Share to:

 

การทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว

ภาพถ่ายดาวเทียมช่วงคลื่นอินฟราเรดวนซ้ำของ พายุไต้ฝุ่นมาเรีย ในขณะที่ตัวพายุมีการทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว

การทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว (อังกฤษ: Rapid intensification) เป็นภาวะทางอุตุนิยมวิทยาที่เกิดขึ้นเมื่อพายุหมุนเขตร้อนได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วภายในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ โดยศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติสหรัฐ นิยามการทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ว่า เป็นการเพิ่มขึ้นของความเร็วลมสูงสุดต่อเนื่องของพายุหมุนเขตร้อน ที่เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 30 นอต (55 กม./ชม. หรือ 35 ไมล์/ชม.) ภายในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง[1]

เงื่อนไขที่จำเป็น

ภายนอก

ในการที่จะมีการทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วเกิดขึ้นได้นั้น จำเป็นต้องมีเงื่อนไขหลายเงื่อนไขเกิดขึ้นพร้อมกัน ประการแรกคือ อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเล จะต้องอบอุ่นอย่างสุดขีด (ประมาณหรือมากกว่า 30 องศาเซลเซียส หรือ 86 องศาฟาเรนไฮน์) และน้ำที่มีอุณหภูมินี้จะต้องมีช่วงความลึกอย่างเพียงพอ ดังนั้นคลื่นจึงจะไม่หมุนวนพาเอาน้ำที่เย็นกว่าด้านล่างขึ้นมาที่พื้นผิว ประการที่สองคือ ลมเฉือน จะต้องมีความรุนแรงต่ำ ซึ่งเมื่อลมเฉือนมีความรุนแรงสูง การพาความร้อนและการไหลเวียนของพายุหมุนเขตร้อนจะถูกทำให้กระจายออกไปได้[2] ประการสุดท้ายคือ อากาศแห้ง อากาศแห้งนั้นสามารถจำกัดการทวีกำลังของพายุหมุนเขตร้อนได้[3]

ภายใน

ตามปกติแล้ว แอนไทไซโคลนในบรรยากาศชั้นบนของโทรโพสเฟียร์เหนือพายุจะต้องมีพฤติกรรมที่ดีด้วย คือ เมื่อความกดอากาศต่ำอย่างสุดขีดที่พื้นผิวพัฒนาขึ้น อากาศจะต้องลอยสูงขึ้นอย่างรวดเร็วภายในกำแพงตาของพายุ และแอนไทไซโคลนที่อยู่ที่บรรยากาศชั้นบน จะต้องช่วยให้ช่องของอากาศนี้พัดอากาศออกจากพายุหมุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ[4] ส่วนหอคอยความร้อน (Hot towers) ก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วของพายุหมุนเขตร้อนด้วยเช่นกัน แม้ว่าจะมีการวินิจฉัยแล้วว่าเป็นความสามารถที่แตกต่างกันของแต่ละแอ่งพายุ[5]

การตั้งชื่อและคำจำกัดความในอดีต

ศูนย์เฮอร์ริเคนแห่งชาติสหรัฐเคยเรียกการทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ว่า rapid deepening หรือ การแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว ของพายุหมุนเขตร้อน โดยนิยามว่า เป็นการลดลงของความกดอากาศที่ศูนย์กลาง 42 มิลลิบาร์ (1.240 นิ้วปรอท) ในช่วงระยะเวลา 24 ชั่วโมง[6] อย่างไรก็ตาม ได้มีการเปลี่ยนคำนิยามใหม่ คือ เป็นการเพิ่มขึ้นของความเร็วลมสูงสุดต่อเนื่องของพายุหมุนเขร้อน ที่เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 30 นอต (55 กม./ชม. หรือ 35 ไมล์/ชม.) ภายในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง[1]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 National Hurricane Center (March 25, 2013). "Glossary of NHC Terms". United States National Oceanic and Atmospheric Administration's National Weather Service. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 1, 2014. สืบค้นเมื่อ April 1, 2014.
  2. Lam, Linda (October 23, 2015). "Multiple Factors Allowed Hurricane Patricia to Rapidly Intensify". The Weather Channel. สืบค้นเมื่อ August 6, 2018.
  3. Lam, Linda (7 September 2018). "Based on Hurricane Florence's Location, We Didn't Expect It to Get So Strong So Soon". The Weather Channel. สืบค้นเมื่อ 7 September 2018.
  4. Diana Engle. "Hurricane Structure and Energetics". Data Discovery Hurricane Science Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-27. สืบค้นเมื่อ 2008-10-26.
  5. Zhuge, Xiao-Yong; Ming, Jie; Wang, Yuan (October 2015). "Reassessing the Use of Inner-Core Hot Towers to Predict Tropical Cyclone Rapid Intensification*". Weather and Forecasting. 30 (5): 1265–1279. Bibcode:2015WtFor..30.1265Z. doi:10.1175/WAF-D-15-0024.1.
  6. National Hurricane Center/Tropical Prediction Center (February 7, 2005). "Glossary of NHC/TPC Terms". United States National Oceanic and Atmospheric Administration's National Weather Service. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 17, 2005. สืบค้นเมื่อ April 1, 2014.


Kembali kehalaman sebelumnya