การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาในสาขาชีววิทยา การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตา[2] (อังกฤษ: binocular vision) หมายถึงการเห็นด้วยสองตาที่สัตว์สามารถรับรู้ภาพ 3 มิติเป็นภาพเดียวจากสิ่งแวดล้อม นักประสาทวิทยาคนหนึ่งได้กำหนดข้อดี 6 ประการในการมีสองตาเทียบกับตาเดียว คือ[3]
ปรากฏการณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับการมองด้วยสองตาอื่น ๆ รวมทั้งการบอกได้ว่า แสงมากระทบข้างไหนของตา (utrocular discrimination)[7], ความถนัดในการเล็งมองด้วยตาข้างใดข้างหนึ่งโดยเฉพาะ แม้ตาจะเปิดทั้งคู่ (ocular dominance)[8], การกำหนดทิศของวัตถุโดยอาศัยข้อมูลเฉลี่ยจากตาทั้งสอง (allelotropia)[9], การรวมภาพจากสองตาโดยเห็นเป็นภาพเดียวแม้แต่ละข้างจะเห็นต่างกัน[10] และการแข่งขันระหว่างสองตา คือการเห็นสลับกันระหว่างตาซ้ายขวา ถ้าภาพที่มาจากตาทั้งสองต่างกันจนไม่สามารถรวมเป็นภาพเดียวกันได้[11] การเห็นด้วยสองตาช่วยให้ทำกิจกรรมได้ดีขึ้นรวมทั้งการจับ การจับวัตถุที่โยน และการวิ่งเดิน[12] ทำให้สามารถเดินเข้าไปหาแล้วหลีกเลี่ยงอุปสรรคได้เร็วขึ้นอย่างมั่นใจ[13] จักษุแพทย์จะเป็นผู้ชำนาญเฉพาะทางเพื่อแก้ปัญหาการมองเห็นด้วยสองตา ประวัติคำภาษาอังกฤษคำภาษาอังกฤษว่า binocular มาจากรากศัพท์ภาษาละตินสองคำ คือ bini แปลว่า คู่ และ oculus แปลว่า ตา[14] ขอบเขตการเห็นและการขยับตาสัตว์บางชนิด ซึ่งปกติจะเป็นสัตว์ถูกล่าแต่ไม่เสมอไป จะมีตาอยู่ทางข้างทั้งสองของศีรษะเพื่อให้มีขอบเขตการเห็นกว้างที่สุด สัตว์ตัวอย่างรวมทั้งกระต่าย ควาย และแอนทิโลปเป็นต้น ในสัตว์เหล่านี้ ตาบ่อยครั้งจะสามารถขยับได้อย่างเป็นอิสระเพื่อเพิ่มขอบเขตการเห็น นกบางชนิดสามารถมองเห็นได้รอบตัวถึง 360 องศาแม้จะไม่ขยับตาเลย สัตว์บางชนิด ซึ่งปกติจะเป็นสัตว์ล่าเหยื่อแต่ไม่เสมอไป จะมีตาอยู่ด้านหน้าของศีรษะ ทำให้สามารถมองเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตา ซึ่งลดขอบเขตการเห็นโดยแลกกับการเห็นเป็น 3 มิติ ถึงกระนั้น ตาที่อยู่ด้านหน้าก็เป็นลักษณะสืบสายพันธุ์ที่ได้วิวัฒนาการมาอย่างพิเศษ ดังนั้น จึงมีกลุ่มสัตว์มีกระดูกสันหลังเพียง 3 กลุ่มที่ยังมีชีวิตอยู่และมีตาที่จัดว่าส่องไปข้างหน้าจริง ๆ รวมทั้งไพรเมต (รวมมนุษย์) สัตว์กินเนื้อ และนกล่าเหยื่อ (รวมทั้งนกอินทรีและเหยี่ยว) มีสัตว์ล่าเหยื่อบางชนิด โดยเฉพาะที่ตัวใหญ่ เช่นวาฬสเปิร์มและวาฬเพชฌฆาต ซึ่งมีตาอยู่ที่ข้างทั้งสองของศีรษะ แต่ก็ยังเป็นไปได้ว่า พวกมันก็มีเขตลานสายตาที่เห็นด้วยตาทั้งสองเช่นกัน[15] นอกจากนั้น สัตว์ที่ไม่ใช่สัตว์ล่าเหยื่อ รวมทั้งค้างคาวผลไม้และไพรเมตจำนวนหนึ่ง ก็มีตาส่องไปทางด้านหน้าด้วย สัตว์เหล่านี้มักจำเป็นต้องรู้ใกล้ไกลเป็นอย่างดี ยกตัวอย่างเช่น การมองเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาจะทำให้สามารถจับผลไม้ที่ต้องการ หรือมองหาและจับกิ่งไม้ได้ดีขึ้น ทิศทางหรือมุมมองของจุด ๆ หนึ่งในปริภูมิเทียบกับแนวมองตรงไปข้างหน้าจากตรงกลางศีรษะ เรียกตามภาษาอังกฤษว่า visual direction หรือ version ส่วนมุมของแนวมองของตาทั้งสองซึ่งบรรจบอยู่ที่จุดตรึงตาข้างหน้าเรียกว่า absolute disparity, binocular parallax, vergence demand หรือแค่ vergence ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 3 อย่างคือตำแหน่งของตาทั้งสอง version และ vergence จะกำหนดโดยกฎ Hering's law of visual direction ในสัตว์ที่มีตามองไปข้างหน้า ตาทั้งสองมักจะขยับคู่กัน การขยับตาอาจเป็นทางเดียวกัน (conjunctive) ที่เรียกว่า version eye movement โดยแบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ รวมทั้ง saccade, smooth pursuit, nystagmus, และ vestibulo-ocular reflex หรืออาจไปในทางตรงกันข้าม (disjunctive) ที่เรียกว่า vergence eye movement ความสัมพันธ์ระหว่างการขยับตาไปในทางเดียวกันหรือทางตรงกันข้ามกันในมนุษย์ (และในสัตว์ส่วนมาก) อธิบายได้โดยกฎ Hering's law of equal innervation สัตว์บางชนิดสามารถใช้ตาได้ทั้งสองแบบ ยกตัวอย่างเช่น นกเอี้ยงและนกกิ้งโครงมีตาทางด้านข้างซึ่งทำให้มีขอบเขตการเห็นกว้าง แต่ก็สามารถขยับตาทั้งสองด้วยกันไปทางด้านหน้าเพื่อมีส่วนที่เห็นร่วมกัน และทำให้เห็นภาพ 3 มิติ อีกตัวอย่างที่หน้าทึ่งก็คือ กิ่งก่าคาเมเลียนที่มีตาบนแป้นหมุน โดยแต่ละตาจะขยับขึ้นหรือลง ซ้ายหรือขวาได้อย่างเป็นอิสระ แต่ก็ยังเล็งตาไปทางวัตถุเดียวกันเมื่อกำลังล่าเหยื่อได้ด้วย การรวมข้อมูลจากตาทั้งสองข้าง (Binocular summation)การรวมข้อมูลจากตาทั้งสอง (Binocular summation) เป็นกระบวนการที่ลดขีดเริ่มเปลี่ยนของการเห็นสิ่งเร้าเมื่อใช้ตาทั้งสองแทนตาข้างเดียว[16] มีปรากฏการณ์ที่เป็นผลหลายอย่างเมื่อเปรียบการเห็นด้วยสองตาเทียบกับการเห็นด้วยตาเดียว[16] การรวมภาพจากสองตาทางประสาท (Neural binocular summation) เกิดเมื่อสมรรถภาพการเห็นด้วยสองตาดีกว่า การยับยั้งเหตุมองด้วยสองตา (Binocular inhibition) เกิดเมื่อสมรรถภาพการเห็นด้วยสองตาน้อยกว่าเมื่อมองด้วยตาข้างเดียว ซึ่งแสดงนัยว่า ตาที่ไม่ดีจะมีผลต่อตาดี และมีผลต่อการเห็นโดยรวม[16] การรวมข้อมูลจากตาทั้งสองจะถึงขีดสูงสุดถ้าตาทั้งสองข้างดีพอกัน ตาที่ดีไม่พอกันจะเห็นได้ดีลดลง มีโรคตาต่าง ๆ ที่เกิดจากตาดีไม่เท่ากัน เช่น ต้อกระจกข้างเดียว (unilateral cataract) และตามัว[16] ปัจจัยที่มีผลต่อการรวมภาพจากตาทั้งสองรวมทั้งความละเอียดของภาพ (spatial frequency) จำนวนจุดจอประสาทตาที่ได้สิ่งเร้า และช่วงระหว่างเวลาที่เห็นสิ่งเร้า[16] ปฏิสัมพันธ์ของตาทั้งสองนอกจากการวมข้อมูลจากตาทั้งสองแล้ว ตาแต่ละข้างยังอาจมีผลต่อกันและกันด้วยกลไกอย่างน้อยอีก 3 อย่าง
การเห็นเป็นภาพเดียวถ้าขอบเขตการเห็นของตาทั้งสองคาบเกี่ยวกัน มีโอกาสที่จะสับสนภาพของวัตถุเดียวกันที่มาจากตาซ้ายและขวา ซึ่งสมองอาจจัดการโดยสองวิธี คือ การระงับภาพจากตาหนึ่ง (suppression) โดยสมองจะให้เห็นแค่ภาพเดียว หรือว่าการรวมภาพทั้งสองเป็นภาพเดียว แต่ถ้าเห็นเป็นสองภาพ นี้เรียกว่าการเห็นภาพซ้อน การรวมภาพจากตาทั้งสอง (ซึ่งภาษาอังกฤษเรียกอย่างสามัญว่า "binocular fusion") จะเกิดในปริภูมิรอบ ๆ จุดที่ตรึงตา เป็นปริภูมิที่เรียกว่า Panum's fusional area โดยวัตถุที่อยู่นอกปริภูมินี้ จะเห็นเป็นภาพซ้อน ความถนัดตาเมื่อตาแต่ละข้างมองเห็นภาพของตัวเอง ๆ นอกเขตปริภูมิ Panum's fusional area การรวมวัตถุข้างนอกเข้ากับที่อยู่ข้างในก็จะเป็นไปไม่ได้[17] นี่สามารถเห็นได้เมื่อชี้วัตถุไกล ๆ ด้วยนิ้วมือ ถ้าตรึงตาดูที่ปลายนิ้ว ก็จะเห็นรูปเดียว แต่จะเห็นวัตถุที่ไกลเป็นภาพซ้อน ถ้าตรึงตาดูวัตถุที่อยู่ไกล ก็จะเห็นเป็นภาพเดียว แต่จะเห็นปลายนิ้วมือเป็นภาพซ้อน เพื่อให้ชี้ได้ถูกต้อง ภาพที่มาจากตาข้างใดข้างหนึ่งต้องให้ความสำคัญมากกว่า (คือตาที่ถนัด) โดยไม่สนใจอีกข้างหนึ่ง (ตาที่ไม่ถนัด) และตาที่สามารถเล็งมองวัตถุที่ไกลได้เร็วและตรึงอยู่ที่นั่น ก็จะเรียกว่า เป็นตาที่ถนัด (dominant eye)[17] ภาพ 3 มิติตาทั้งสองมีเขตการมองที่คาบเกี่ยวกันเพราะตาอยู่ที่ศีรษะด้านหน้า ไม่ใช่ด้านข้าง เขตที่คาบเกี่ยวกันนี้ทำให้ตาแต่ละข้างมองเห็นวัตถุเดียวกันแต่ต่างมุมกันเล็กน้อย เพราะความคาบเกี่ยวกันนี้ การเห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตาจึงทำให้สามารถรู้ความใกล้ไกล[18] เป็นความรู้สึกที่ได้เมื่อมองด้วยสองตาสำหรับคนที่มองเห็นด้วยสองตาได้เป็นปกติ[18] ภาพเดียวกันที่ตกลงที่จอตาทั้งสองข้างจะต่างกันเล็กน้อยเพราะตำแหน่งของตาที่ต่างกันบนศีรษะ ความต่างที่สองตา (binocular disparity) เยี่ยงนี้จะให้ข้อมูลหลักอย่างหนึ่งแก่สมองเพื่อใช้คำนวณความใกล้ไกลของสิ่งที่เห็น[18] การเห็นเป็น 3 มิติมีปัจจัยสองอย่าง คือ ธรรมชาติของสิ่งเร้าที่ให้ข้อมูล 3 มิติ และกระบวนการในสมองที่ประมวลข้อมูลนั้น[18] ระยะห่างระหว่างสองตาของผู้ใหญ่จะอยู่ที่ประมาณ 6.5 ซม.[18] ความต่างบนจอตา (Retinal disparity) ก็คือความห่างของภาพวัตถุต่าง ๆ ที่ตกลงบนจอประสาทตาด้านซ้ายและขวา ซึ่งให้ข้อมูลความใกล้ไกล[18] แต่เป็นความใกล้ไกลโดยเปรียบเทียบระหว่างวัตถุต่าง ๆ ไม่ใช่ความใกล้ไกลที่แม่นยำหรือสัมบูรณ์ วัตถุสองอย่างยิ่งใกล้กันเท่าไร ความต่างบนจอตาก็จะเล็กลงเท่านั้น ถ้าวัตถุห่างกัน ความต่างบนจอตาก็จะใหญ่ขึ้น ถ้าวัตถุอยู่ใกล้ไกลเท่ากัน ก็จะไม่มีความต่างที่จอตา[18] Allelotropiaเพราะตาทั้งสองอยู่ในตำแหน่งที่ต่างกันของศีรษะ วัตถุที่มองซึ่งไม่ได้อยู่ที่จุดตรึงตราหรืออยู่บนผิว horopter จะมีทิศทางการเห็น (visual direction) ที่ต่างกันในตาแต่ละข้าง แต่เมื่อภาพสองภาพที่มองเห็นด้วยตาเดี่ยว ๆ รวมเข้าด้วยกันเป็นภาพเดียว เป็นภาพที่เรียกว่าภาพไซคลอปส์ (Cyclopean image, ตามยักษ์ไซคลอปส์ที่มีตาเดียว) วัตถุที่ว่าก็จะมีทิศทางการเห็นอันใหม่ โดยทั่วไปจะเป็นค่าเฉลี่ยของทิศทางการเห็นจากแต่ละตา ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า allelotropia[9] ส่วนจุดเริ่มต้นของทิศทางการเห็นใหม่ (ที่มีจุดปลายที่วัตถุ) จะอยู่ประมาณระหว่างตาทั้งสอง ซึ่งเรียกว่า ตาไซคลอปส์ (cyclopean eye) ตำแหน่งของตาไซคลอปส์ปกติจะไม่ได้อยู่ระหว่างตาทั้งสองพอดี แต่มักจะอยู่ใกล้ตาที่ถนัดมากกว่า การแข่งขันระหว่างสองตาเมื่อมีภาพที่ต่างกันสองภาพแสดงให้ตาแต่ละข้างในเขตการเห็นเดียวกัน จะมีการรับรู้ภาพข้างหนึ่งพักหนึ่ง แล้วสลับไปยังอีกภาพหนึ่ง แล้วกลับไปอีกภาพหนึ่งเรื่อย ๆ ตราบที่ยังสนใจดูภาพอยู่ การสลับการรับรู้ระหว่างภาพจากสองตาเรียกว่า การแข่งขันระหว่างสองตา[19] มนุษย์มีสมรรถภาพจำกัดในการประมวลภาพหนึ่ง ๆ อย่างสมบูรณ์ จึงเป็นเหตุให้เกิดปรากฏการณ์นี้นี้ มีปัจจัยหลายอย่างที่มีผลต่อระยะเวลาที่เห็นภาพ ๆ หนึ่ง รวมทั้งบริบท ความเปรียบต่าง การเคลื่อนไหว รายละเอียด และภาพเนกาทีฟ[19] งานวิจัยปี 2551 แสดงว่า สีหน้าอาจทำให้ใส่ใจรูปหนึ่ง ๆ เพิ่มขึ้น[19] เช่น เมื่อแสดงใบหน้าที่ออกสีหน้าที่ตาข้างหนึ่ง และแสดงใบหน้าที่สีหน้าเฉย ๆ อีกด้านหนึ่ง ก็จะทำให้เห็นใบหน้าที่ออกสีหน้ามากกว่า หรือไม่เห็นใบหน้าที่มีสีหน้าเฉย ๆ เลย[19] โรคเพื่อคงสภาพการเห็นเป็น 3 มิติโดยเป็นภาพเดียว ตาจะต้องเล็งมองได้อย่างถูกต้อง กล้ามเนื้อตา 6 มัดเป็นตัวควบคุมตำแหน่งของตาในเบ้าตา ความยาวที่ต่างกัน จุดยึดที่ต่างกัน หรือกำลังที่ต่างกันของกล้ามเนื้อมัดเดียวกันในสองตาแม้เพียงเล็กน้อย อาจทำให้ตาข้างหนึ่งมักหมุนไปยังตำแหน่งในเบ้าตาที่ไม่สอดคล้องกับอีกข้างหนึ่ง โดยเฉพาะเมื่อเหนื่อย ซึ่งเรียกว่า ตาเหล่แฝง (phoria) และอาจปรากฏถ้าทดสอบโดยปิดตาข้าหนึ่ง (cover-uncover test) เมื่อตรวจโดยวิธีนี้ ให้ดูตาทั้งสองของคนที่จะตรวจ ให้ปิดตาข้างหนึ่งด้วยการ์ด แล้วให้บุคคลนั้นมองปลายนิ้วของคุณ โดยให้เปลี่ยนตำแหน่งของนิ้ว นี่เพื่อล้มรีเฟล็กซ์ที่ปกติจะปรับตาที่ปิดให้ไปในตำแหน่งที่ถูกต้อง เมื่อหยุดขยับมือและนิ้ว ให้เปิดตาของบุคคลนั้นแล้วดูตา คุณอาจจะเห็นมันเปลี่ยนตำแหน่งอย่างรวดเร็วจากตาเหล่ออกหรือเข้า ไปสู่ตำแหน่งที่ถูกต้อง ถ้าตาที่ปิดขยับเข้าจากการเบนออก บุคคลนี้มี exophoria (ตาเหล่ออกแฝง) ถ้าขยับออกจากการเบนเข้า บุคคลนี้มี esophoria (ตาเหล่เข้าแฝง) ถ้าตาไม่ขยับเลย บุคคลนี้มีตาปกติ (orthophoria) คนโดยมากจะมีตาเหล่แฝงไม่เข้าก็ออกบ้าง ซึ่งเป็นเรื่องปกติ ถ้าเปิดตาแล้วตาขยับลง บุคคลมีตาเหล่ขึ้นแฝง (hyperphoria) ถ้าตาขยับขึ้น บุคคลมีตาเหล่ลงแฝง (hypophoria) ตาเหล่แฝงในแนวตั้งเช่นนี้มีน้อยมาก ยังเป็นไปได้ด้วยที่ตาที่เปิดจะขยับโดยหมุนในเบ้าตา แต่ตาเหล่หมุนแฝง (cyclophoria) เช่นนี้ปกติจะไม่เห็นด้วยการทดสอบวิธีนี้[ต้องการอ้างอิง] และเป็นอะไรที่เกิดน้อยกว่ายิ่งกว่าตาเหล่ขึ้นลงแฝง วิธีการทดสอบนี้ยังสามารถใช้ตรวจโรคมองด้วยสองตาที่เป็นปัญหายิ่งขึ้น คือ ตาเหล่แบบชัดแจ้ง เบื้องต้น ผู้ตรวจจะดูตาแรกเมื่อปิดตาที่สอง ถ้าตาขยับจากเบนออกเป็นเบนเข้า บุคคลนั้นมีตาเหล่ออก (exotropia, wall-eyed) ถ้าตาขยับจากเบนเข้าเป็นเบนออก บุคคลนั้นมีตาเหล่เข้า (esotropia, cross-eyed) ทั้งสองเป็นตาเหล่ที่อาจเกิดร่วมกับตามัว แม้อาการตามัวจะมีนิยามที่ต่าง ๆ กัน[16] แต่นิยามซึ่งสามัญที่สุดก็แสดงว่า ตามัวเป็นอาการของตาข้างเดียวซึ่งมองเห็นแย่กว่า 20/20 โดยไม่ปรากฏเหตุทางโครงสร้างร่างกายหรือโรค และจะเกิดร่วมกับอาการต่อไปนี้ก่อนถึงอายุ 6 ขวบ คือ amblyogenic anisometropia, ตาเหล่เข้าหรือออกข้างเดียวเป็นประจำ (constant unilateral esotropia or exotropia), amblyogenic bilateral isometropia, ตาเอียงสองข้างหรือข้างเดียวเหตุตามัว (amblyogenic unilateral or bilateral astigmatism), image degradation[16] ถ้าตาที่ปิดเป็นตาซึ่งไม่มัว ตาที่มัวก็จะเป็นตาเดียวที่บุคคลนั้นเห็น และอาการตาเหล่จะปรากฏเมื่อคนไข้ขยับตาเพื่อมองนิ้วของผู้ตรวจ นอกจากนั้น ยังมีตาเหล่ขึ้น (hypertropia) ตาเหล่ลง (hypotropia) และตาเหล่หมุน (cyclotropia) ความผิดปกติเนื่องกับการเห็นด้วยสองตารวมทั้ง
ความผิดปกติเนื่องกับการมองด้วยสองตาเป็นโรคตาที่สามัญที่สุดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งปกติจะสัมพันธ์กับอาการต่าง ๆ เช่นปวดหัว ตาล้า/ตาเพลีย (asthenopia) ปวดตา เห็นไม่ชัด และการเห็นภาพซ้อนเป็นบางครั้งบางคราว[20] คนไข้ที่มาหาจักษุแพทย์ประมาณ 20% จะมีความผิดปกติเนื่องกับมองด้วยสองตา[20] วิธีวินิจฉัยที่มีประสิทธิผลมากที่สุดก็คือ การตรวจการเบนของตาเมื่อมองใกล้ ๆ (near point of convergence test, NPC)[20] เมื่อตรวจด้วย NPC แพทย์จะขยับวัตถุที่ให้มอง เช่นนิ้ว เข้าไปใกล้ ๆ หน้าของคนไข้จนกระทั่งเห็นว่า ตาได้ได้เบนออกหรือคนไข้เริ่มเห็นภาพซ้อน[20] จนกระทั่งถึงระดับหนึ่ง ระบบการเห็นจะสามารถชดเชยการเห็นที่ไม่เหมือนกันของตาทั้งสองข้าง แต่ถ้าปัญหาการมองด้วยสองตามากเกิน เช่น ระบบต้องปรับตัวให้เข้ากับการเบี่ยงเบนของตาไม่ว่าจะเป็นแบบแนวนอน แนวตั้ง แบบหมุน หรือการเห็นขนาดวัตถุไม่เหมือนกันของตาทั้งสองข้าง (aniseikonic) มากเกินไป ก็จะทำให้ไม่เห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตา และโดยที่สุดจึงทำให้ตาเหล่หรือทำอาการตาเหล่ให้แย่ลง ดูเพิ่ม
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|