, Alexander (2006). "Khmerness and the Thai 'Other': Violence, Discourse and Symbolism in the 2003 Anti-Thai Riots in Cambodia". Journal of Southeast Asian Studies. 37 (3): 445–468. doi:10.1017/S0022463406000737. ISSN 0022-4634. JSTOR 20071786. S2CID 162779371.
  9. Stein, Barry (1979). "The Geneva Conferences and the Indochinese Refugee Crisis". The International Migration Review. 13 (4): 716–723. doi:10.2307/2545184. ISSN 0197-9183. JSTOR 2545184.
  10. Chapman, William (1979-07-19). "Geneva Conference on Refugees Faces Divisions". Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. สืบค้นเมื่อ 2022-09-30.
  11. Chan, Sucheng (2004-05-05). Survivors: Cambodian refugees in the United States (ภาษาอังกฤษ). University of Illinois Press. p. 48. ISBN 978-0-252-07179-9.
  12. Kamm, Henry (1979-11-10). "Mrs. Carter Visits Thai Camp: 'It's Like Nothing I've Seen'". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2022-09-30.
  13. Robinson, Courtland (2000). "Refugee warriors at the Thai-Cambodian border". Refugee Survey Quarterly. 19 (1): 23–37. doi:10.1093/rsq/19.1.23. ISSN 1020-4067. JSTOR 45053197.
  14. Widener, Jeff (1993-01-22). "Last Khmer Rouge Refugee Camp Closes". AP NEWS (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-09-30.
  15. Kim, Audrey U. (2003). Not Just Victims: Conversations with Cambodian Community Leaders in the United States (ภาษาอังกฤษ). University of Illinois Press. p. 27. ISBN 978-0-252-07101-0.
  16. Cambodia Office of the Prime Minister (1985). Evidence of Atrocities Committed by the Occupation Forces of the Social Republic of Vietname Against the Civilian Population of Dangrek in Western Kampuchea on 24 January 1985 (ภาษาอังกฤษ). Office of the Prime Minister, Coalition Government of Democratic Kampuchea.
  17. Jenne, Nicole (2017). "The Thai–Cambodian Border Dispute: An Agency-centred Perspective on the Management of Interstate Conflict". Contemporary Southeast Asia. 39 (2): 315–347. doi:10.1355/cs39-2c. ISSN 0129-797X. JSTOR 44683772. S2CID 148823216.

บรรณานุกรม

Kembali kehalaman sebelumnya