การดื้อยาการดื้อยา (อังกฤษ: drug resistance) คือ การลดลงของประสิทธิภาพยา เช่น ยาต้านจุลชีพหรือยาต้านมะเร็ง (antineoplastic)[1] ในการรักษาโรคหรือสภาวะหนึ่ง ๆ เมื่อยานั้นไม่ได้ตั้งใจฆ่าหรือยับยั้งจุลชีพก่อโรค คำนี้จะเทียบเท่ากับความชินยา (drug tolerance) คำนี้ใช้ในบริบทการดื้อที่จุลชีพก่อโรค "ได้รับมา" มากกว่า คือ มีวิวัฒนาการการดื้อยา เมื่อสิ่งมีชีวิตหนึ่งดื้อต่อยามากกว่าหนึ่งชนิด จะเรียกว่า มีการดื้อยาหลายชนิด (multidrug-resistant) การพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดื้อยาปฏิชีวนะ เกิดจากยาที่มีเป้าหมายต่อโปรตีนแบคทีเรียที่จำเพาะ ด้วยเหตุที่ยาจำเพาะเกินไป การกลายพันธุ์ใด ๆ ในโปรตีนเหล่านี้จะขัดขวางหรือลบล้างฤทธิ์ทำลายของยา ส่งผลให้เกิดการดื้อยาปฏิชีวนะ[2] ไม่เพียงแบคทีเรียสามารถเปลี่ยนแปลงเอนไซม์อันเป็นเป้าหมายของยาปฏิชีวนะเท่านั้น แต่แบคทีเรียยังใช้เอนไซม์ดัดแปลงยาปฏิชีวนะจนทำให้หมดฤทธิ์ไปเองได้ด้วย ตัวอย่างจุลชีพก่อโรคที่เปลี่ยนแปลงเป้าหมาย เช่น Staphylococcus aureus, Enterococcus ที่ดื้อแวนโคมัยซิน และ Streptococcus ที่ดื้อมาโครไลด์ และตัวอย่างจุลชีพที่ดัดแปลงยาปฏิชีวนะ เช่น Pseudomonas aeruginosa และ Acinetobacter baumannii ที่ดื้ออะมิโนไกลโคไซด์[3] กล่าวโดยย่อ การขาดความพยายามร่วมกันจากรัฐบาลและอุตสาหกรรมเภสัช ร่วมกับสมรรถภาพสืบทอดของจุลชีพในการพัฒนาการดื้อยาในอัตราที่เร็วกว่าการพัฒนายาใหม่ ๆ แนะว่า ยุทธศาสตร์ที่มีอยู่ในการพัฒนาการบำบัดต้านแบคทีเรียระยะยาวซึ่งอยู่รอดได้จะล้มเหลวในท้ายที่สุด หากปราศจากยุทธศาสตร์ทางเลือก การดื้อยาโดยจุลชีพก่อโรคจวนเป็นหนึ่งในภัยคุกคามทางสาธารณสุขที่สำคัญที่สุดที่มนุษยชาติกำลังเผชิญในคริสต์ศตวรรษที่ 21[4] อ้างอิง
|