Share to:

 

การเสียชีวิตจากหัวใจหยุดเต้นกะทันหันในนักกีฬา

การกู้ชีพเบื้องต้นยังเป็นวิธีช่วยเหลือที่สำคัญที่สุดในผู้ที่หัวใจหยุดเต้น

การเสียชีวิตจากหัวใจหยุดเต้นกะทันหันในนักกีฬายังเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่ป้องกันได้ยากและท้าทายวงการแพทย์อยู่มาก ภาวะนี้ยังมีนิยามไม่ชัดเจน แต่ส่วนใหญ่หมายถึงการเสียชีวิตจากหัวใจหยุดเต้นกะทันหันอย่างไม่คาดคิด ที่เกิดขึ้นเองจากร่างกายของผู้ตายหรือตัวโรคที่เป็นอยู่ และเกิดขึ้นภายใน 1 ชั่วโมงหลังจากหมดสติ ทั้งนี้ไม่นับเวลาที่ยังมีชีวิตอยู่โดยอาศัยอุปกรณ์พยุงชีพต่างๆ[1] สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากโรคหัวใจ ทั้งที่เป็นแต่กำเนิดและเป็นมาภายหลัง ซึ่งไม่มีอาการใดๆ ปรากฏก่อนเกิดเหตุการณ์ที่ทำให้เสียชีวิต แต่ละสาเหตุมีความชุกต่ำ อยู่ที่ไม่เกิน 0.3% จึงทำให้ไม่ว่าการตรวจใดๆ ก็ไม่มีความไวหรือความจำเพาะเพียงพอที่จะตรวจพบภาวะเหล่านี้ได้ ปัจจัยทำนายที่สำคัญที่สุดเพียงอย่างเดียวคือประวัติหมดสติหรือหน้ามืดขณะออกกำลังกาย ซึ่งควรได้รับการตรวจร่างกายและการตรวจทางห้องปฏิบัติการอย่างละเอียด[2] นักกีฬาที่เสียชีวิตในลักษณะนี้หลายคนเป็นคนมีชื่อเสียง เช่นนักฟุตบอลอาชีพ เป็นต้น

อุบัติการณ์

พบการเสียชีวิตจากหัวใจหยุดเต้นกะทันหันในนักกีฬาอายุน้อยประมาณ 1 ใน 200,000 ราย ต่อปี ส่วนใหญ่พบขณะกำลังมีการแข่งขันหรือการซ้อม[3] ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มักพบว่าเป็นนักกีฬาฟุตบอล บาสเกตบอล ฮอกกี้น้ำแข็ง หรืออเมริกันฟุตบอล ซึ่งเป็นกีฬาที่มีนักกีฬาร่วมแข่งขันเป็นจำนวนมากและเป็นกีฬาที่ใช้การออกแรงมาก[4] อย่างไรก็ตามอุบัติการณ์นี้ยังน้อยกว่าที่พบในประชากรทั่วไปมาก ซึ่งอยู่ที่ 1 ใน 1,300-1,600 ราย ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ[5] มีการประมาณไว้ว่าในประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งมีจำนวนประชากรมาก จะพบการเสียชีวิตจากหัวใจหยุดเต้นกะทันหันในนักกีฬาที่กำลังแข่งขัน ประมาณ 1 ราย ต่อ 3 วัน ซึ่งมักมีสื่อมวลชนให้ความสนใจทำข่าว[6]

สาเหตุ

มีบทวิเคราะห์งานวิจัยรายงานสาเหตุอการเสียชีวิตของนักกีฬาชาวอเมริกาอายุน้อยกว่า 35 ปี รวม 387 ออกมาเมื่อ ค.ศ. 2003 พบว่าสาเหตุที่พบบ่อยเป็นดังตารางต่อไปนี้[4]

สาเหตุ อุบัติการณ์
โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติ 26% เกิดจากพันธุกรรม
หัวใจเต้นผิดจังหวะจากการกระแทก 20% หัวใจมีโครงสร้างปกติ แต่เกิดไฟฟ้าผิดปกติหลังจากถูกกระแทกที่หน้าอก
Coronary artery anomalies 14% กลไกยังไม่ชัดเจน สัมพันธ์กับความผิดปกติแต่กำเนิดชนิดอื่นๆ ของหัวใจ
หัวใจห้องล่างซ้ายขยายขนาดชนิดไม่ทราบสาเหตุ 7% เชื่อว่าเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติชนิดหนึ่ง
กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ 5% การอักเสบเฉียบพลัน
การปริแตกของหลอดเลือดแดงที่โป่งพอง (กลุ่มอาการมาร์แฟน) 3% เกิดจากพันธุกรรม สัมพันธ์กับคนที่ตัวสูงผิดปกติ
โรคกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างขวาผิดปกติจากการเต้นผิดจังหวะของหัวใจ 3% เกิดจากพันธุกรรม
Tunneled coronary artery 3% Congenital abnormality
Aortic valve stenosis 3% Multiple causes
Atherosclerotic coronary artery disease 3% Mainly acquired; dominant cause in older adults
Other diagnosis 13%

พันธุศาสตร์

โรคของกล้ามเนื้อหัวใจ

โรคของไอออนแชนเนล

20% ของผู้ที่เสียชีวิตในลักษณะนี้แม้ได้รับการตรวจชันสูตรอย่างละเอียดแล้วก็ยังไม่สามารถให้การวินิจฉัยได้ ความสนใจต่อกรณีการเสียชีวิตที่ชันสูตรไม่พบอะไรนี้จึงมักมุ่งไปยังโรคในกลุ่มที่เป็นโรคของไอออนแชนเนล ซึ่งเป็นโปรตีนที่ประกอบขึ้นเป็นช่องทางผ่านบนผิวเซลล์ สำหรับให้เกลือแร่ที่มีประจุ (ไอออน) ต่างๆ ผ่านเข้าออกจากเซลล์ เช่น โซเดียม โพแทสเซียม และแคลเซียม การผ่านเข้าออกของไอออนเหล่านี้เป็นขั้นตอนปกติของการสร้างและการนำสัญญาณไฟฟ้าของเซลล์ ซึ่งมีหน้าที่สำคัญในการสร้างและควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ ความผิดปกติในแชนเนลเหล่านี้อาจพบได้ในโรคพันธุกรรมบางโรคซึ่งพบน้อย เช่น โรคระยะคิวทียาว โรคบรูกาดา โรคหัวใจห้องล่างเต้นเร็วชนิดหลายรูปแบบที่เกิดจากคาเทโคลามีน เป็นต้น โรคที่กล่าวมานี้ทำให้เกิดการเสียชีวิตกะทันหันได้ทั้งสิ้น

โรคของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันชนิดถ่ายทอดทางพันธุกรรม

การตรวจดีเอ็นเอ

ตัวอย่างผู้เสียชีวิตที่มีชื่อเสียง

แม่แบบ:Dynamic list These athletes, in alphabetical order, experienced sudden cardiac death by age 40. Their notability is established by reliable sources in other Wikipedia articles.

อ้างอิง

  1. van der Werf C, van Langen IM, Wilde AA (February 2010). "Sudden death in the young: what do we know about it and how to prevent?". Circ Arrhythm Electrophysiol. 3 (1): 96–104. doi:10.1161/CIRCEP.109.877142. PMID 20160177.
  2. Hastings JL, Levine BD (March 2012). "Syncope in the athletic patient". Prog Cardiovasc Dis. 54 (5): 438–44. doi:10.1016/j.pcad.2012.02.003. PMID 22386295.
  3. Ferreira M, Santos-Silva PR, de Abreu LC, Valenti VE, Crispim V, Imaizumi C, Filho CF, Murad N, Meneghini A, Riera AR, de Carvalho TD, Vanderlei LC, Valenti EE, Cisternas JR, Moura Filho OF, Ferreira C (Aug 3, 2010). "Sudden cardiac death athletes: a systematic review". Sports Med Arthrosc Rehabil Ther Technol. 2: 19. doi:10.1186/1758-2555-2-19. PMC 2923123. PMID 20682064.
  4. 4.0 4.1 Maron, Barry J. (September 11, 2003). "Sudden Death in Young Athletes". New England Journal of Medicine. 349 (11): 1064–1075. doi:10.1056/NEJMra022783. PMID 12968091.
  5. Chugh SS, Reinier K, Teodorescu C, Evanado A, Kehr E, Al Samara M, Mariani R, Gunson K, Jui J (Nov–Dec 2008). "Epidemiology of sudden cardiac death: clinical and research implications". Prog Cardiovasc Dis. 51 (3): 213–28. doi:10.1016/j.pcad.2008.06.003. PMC 2621010. PMID 19026856. For the world (total population approx. 6,540,000,000), the estimated annual burden of sudden cardiac death would be in the range of 4–5 million cases per year.
  6. Link, MS; Estes, NAM III (May 2012). "Sudden Cardiac Death in the Athlete". Circulation. 125 (20): 2511–2516. doi:10.1161/CIRCULATIONAHA.111.023861.
Kembali kehalaman sebelumnya