Share to:

 

การสืบตระกูลฝั่งบิดา

การสืบตระกูลฝั่งบิดา (อังกฤษ: patrilineality, agnatic kinship) หรือ การสืบตระกูลสายบุรุษ (อังกฤษ: male line) เป็นหนึ่งในระบบความเป็นเครือญาติของแต่ละบุคคลในครอบครัวหรือตระกูลผ่านทางสายบิดา โดยส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับการสืบทอดสมบัติ สิทธิ ชื่อ หรือบรรดาศักดิ์ของบุคคลผ่านจากความเป็นบุตรชายและบิดา โดยการนับวิธีนี้จะนับผ่านทางบุรุษเท่านั้น

การสืบสันตติวงศ์ฝั่งบิดา

การสืบสันตติวงศ์แบบสิทธิของบุตรหัวปีตามฝั่งบิดา (สีเทา คือ ผู้ดำรงตำแหน่ง) - บุตรเป็นอันดับแรก
การสืบสันตติวงศ์แบบสิทธิของบุตรหัวปีแบบบุรุษมาก่อน - บุตรมาเป็นอันดับแรก ธิดาเป็นอันดับหลัง
การสืบสันตติวงศ์แบบสิทธิตามอาวุโสของฝั่งบิดา (น้องชายของผู้ดำรงตำแหน่งสืบตระกูลเป็นลำดับแรกตามอาวุโส)

การสืบตระกูล/สันตติวงศ์แบบฝั่งบิดา (Agnatic succession) จะสงวนหรือจำกัดการรับสืบราชบัลลังก์ หรือบรรดาศักดิ์ ให้แก่รัชทายาทบุรุษหรือสตรีที่สืบตระกูลมาจากฝั่งบุรุษเท่านั้น ตามประเพณีแล้วราชวงศ์ในยุโรปต่างใช้การสืบสันตติวงศ์แบบนี้ทั้งสิ้น การสืบสันตติวงศ์ในยุโรป เอเชีย และแอฟริกาบางประเทศนั้น ใช้หลักสิทธิของบุตรหัวปีแบบบุรุษมาก่อน (male-preference primogeniture), สิทธิของบุตรหัวปีตามฝั่งบิดา (Agnatic primogeniture) หรือสิทธิตามอาวุโสของฝั่งบิดา (Agnatic seniority) จนถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 21 ราชวงศ์ยุโรปเกือบทั้งหมดได้เปลี่ยนกฎการสืบสันตติวงศ์เป็นแบบสิทธิของบุตรหัวปี (Absolute primogeniture) ซึ่งหมายความบุตรหรือธิดาพระองค์แรกที่ประสูติในพระมหากษัตริย์จะได้สืบสันตติวงศ์ (ไม่แบ่งแยกตามเพศ)

การสืบสันตติวงศ์แบบสิทธิของบุตรหัวปี (สีเทา คือ ผู้ดำรงตำแหน่ง) วงกลมคือสตรีซึ่งมาเป็นอันดับแรกตามลำดับการเกิด

อ้างอิง

Kembali kehalaman sebelumnya