Share to:

 

ขยะอวกาศ

Earth from space, surrounded by small white dots
ภาพขยะอวกาศที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์ แสดงภาพขยะอวกาศเมื่อมองจากวงโคจรสูงของโลก พื้นที่พบขยะอวกาศมากที่สุดมี 2 ที่ คือขยะอวกาศที่เป็นวงแหวน โคจรในวงโคจรพ้องคาบโลก กับกลุ่มเมฆขยะอวกาศที่อยู่ในวงโคจรต่ำของโลก

ขยะอวกาศ เป็นคำใช้เรียกวัตถุหมดอายุไขและไม่ได้ใช้งานที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยเฉพาะวัตถุไม่ได้ใช้ประโยชน์ที่โคจรรอบโลก ซึ่งอาจเป็น ยานอวกาศปลดระวาง วัตถุที่สลัดทิ้งระหว่างภารกิจขึ้นสู่อวกาศ นอกจากนี้ยังมี เศษซากของการชนกัน วัตถุที่เกิดการบุแตกสลาย ของเหลวแข็งตัวที่ถูกขับออกจากยานอวกาศหรืออนุภาคที่ไม่ถูกเผาไหม้จากเครื่องยนต์ ขยะอวกาศเป็นภัยอย่างหนึ่งของยานอวกาศ[1]

ขยะอวกาศเป็นผลกระทบภายนอกทางลบ มันสร้างต้นทุนภายนอกให้กับคนอื่นที่ต้องการปล่อยหรือใช้ยานอวกาศในบริเวณวงโคจรต่ำของโลก ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้มักไม่ถูกนำมาคำนวนในราคาที่ต้องจ่ายทั้งหมด[2][3]ของเจ้าของภารกิจปล่อยยานอวกาศ[4][5][6] หลายครั้งที่ยานอวกาศได้รับความเสียหายจากขยะอวกาศ[ต้องการอ้างอิง] การจัดการกับขยะอวกาศเหล่านี้มักจะเป็นองค์กรที่อยู่ในอุตสาหกรรมอวกาศ[7]

ในเดือนตุลาคม 2019 เครือข่ายการเฝ้าระวังทางอวกาศสหรัฐแจ้งว่ามีวัตถุอวกาศที่มนุษย์สร้างกว่า 20,000 ชิ้นโคจรอยู่เหนือโลก[8] (รวมดาวเทียมที่ปฏิบัติการอยู่ 2,218 ดวงด้วย)[9] ซึ่งวัตถุที่แจ้งมานี้เป็นแค่วัตถุขนาดใหญ่ที่สามารถระบุและติดตามได้ เดือนมกราคม 2019 มีการประมาณว่าขยะที่เล็กกว่า 1 เซนติเมตรน่าจะมีอยู่ราว 128 ล้านชิ้น ขยะที่มีขนาด 1-10 ซม. มีประมาณ 900,000 ชิ้น ส่วนที่มีขนาดใหญ่กว่า 10 เซนติเมตรน่าจะมีอยู่ราว 34,000 ชิ้น[7] ซึ่งวัตถุเล็ก ๆ เหล่านี้จะถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า MMOD (Micrometeoroid and Orbital Debris) ซึ่งหากเกิดการชนกับยานจะส่งผลให้เกิดปัญหาร้ายแรง วัตถุขนาดเล็กจะทำให้เกิดความเสียหายคล้ายถูกพ่นยิง มันจะทำให้เกิดความเสียหายมากให้กับบริเวณที่เป็นโซลาร์เซล กล้อง และเครื่องตามดาวที่ไม่มีอุปกรณ์ป้องกัน[10]

อ้างอิง

  1. "Guide to Space Debris". spaceacademy.net.au. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 August 2018. สืบค้นเมื่อ 13 August 2018.
  2. Coase, Ronald (October 1960). "The Problem of Social Cost" (PDF). Journal of Law and Economics (PDF). The University of Chicago Press. 3: 1–44. doi:10.1086/466560. JSTOR 724810. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 17 June 2012. สืบค้นเมื่อ 13 December 2019.
  3. Heyne, Paul; Boettke, Peter J.; Prychitko, David L. (2014). The Economic Way of Thinking (13th ed.). Pearson. pp. 227–28. ISBN 978-0-13-299129-2.
  4. Muñoz-Patchen, Chelsea (2019). "Regulating the Space Commons: Treating Space Debris as Abandoned Property in Violation of the Outer Space Treaty". Chicago Journal of International Law. University of Chicago Law School. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 December 2019. สืบค้นเมื่อ 13 December 2019.
  5. "'We've left junk everywhere': why space pollution could be humanity's next big problem". The Guardian. 26 March 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 November 2019. สืบค้นเมื่อ 28 December 2019.
  6. https://aerospaceamerica.aiaa.org/features/preventing-space-pollution/
  7. 7.0 7.1 "Space debris by the numbers" เก็บถาวร 6 มีนาคม 2019 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ESA, January 2019. Retrieved 5 March 2019
  8. "Satellite Box Score" (PDF). Orbital Debris Quarterly News. Vol. 23 no. 4. NASA. November 2019. p. 10. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 24 December 2019. สืบค้นเมื่อ 24 December 2019.
  9. "UCS Satellite Database". Nuclear Weapons & Global Security. Union of Concerned Scientists. 16 December 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 December 2019. สืบค้นเมื่อ 24 December 2019.
  10. "The Threat of Orbital Debris and Protecting NASA Space Assets from Satellite Collisions" (PDF). Space Reference. 2009. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-23. สืบค้นเมื่อ 18 December 2012.
Kembali kehalaman sebelumnya