การระดมทุนสาธารณะการระดมทุนสาธารณะ (อังกฤษ: crowdfunding) หรือ คราวด์ฟันดิง คือ แนวทางการระดมทุนเพื่อทำโครงการหรือธุรกิจ โดยการรวบรวมทุนจำนวนน้อยจากผู้คนจำนวนมาก และส่วนใหญ่ผ่านอินเทอร์เน็ต[1][2] การระดมทุนสาธารณะเป็นรูปแบบหนึ่งของการระดมความคิดเห็นของมหาชน (crowdsourcing) และการเงินทางเลือก (alternative finance) มีการคาดคะเนว่าในปี ค.ศ. 2015 มีการระดมทุนกว่าสามหมื่นสี่พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในรูปแบบนี้[3][4] แม้ว่าจะมีแนวคิดที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งสามารถดำเนินการได้ผ่านทางการสมัครสมาชิกทางไปรษณีย์ (mail-order subscriptions) การจัดงานเพื่อการกุศล (benefit events) และวิธีการอื่น ๆ แต่คำว่า การระดมทุนสาธารณะ จะนิยามเฉพาะการใช้เว็บไซต์ที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการลงทะเบียน[5] รูปแบบการระดมทุนสาธารณะยุคใหม่นี้ โดยทั่วไปอาศัยผู้มีบทบาทสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ (หนึ่ง) ผู้ริเริ่มโครงการ (project initiator) ซึ่งเป็นผู้เสนอแนวคิดหรือโครงการที่ต้องการระดมทุน (สอง) บุคคลหรือกลุ่มคนที่สนับสนุน และ (สาม) องค์กรที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลาง (เรียกอีกอย่างว่า "แพลตฟอร์ม") ซึ่งทำหน้าที่รวบรวมผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมาเพื่อเปิดตัวแนวคิด[6] การระดมทุนสาธารณะถูกนำไปใช้เพื่อระดมทุนให้กับกิจการที่เจ้าของดำเนินการเอง ในหลากหลายประเภท ตัวอย่างเช่น โครงการศิลปะและความคิดสร้างสรรค์[7] ค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ การเดินทาง และโครงการเพื่อสังคม[8] แม้จะมีการเสนอแนะให้การระดมทุนสาธารณะมีความสอดคล้องกับความยั่งยืนมาก ๆ แต่จากการสำรวจพบว่า ความยั่งยืนมีบทบาทเพียงเล็กน้อยเท่านั้นในการระดมทุนสาธารณะ[9] นอกจากนี้ การระดมทุนสาธารณะยังถูกวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการนำไปใช้สนับสนุนการหลอกลวง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฉ้อโกงขอระดมทุนเพื่อการรักษามะเร็งที่มีราคาแพง[10][11][12][13] ประวัติความเป็นมาการระดมทุนยุคแรกการระดมทุนโดยการรวบรวมเงินบริจาคจำนวนน้อยจากผู้คนจำนวนมาก มีประวัติศาสตร์อันยาวนานและหลากหลาย เช่น ในอดีตเคยมีการระดมทุนเพื่อการเขียนและตีพิมพ์หนังสือ โดยผู้แต่งและสำนักพิมพ์จะโฆษณาโครงการผ่านระบบการจองซื้อล่วงหน้า (praenumeration) หรือการบอกรับเป็นสมาชิก (subscription) หนังสือจะถูกเขียนและตีพิมพ์ก็ต่อเมื่อมีสมาชิกที่แสดงความสนใจซื้อหนังสือมากพอ แม้ว่ารูปแบบการบอกรับเป็นสมาชิกจะไม่ใช่การระดมทุนสาธารณะที่โดยตรง เพราะเงินจะเริ่มหมุนเวียนเมื่อผลิตภัณฑ์ถูกส่งมอบ แต่จำนวนรายชื่อก็ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนในการตัดสินใจตีพิมพ์หนังสือ[15] ในทางทฤษฎี พันธบัตรสงคราม ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการระดมทุน เพื่อใช้ในความขัดแย้งทางทหาร ตัวอย่างเช่น ในช่วงทศวรรษที่ 1730 เมื่อลูกค้าของธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ ต้องการนำเงินปอนด์ไปแลกเป็นทองคำ ชุมชนพ่อค้าของกรุงลอนดอนได้ช่วยเหลือธนาคารโดยการสนับสนุนสกุลเงินปอนด์จนกว่าความเชื่อมั่นในสกุลเงินจะกลับคืนมา นับเป็นการระดมทุน (แม้จะเป็นเงินของตัวเอง) ในยุคแรก ๆ กรณีศึกษาที่ชัดเจนกว่าของการระดมทุนสาธารณะสมัยใหม่ คือ โครงการออกใบรับรองของออกุสต์ กองเต้ (Auguste Comte) เพื่อรับการสนับสนุนจากสาธารณชนสำหรับงานปรัชญาของเขาต่อไป บทความ "Première Circulaire Annuelle adressée par l'auteur du Système de Philosophie Positive" ถูกตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 1850 ยังคงมีใบรับรองบางส่วนที่ยังคงอยู่ แม้จะไม่มีการระบุชื่อและจำนวนเงิน[16] ขบวนการสหกรณ์ขบวนการสหกรณ์ในศตวรรษที่ 19 และ 20 ถือเป็นต้นแบบที่กว้างขวางกว่า โดยมีการรวมกลุ่มกัน เช่น กลุ่มชุมชนหรือกลุ่มตามความสนใจ ร่วมกันระดมทุนเพื่อพัฒนาแนวคิด ผลิตภัณฑ์ และวิธีการจัดจำหน่ายและผลิตสินค้าใหม่ๆ โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทของยุโรปตะวันตกและอเมริกาเหนือ ตัวอย่างเช่น ในปี 1885 เมื่อแหล่งเงินทุนจากรัฐบาลไม่เพียงพอสำหรับการสร้างฐานอนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพ แคมเปญที่ริเริ่มโดยหนังสือพิมพ์สามารถระดมทุนบริจาคขนาดเล็กจากผู้บริจาคกว่า 160,000 คน[15] ยุคอินเทอร์เน็ตการระดมทุนสาธารณะผ่านอินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมและกลายเป็นกระแสหลักในกลุ่มศิลปะและดนตรีเป็นครั้งแรก[17] ตัวอย่างที่น่าจดจำครั้งแรกของการระดมทุนสาธารณะออนไลน์ในแวดวงดนตรีเกิดขึ้นในปี 1997 เมื่อแฟนเพลงของวงร็อคสัญชาติอังกฤษ มาริลเลี่ยน (Marillion) ระดมทุนผ่านแคมเปญทางอินเทอร์เน็ตได้เงินกว่า 60,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสนับสนุนการทัวร์คอนเสิร์ตทั่วสหรัฐอเมริกาครั้งใหญ่ หลังจากนั้นวงมาริลเลี่ยนยังคงใช้กลวิธีนี้ในการระดมทุนสำหรับการผลิตอัลบั้มของพวกเขาอีกด้วย[18][19][20] ความสำเร็จนี้ต่อยอดมาจากการระดมทุนสาธารณะผ่านนิตยสาร ตัวอย่างเช่น สมาคมมังสวิรัติ (the Vegan Society) ใช้การระดมทุนสาธารณะผ่านนิตยสารเพื่อการผลิตสารคดีเรื่อง Truth or Dairy ในปี 1992[21] แคมเปญ "ปลดปล่อยเบลนเดอร์" (Free Blender) ในปี 2002 ถือเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างเบิกโรงของการระดมทุนสาธารณะสำหรับซอฟต์แวร์[22][23] แคมเปญนี้มีเป้าหมายที่จะเปิดซอร์สโค้ดให้กับซอฟต์แวร์กราฟิก 3 มิติอย่างเบลนเดอร์ (Blender) โดยการระดมทุน 100,000 ยูโรจากชุมชน โดยมีข้อเสนอผลตอบแทนเพิ่มเติมสำหรับสมาชิกที่บริจาค[24][25] ประเภทของการระดมทุนรายงานเดือนพฤษภาคม 2014 ของศูนย์กลางการระดมทุน (The Crowdfunding Centre) ได้ระบุประเภทหลักของการระดมทุนไว้ 2 ประเภท ดังนี้
การระดมทุนต่างตอบแทนการระดมทุนต่างตอบแทน หรือบางครั้งเรียกว่า ระดมทุนแบบให้สิ่งตอบแทน, การระดมทุนแบบไม่ใช้สิทธิ์ (non-equity crowdfunding), ระดมทุนแลกกับสิ่งของ ถูกนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย ครอบคลุมตั้งแต่ การบันทึกอัลบั้มและการโปรโมทภาพยนตร์[27] การพัฒนาซอฟต์แวร์ฟรี การพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์[28] ไปจนถึงโครงการสาธารณะ[29] งานวิจัยหลายชิ้นได้ระบุลักษณะเด่นของการระดมทุนตอบแทนไว้ดังนี้
การระดมทุนด้วยสิทธิ์การระดมทุนด้วยสิทธิ์ คือ การรวมกลุ่มของบุคคลเพื่อสนับสนุนความพยายามที่ริเริ่มโดยบุคคลหรือองค์กรอื่น ๆ ผ่านการให้การสนับสนุนทางการเงินในรูปแบบของสิทธิ์ (equity)[30] ในสหรัฐอเมริกา กฎหมายที่กล่าวถึงใน JOBS Act ปี 2012 จะอนุญาตให้มีกลุ่มนักลงทุนรายย่อยที่กว้างขึ้น โดยมีข้อจำกัดน้อยลงหลังจากการบังคับใช้กฎหมาย[31] ความแตกต่างจากการระดมทุนต่างตอบแทน
การระดมทุนแบบระดมทุนด้วยสิทธิ์ แตกต่างจากการบริจาคและการระดมทุนตอบแทน เนื่องจากมีการเสนอหลักทรัพย์ (securities) ซึ่งรวมถึงโอกาสในการได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน กลุ่มนักลงทุน (Syndicates) ซึ่งประกอบด้วยนักลงทุนจำนวนมากที่ทำตามกลยุทธ์ของนักลงทุนนำ (lead investor) คนเดียว สามารถช่วยลดความไม่สมดุลของข้อมูลและหลีกเลี่ยงผลลัพธ์ที่เป็นความล้มเหลวของตลาด (market failure) ที่เกี่ยวข้องกับการระดมทุนแบบระดมทุนด้วยสิทธิ์ได้[32] การระดมทุนด้วยสินทรัพย์ดิจิทัลการระดมทุนอีกประเภทหนึ่งคือการระดมทุนสำหรับโครงการที่เสนอสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นรางวัลให้แก่ผู้สนับสนุน ซึ่งเรียกว่า การเสนอขายโทเค็นครั้งแรก (Initial Coin Offering: ICO)[33] โทเค็นบางประเภท ถูกสร้างขึ้นภายในเครือข่ายแบบเปิดและไร้ศูนย์กลาง (open decentralized networks) เพื่อจูงใจให้คอมพิวเตอร์ของผู้ใช้เครือข่ายเหล่านำทรัพยากรคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่อย่างจำกัดมาใช้ในการดูแลรักษาเครือข่ายโปรโตคอล โทเค็นเหล่านี้อาจมีอยู่หรือไม่มีอยู่ก็ได้ในช่วงเวลาที่เปิดขายโทเค็น และอาจต้องใช้ความพยายามในการพัฒนาอย่างมาก รวมถึงการเผยแพร่ซอฟต์แวร์ก่อนที่โทเค็นจะมีใช้งานจริงและสร้างมูลค่าในตลาด แม้ว่าการระดมทุนอาจเกิดขึ้นเพื่อตัวโทเค็นเอง แต่การระดมทุนบนระบบบล็อกเชน (blockchain) ยังสามารถเป็นการระดมทุนเพื่อแลกกับสิทธิ์ (equity), พันธบัตร (bonds) หรือแม้กระทั่ง "สิทธิ์ในการมีส่วนร่วมในการบริหาร" (market-maker seats of governance) ของบริษัทที่ได้รับการระดมทุน[34] ตัวอย่างของการขายโทเค็นแบบนี้เช่น ออเกอะ (Augur) แพลตฟอร์มซอฟต์แวร์นายตลาดพยากรณ์แบบกระจายศูนย์ (decentralized, distributed prediction market) ซึ่งสามารถระดมทุนได้ 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากผู้เข้าร่วมมากกว่า 3,500 คน[34] นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างอื่น ๆ เช่น เครือข่ายบล็อกเชน อีเธอเรียม และ องค์กรอิสระไร้ศูนย์กลาง (Decentralized Autonomous Organization)[35][36][37][38] การระดมทุนแบบกู้ยืมการระดมทุนแบบกู้ยืม บางครั้งเรียกว่า เพียร์ทูเพียร์, P2P หรือ ตลาดสินเชื่อ (marketplace lending) เริ่มต้นขึ้นจากการก่อตั้ง โซปา (Zopa) ในสหราชอาณาจักรเมื่อปี 2005[39] และในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2006 โดยมีการเปิดตัว เลนดิ่งคลับ และ พรอสเปอร์ดอตคอม[40] ผู้กู้สามารถยื่นคำขอสินเชื่อออนไลน์โดยทั่วไปโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยระบบอัตโนมัติจะทำการตรวจสอบและยืนยันข้อมูลคำขอ รวมถึงประเมินความเสี่ยงเครดิตและอัตราดอกเบี้ยของผู้กู้ด้วย นักลงทุนจะซื้อหลักทรัพย์ในกองทุนที่ใช้ในการปล่อยสินเชื่อให้กับผู้กู้รายบุคคลหรือกลุ่มผู้กู้ นักลงทุนได้รับผลตอบแทนจากดอกเบี้ยของสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน ผู้ดำเนินระบบจะได้รับรายได้จากค่าธรรมเนียมการปล่อยสินเชื่อและค่าบริการสินเชื่อ[40] ในปี 2009 นักลงทุนสถาบัน (institutional investors) เริ่มเข้าสู่ตลาดสินเชื่อแบบ P2P ตัวอย่างเช่น ในปี 2013 กูเกิล ได้ลงทุน 125 ล้านดอลลาร์สหรัฐใน เลนดิ่งคลับ[40] ในปี 2014 ในสหรัฐอเมริกา ยอดสินเชื่อแบบ P2P มีมูลค่ารวมประมาณ 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[41] เช่นเดียวกัน ในปี 2014 ในสหราชอาณาจักร แพลตฟอร์ม P2P ปล่อยสินเชื่อให้ธุรกิจเป็นมูลค่า 749 ล้านปอนด์ เพิ่มขึ้น 250% จากปี 2012 ถึง 2014 และปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้ารายย่อยเป็นมูลค่า 547 ล้านปอนด์ เพิ่มขึ้น 108% จากปี 2012 ถึง 2014[42]: 23 ในทั้งสองประเทศ ในปี 2014 ประมาณ 75% ของเงินทั้งหมดที่หมุนเวียนผ่านการระดมทุนไหลผ่านแพลตฟอร์ม P2P[41] บริษัท เลนดิ่งคลับ เข้าตลาดหลักทรัพย์ในเดือนธันวาคม 2014 ด้วยมูลค่าประมาณ 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[40] การระดมทุนแบบคดีความการระดมทุนแบบคดีความ ช่วยให้โจทก์หรือจำเลยสามารถขอรับการสนับสนุนทางการเงินจากบุคคลจำนวนมากในลักษณะกึ่งปิด และรักษาความลับ โดยสามารถขอรับบริจาคหรือเสนอผลตอบแทนเป็นการแลกเปลี่ยนเงินทุน นอกจากนี้ ยังอนุญาตให้นักลงทุนซื้อหุ้นในคดีความที่ตนสนับสนุน ซึ่งอาจทำให้พวกเขาได้รับผลตอบแทนมากกว่าเงินลงทุนหากคดีความประสบความสำเร็จ (ผลตอบแทนขึ้นอยู่กับค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับในตอนท้ายของคดี ซึ่งในสหรัฐอเมริกาเรียกว่าค่าธรรมเนียมแบบมีเงื่อนไข (contingent fee) ในสหราชอาณาจักรเรียกว่าค่าธรรมเนียมความสำเร็จ (success fee) และในระบบกฎหมายประชาชนหลายแห่งเรียกว่า pactum de quota litis)[43] เล็กซ์แชร์ส (LexShares) เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่อนุญาตให้นักลงทุนที่ได้รับการรับรอง (accredited investors) ลงทุนในคดีความ[44] การระดมทุนแบบบริจาคการระดมทุนแบบบริจาค คือ ความร่วมมือกันระหว่างบุคคลทั่วไปเพื่อช่วยเหลือองค์กรการกุศล[45] เงินทุนที่ได้จากการระดมทุนแบบบริจาค มักนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ด้านศาสนา สังคม สิ่งแวดล้อม หรือสาธารณประโยชน์อื่น ๆ[46] ผู้บริจาคจะมารวมตัวกันเพื่อสร้างชุมชนออนไลน์ ร่วมสนับสนุนเงินทุนให้บริการและโครงการต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาที่หลากหลาย เช่น ด้านสาธารณสุข[47] และการพัฒนาชุมชน[48] หัวใจสำคัญของการระดมทุนแบบบริจาคก็คือ ผู้บริจาคไม่ได้รับผลตอบแทนใด ๆ แต่เป็นการบริจาคด้วยเจตนารมณ์อันดี[49] ความนิยมที่เพิ่มขึ้นของการระดมทุนแบบบริจาคได้ก่อให้เกิดข้อกังวลทางจริยธรรม เนื่องจากอาจมีแคมเปญหลอกลวงและปัญหาเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว[50] บทบาทอิทธิพลของบุคคลบุคคลในกลุ่มผู้ระดมทุนมีบทบาทสำคัญในการจุดกระบวนการระดมทุนและส่งผลต่อมูลค่าสูงสุดของสิ่งที่เสนอขายหรือผลลัพธ์ของกระบวนการ บุคคลเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการคัดเลือกและโปรโมทโครงการที่พวกเขาเชื่อมั่น ในบางครั้ง บุคคลเหล่านี้จะรับบทบาทเป็นผู้บริจาคที่ต้องการให้ความช่วยเหลือแก่โครงการสังคม ในบางกรณี พวกเขายังกลายเป็นผู้ถือหุ้นและมีส่วนร่วมในการพัฒนาและเติบโตของสิ่งที่เสนอขายด้วย นอกจากนี้ บุคคลยังเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการที่พวกเขาสนับสนุนไปยังชุมชนออนไลน์ของตนเอง ส่งผลให้เกิดการสนับสนุนเพิ่มเติม (ในฐานะผู้ส่งเสริมการระดมทุน) แรงจูงใจในการมีส่วนร่วมแรงจูงใจที่ทำให้ผู้บริโภคเข้าร่วมกระบวนการระดมทุน ได้แก่:
นอกจากนี้ บุคคลยังเข้าร่วมระดมทุนเพื่อที่จะได้เห็นผลิตภัณฑ์ใหม่ก่อนวางจำหน่าย การเข้าถึงผลิตภัณฑ์ก่อนวางจำหน่าย มักเปิดโอกาสให้ผู้ระดมทุนมีส่วนร่วมโดยตรงมากขึ้นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การระดมทุนยังดึงดูดบุคคลในกลุ่มญาติและเพื่อนของผู้สร้างสรรค์ผลงานเป็นพิเศษ เนื่องจากช่วยให้การตกลงทางการเงินเป็นไปอย่างราบรื่นและช่วยจัดการความคาดหวังของแต่ละฝ่ายที่มีต่อโครงการ[17] งานวิจัยชี้ให้เห็นว่า บุคคลที่เข้าร่วมโครงการระดมทุนมักจะมีลักษณะเฉพาะตัวที่โดดเด่นหลายประการ ได้แก่:
แพลตฟอร์มระดมทุนมีแรงจูงใจในการสร้างรายได้โดยดึงดูดโครงการที่น่าสนใจและผู้สนับสนุนที่ใจกว้าง นอกจากนี้ แพลตฟอร์มเหล่านี้ยังมุ่งแส่ให้โครงการและแพลตฟอร์มของตนเองได้รับความสนใจจากสาธารณชนอย่างกว้างขวาง[17] การเติบโตของการระดมทุนเว็บไซต์ระดมทุนช่วยให้บริษัทและบุคคลทั่วโลกระดมทุนจากประชาชนได้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น
คาดการณ์ว่าการระดมทุนจะเติบโตแตะ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2025[52] รายงาน The State of the Crowdfunding Nation เดือนพฤษภาคม 2014 โดย The Crowdfunding Centre ศูนย์ข้อมูลด้านการระดมทุนที่ตั้งอยู่ในสหราชอาณาจักร เผยว่า ในเดือนมีนาคม 2014 มีการระดมทุนได้มากกว่า 60,000 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อชั่วโมงทั่วโลก นอกจากนี้ ยังมีการเปิดตัวแคมเปญระดมทุนทั่วโลกกว่า 442 แคมเปญต่อวันอีกด้วย[26] ศักยภาพการเติบโตในอนาคตของแพลตฟอร์มระดมทุน ยังขึ้นอยู่กับปริมาณการระดมทุนของพวกเขาด้วยเงินทุนจากธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital) ระหว่างเดือนมกราคม 2017 ถึง เมษายน 2020 ที่ผ่านมา มีการระดมทุนให้แก่แพลตฟอร์มระดมทุนทั่วโลก 99 รอบ โดยระดมทุนรวมกันได้มากกว่าครึ่งพันล้านดอลลาร์สหรัฐ เงินทุนเฉลี่ยต่อรอบการระดมทุนโดยบริษัทเสี่ยงทุนสำหรับแพลตฟอร์มระดมทุน อยู่ที่ 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐในสหรัฐอเมริกาและ 1.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐในยุโรป ระหว่างเดือนมกราคม 2017 ถึง เมษายน 2020[53]
แพลตฟอร์มระดมทุนในปี 2015 เคยมีการคาดการณ์ว่าจะมีเว็บไซต์ระดมทุนให้เลือกมากกว่า 2,000 แห่งในปี 2016[54] แต่ข้อมูลจาก ครันช์เบส (Crunchbase) ในปี 2021 ชี้ว่า สหรัฐอเมริกามีองค์กรระดมทุนเพียง 1,478 แห่ง[55] ในเดือนมกราคม 2021 บริษัท คิกสตาร์เตอร์ (Kickstarter) สามารถระดมทุนได้มากกว่า 5.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากโครงการต่างๆ กว่า 197,425 โครงการ[56] แพลตฟอร์มระดมทุนแต่ละแห่งมีบริการที่แตกต่างกันและประเภทของโครงการที่สนับสนุนก็แตกต่างกันไปด้วย[6] แพลตฟอร์มระดมทุนแบบคัดสรรค์ (Curated crowdfunding platforms) ทำหน้าที่เป็น "ตัวประสานเครือข่าย" (network orchestrators) โดยคัดเลือกสิ่งที่เสนอขายบนแพลตฟอร์ม พวกเขาสร้างระบบองค์กรที่จำเป็นและเงื่อนไขต่างๆ เพื่อให้เกิดการบูรณาการทรัพยากรระหว่างผู้เล่นคนอื่น ๆ[6] แพลตฟอร์มระดมทุนแบบตัวกลาง (Relational mediators) ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้เสนอ และผู้สนับสนุนโครงการ พวกเขาเข้ามาแทนที่ตัวกลางแบบเดิม (เช่น บริษัทเพลงยักษ์ใหญ่ ธุรกิจเงินร่วมลงทุน) แพลตฟอร์มเหล่านี้เชื่อมโยงศิลปิน นักออกแบบ ผู้ริเริ่มโครงการเข้ากับผู้สนับสนุนที่มุ่งมั่น ซึ่งมีความเชื่อมั่นในบุคคลเบื้องหลังโครงการมากพอที่จะให้การสนับสนุนทางการเงิน[17] ในปลายปี 2012 แพลตฟอร์มระดมทุนทางเลือกแบบโอเพ่นซอร์สที่ชื่อว่า Selfstarter[57] เกิดขึ้นเพื่อเป็นทางเลือกให้กับการคัดสรรค์โครงการระดมทุนตามอำเภอใจบนแพลตฟอร์มที่มีอยู่ โดยเกิดขึ้นจากโครงการ ล็อคิตรอน (Lockitron) ซึ่งเคยถูกปฏิเสธจากคิกสตาร์เตอร์ มาก่อน[58] แม้ว่า เซลฟ์สตาร์เตอร์ (Selfstarter) จะกำหนดให้ผู้สร้างโครงการต้องตั้งค่าโฮสต์และระบบประมวลผลการชำระเงินเอง แต่ก็พิสูจน์ให้เห็นว่า โครงการต่างๆ สามารถระดมทุนได้สำเร็จโดยไม่ต้องมีตัวกลางที่หักเปอร์เซ็นต์จากเงินที่ระดมทุนได้จำนวนมาก อ้างอิง
อ่านเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
|