คราฟต์เบียร์คราฟต์เบียร์ (อังกฤษ: craft beer) หรือ เบียร์ฝีมือ เป็นเบียร์ที่ผลิตโดยโรงเบียร์ขนาดเล็ก หรือ โรงเบียร์ฝีมือซึ่งเป็นโรงเบียร์ที่ผลิตเบียร์ในปริมาณน้อย และส่วนใหญ่เป็นโรงเบียร์ของผู้ประกอบการรายย่อย ในการทำการตลาดของคราฟต์เบียร์จะอยู่ในรูปของเบียร์เฉพาะถิ่น หรือเฉพาะรสชาติ หรือแม้แต่เทคนิคในการหมักเบียร์ที่ไม่ซ้ำกับเบียร์ทั่วไป[1][2][3] โรงเบียร์ขนาดเล็กเริ่มเป็นที่นิยมในสหรัฐอเมริกาและในสหราชอาณาจักรในช่วงปี 1970s[4][5] ถึงแม้ว่าเบียร์พื้นถิ่นจะนิมีการผลิตมานานกว่าร้อยปีก็ตาม หลังจากที่เริ่มมีความนิยมในคราฟต์เบียร์นั้นเริ่มมีการขยายตัวของคราฟต์เบียร์ไปตามผับที่จะเป็นสถานที่ที่สามารถหาเบียร์เฉพาะนั้นได้จากร้านใดร้านหนึ่งโดยเฉพาะ คราฟต์เบียร์ในประเทศไทยการผลิตคราฟต์เบียร์ขายในประเทศไทยยังเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ยากและไม่สามารถจำหน่ายให้สอดคล้องกับ พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิตได้ ทำให้ผู้ผลิตรายย่อยต้องการผลักดันในการร่างแก้ไขพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต เพื่อสามารถผลิตและจำหน่ายคราฟต์เบียร์ได้ ภายใต้ชื่อเรียก " ร่าง พ.ร.บ.สุราก้าวหน้า"[6] โดยไม่กำหนดทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ และไม่กำหนดกำลังการผลิตต่อปี เป็นต้น[7] ในประเทศไทยมีโรงเบียร์ ไทย สพิริท อินดัสทรี จำกัด เป็นโรงงานผลิตเบียร์ขนาดใหญ่ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่ได้รับผลิตคราฟต์เบียร์ส่งจำหน่ายในลักษณะของ OEM ที่ผลิตในโรงงานและใช้ชื่อตามที่ผู้จัดจำหน่ายต้องการ โดยคราฟต์เบียร์ที่เป็นที่รู้จัก อาทิ Phitlok IPA, TAOPIPHOP (เท่าพิภพ)[8] ราเวน, มหานคร, เชียงใหม่, ภูเก็ต, พัทยา, หัวหิน เป็นต้น[9] โดยคราฟต์เบียร์ไทย ได้รางวัลระดับนานาชาติ หลายแบรนด์ อาทิ M๓๒ IPA,[10] ราเวน, [11] มหานคร [12] อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น |