คณะเบเนดิกติน
คณะนักบุญเบเนดิกต์ (ละติน: Ordo Sancti Benedicti; อังกฤษ: Order of Saint Benedict) นิยมเรียกกันว่า คณะเบเนดิกติน (Benedictine Order) (ค.ศ. 480 - ค.ศ. 547) เป็นคณะนักบวชคาทอลิกที่ใช้ชีวิตอารามวาสีตามหลักวินัยของนักบุญเบเนดิกต์ นักพรตในคณะนี้จะอาศัยอยู่ร่วมกันในคริสต์ศาสนสถานที่เรียกว่าอาราม (บางอารามเรียกว่าแอบบีย์หรือไพรออรี) ซึ่งแต่ละอารามจะปกครองตนเองเป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่ออารามอื่น ๆ มีสมาพันธ์เบเนดิกตินซึ่งสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 13 ทรงตั้งขึ้นเพื่อเป็นองค์การปกครองคณะในระดับสากล มีอธิการไพรเมตเป็นประธานสมาพันธ์ ประวัติหลังจากที่เบเนดิกต์ได้บำเพ็ญพรต อธิษฐานภาวนา อ่านคัมภีร์ไบเบิล และอดอาหาร ได้ระยะหนึ่งก็มีผู้ศรัทธาหลายคนสนใจขอร่วมบำเพ็ญตามแนวทางของท่าน เบเนดิกต์จึงได้ก่อตั้งอารามขึ้น 12 แห่ง แต่ละแห่งมีนักพรต 12 รูป มีอธิการเป็นหัวหน้าอาราม อธิการแต่ละคนขึ้นตรงต่อเบเนดิกต์ซึ่งขณะนั้นท่านมีอายุได้เพียง 25 ปีเท่านั้น ต่อมามีบาทหลวงคนหนึ่งในโบสถ์ใกล้อารามเกิดริษยาจึงหาทางแกล้งท่านต่าง ๆ นา ๆ จนท่านต้องย้ายไปบำเพ็ญพรตที่ภูเขากัสซีโน (Cassino) พร้อมกับศิษย์จำนวนหนึ่ง ที่นี่ท่านได้ตราวินัยของนักบุญเบเนดิกต์ขึ้นเพื่อเป็นระเบียบและแนวทางของผู้ที่จะใช้ชีวิตอารามวาสี[1] ต่อมานักพรตในคณะได้หันไปทำงานด้านการประกาศข่าวดีด้วย และประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี เช่น นักบุญแพทริก มิชชันนารีประจำไอร์แลนด์ นักบุญโคลัมบานุสมิชชันนารีประจำฝรั่งเศส นักบุญออกัสตินแห่งแคนเทอร์เบอรีมิชชันนารีประจำอังกฤษ เป็นต้น ทำให้คณะเบเนดิกตินเริ่มหันมาพัฒนาความสามารถด้านการศึกษาด้วย มีการบวชสมาชิกของคณะเป็นบาทหลวง มีการตั้งห้องสมุด พิมพ์หนังสือ เพื่อใช้ค้นคว้าและเผยแพร่ในการประกาศศาสนา[1] สมาชิกที่มีชื่อเสียง
อ้างอิงแหล่งข้อมูลอื่น
|