Share to:

 

กิรออะฮ์

กิรออะฮ์ หมายถึง เทคนิคการอ่านกุรอาน ส่วนความหมายตามตัวอักษร หมายถึง การอ่าน นักอักษรศาสตร์ให้ความหมายว่า เทคนิคการอ่าน กิรออาต เป็นรูปพหูพจน์ของคำว่า กิรออะฮ์ ซึ่งบ่งชี้ถึงประเภทการอ่านที่หลากหลาย เป้าหมายของ "การอ่านกุรอานอย่างถูกต้อง" คือการอธิบายคำต่าง ๆ ด้วยเทคนิคที่นบีมุฮัมมัด ศาสดาแห่งอิสลามเคยอ่าน หรือการอ่านที่เคยอ่านต่อหน้าท่าน และท่านก็รับรองการอ่านนั้น[1]

เทคนิคการอ่านกุรอานตามรายงานของฮัฟศ์ ที่รายงานจาก อาซิม กูฟี เป็นเทคนิคการอ่านที่ถูกรู้จักกันมากที่สุดในหมู่มุสลิม[2]

นิยาม

"กิรออะฮ์" คือรูปแบบหนึ่งจากรูปแบบที่คาดคะเนได้ว่าเป็นตัวบทของกุรอาน

บัดรุดดีน ซัรกะชี กล่าวว่า กิรออาต คือ ความแตกต่างที่เกี่ยวกับ "คำต่าง ๆ " และ "ประโยคต่าง ๆ " ของวะห์ยู ซึ่งความแตกต่างนี้เกี่ยวข้องกับตัวอักษร คำต่าง ๆ และวิธีการต่าง ๆ ของกุรอาน อาทิ การออกเสียงบาง การออกเสียงหนา เป็นต้น - ซึ่งรายงานโดยนักอ่าน- ดิมยาฏี กล่าวว่า กิรออาต หมายถึง ศาสตร์ที่ผ่านมติเอกฉันท์หรือความแตกต่างของผู้บันทึกคัมภีร์ของพระเจ้า- เกี่ยวกับเรื่องของการ ตัด การคงไว้ การใส่สระ การใส่สุกูน การเว้นวรรค การเชื่อมตัวอักษรและคำต่าง ๆ เหล่านี้เป็นต้น วิธีการออกเสียง และการเปลี่ยน (อิบดาล) อีกทั้งเรื่องอื่น ๆ ที่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยการฟัง

ประวัติความเป็นมา

การอ่าน เป็นศัพท์เชิงวิชาการรุ่นก่อน ซึ่งย้อนกลับไปยังยุคสาวกของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซลฯ) วิทยาการแรกของอิสลามที่สาวกได้เรียนรู้ คือ การท่องจำกุรอานและการอ่านกุรอาน หลังจากที่ท่านศาสดาได้เสียชีวิต สาวกกลุ่มหนึ่งก้ได้บันทึกกุรอานออกเป็นมุศฮัฟต่าง ๆ เช่น อับดุลลอฮ์ บิน มัสอูด, อุบัย บิน กะอบ์, มะอาษ บิน ญะบัล และมิกดาด บิน อัสวัด ด้วยเหตุนี้จึงทำให้บุคคลเหล่านี้มีความขัดแย้งกันในกรณีต่าง ๆ ที่เกียวกับวิธีการบันทึกกุรอาน เป็นผลให้เกิดการอ่านต่าง ๆ ที่หลากหลายขึ้น ผู้คนในโลกอิสลามแต่ละพื้นที่ต่างก็อ่านกุรอานตามสาวกที่พวกเขารู้จักและคุ้นเคย เช่น ชาวกูฟะฮ์ ก็จะอ่านตามอิบนุ มัสอูด ชาวบัศเราะฮ์จะอ่านตามอะบูมูซา อัชอะรี และชาวเมืองชามก็จะอ่านตามอุบัย บิน กะอบ์ จากความขัดแย้งนี้เองทำให้เห็นถึงความจำเป็นของศาสตร์ศาสตร์หนึ่งที่สามารถจำแนกการอ่านที่ถูกต้องและมุตะวาติร ออกจากการอ่านที่ไม่เป็นที่รู้จัก (ชาษ)

กุรอานมีรุปแบบการอ่านที่แตกต่างกันออกไป ในลักษณะที่กล่าวกันว่าช่วง ศตวรรษที่สองหรือสาม แห่งฮิจเราะฮ์ศักราชมีรายงานถึง 14 รายงานเกี่ยวกับรูปแบบอ่าน และฮาฟิซก็กล่าวถึงการอ่านกุรอานตาม 14 การรายงานเอาไว้ด้วย ซึ่งมีความแตกต่างกันในบางรายละเอียดของการอ่าน ฉะนั้นอย่าสับสนระหว่างการอ่านกุรอานกับการท่องจำกุรอาน[3] การอ่านมี 4 ระดับ ได้แก่:[4]

  1. ตัรตีล : เป็นการอ่านที่รักษาระเบียบการเรียบเรียงที่มีอยู่ในประโยคและกฎเกณฑ์ของคำพูด
  2. ตะห์กีก: เป็นการอ่านที่เพิ่มสำเนียงการอย่างความพอดี รักษาความนุ่มนวลในการอ่าน ผสมผสานกับการลากเสียงสระสุดท้าย การออกเสียงพยัญชนะ ซึ่งการตะห์กีกนั้นมี 3 ประเภทด้วยกัน
  3. ตะห์ดีร : การอ่านเร็ว โดยยังคงรักษากฎเกณฑ์ของหลักตัจวีด
  4. ตัดวีร : เป็นการอ่านที่อยู่ระหว่าง ตะห์กีก กับ ตะห์ดี

เทคนิคการอ่าน จัดอยู่ในศาสตร์ด้านวิทยากุรอาน ซึ่งแต่เดิมนั้นมีเทคนิคการอ่านถึง 10 รูปแบบด้วยกัน ซึ่งแต่ละเทคนิคนั้นได้มาจากนักอ่านกุรอานที่โด่งดัง ทุก ๆ การอ่านจะรายงานจากบรรดานักรายงานที่รายงานต่อ ๆ กันมาก่อนหน้าตน ในศาสตร์เทคนิคการอ่านนั้น จะอธิบายเกี่ยวกับการอ่านกุรอาน[ต้องการอ้างอิง]

ลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

  • บรรดานักอ่านทั้งเจ็ด
  • การบันทึกกุรอาน

อ้างอิง

  1. روایت حفص از قرائت عامی و دلایل ترجیح آن
  2. [1]
  3. «The Seven Qira'at of the Qur'an» เก็บถาวร 2017-10-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. {{cite web}}: Citation ว่างเปล่า (help)
  4. «مراتب تلاوت قرآن کریم: تحقیق ـ ترتیل ـ تدویر ـ تحدیر». باشگاه خبرنگاران جوان. {{cite web}}: Citation ว่างเปล่า (help)
Kembali kehalaman sebelumnya