ขี้ไก่ย่าน
ขี้ไก่ย่าน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Mikania micrantha) เป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว มีลักษณะเป็นไม้เลื้อย เติบโตได้ดีในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง แสงส่องถึง และมีความอุดมสมบูรณ์ของดินมาก สามารถปรับตัวได้แม้ว่าดินจะมีความอุดมสมบูรณ์น้อย เมล็ดสามารถกระจายได้ไกลโดยอาศัยลม ในการออกดอกหนึ่งครั้งสามารถผลิตเมล็ดได้จำนวนมากกว่า 20,000 - 40,000 เมล็ดโดยประมาณ[1] ประวัติขี้ไก่ย่าน มีถิ่นกำเนิดทางอเมริกาใต้ ไม่มีหลักฐานแน่นอนว่าได้แพร่ระบาดเข้ามาประเทศไทยตั้งแต่เมื่อใด [2] ลักษณะ
การรุกรานสถานการณ์การรุกรานในไทยขี้ไก่ย่านเป็นวัชพืชประเภทใบกว้างอายุหลายปี ลำต้นเป็นเถายาวเลื้อยคลุมพันธุ์ไม้อื่น พบขึ้นทั่วไปในสภาพดินชื้น แพร่กระจายในแหล่งปลูกพืชยืนต้นและที่รกร้างว่างเปล่า ลักษณะของความเสียหาย แก่งแย่งธาตุอาหารและน้ำ กับพืชปลูกและปกคลุมไม้ต้นหรือไม้พุ่มจนขาดแสงแดดและตายไป พบขี้ไก่ย่านได้ทั่วประเทศ ยังไม่มีการระบาดรุนแรง แต่พบมีการระบาดเล็กน้อย ในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้[2] สถานการณ์การรุกรานในต่างประเทศขี้ไก่ย่าน เป็นวัชพืชที่แพร่กระจายในเขตร้อน เติบโตอย่างรวดเร็ว และปกคลุมพืชชนิดอื่นๆ ในประเทศเนปาล ขี้ไก่ย่านบุกรุกเข้าไปในอุทยานแห่งชาติชิดวัน( Chitwan National Park) โดยขี้ไก่ย่านปกคลุมมากกว่า 20% ของพื้นที่อุทยาน ทำให้เกิดปัญหาต่อพืชชนิดอื่นในพื้นที่[1]มีการต่อต้านการแพร่กระจายของขี้ไก่ย่านในหลายๆประเทศ โดยการใช้ herbicides 2,4-D 2,4,5-T และ paraquat นอกจากนี้ยังมีการใช้ศัตรูตามธรรมชาติของขี้ไก่ย่านในรัฐอัสสัมและศรีลังกา เพื่อยับยั้งการแพร่กระจายของขี้ไก่ย่าน สาเหตุที่ถูกจัดเป็นสายพันธุ์รุกรานร้ายแรงเนื่องจากย่านขี้ไก่มักการแพร่กระจายพบขึ้นทั่วไปในสภาพดินชื้น และยังขึ้นเลื้อยคลุมพรรณไม้อื่นทำให้ไม้ได้รับผลกระทบจากการ ขาดแสงสว่างในการสังเคราะห์ด้วยแสง [2] อ้างอิง
|