Share to:

 

ครีบยัน

ครีบยันใช้ที่โบสถ์เมียงโอ ประเทศฟิลิปปินส์
ครีบยันที่ใช้ที่มหาวิหารเบเวอร์ลีย์ในอังกฤษซึ่งเป็นครีบยันทึกผสมกับครีบยันแบบปีกที่กางออกไปจากตัวสิ่งก่อสร้าง

ครีบยัน[1] (อังกฤษ: buttress) คือวัสดุหรือส่วนของโครงสร้างที่ใช้พยุง รับน้ำหนัก ยึด วัตถุ สิ่งของ หรือโครงสร้าง ให้มีความแข็งแรง มีเสถียรภาพในการคงอยู่ ไม่ล้ม หรือพังทลาย

ครีบยันประเภทต่าง ๆ

  • ในการก่อสร้างอาคาร ครีบยันจะใช้เป็นเสาชั่วคราวในการรับน้ำหนักของไม้แบบเพื่อการก่อสร้างโครงสร้างส่วนบน ซึ่งมักจะเป็นไม้หรือโลหะ
  • ในการขุดดินที่มีบริเวณกว้างและมีความลึกมาก ครีบยันจะเป็นส่วนของโครงสร้างชั่วคราว เพื่อใช้เป็นตัวยึดเสาเข็มเหล็กให้มีเสถียรภาพ มั่นคง แข็งแรง ไม่พังทลายจากแรงดันดิน วัสดุที่ใช้มักจะเป็นเหล็ก
  • ครีบยันในโครงหลังคาเหล็กหรือไม้ ที่เป็นโครงถัก คือชิ้นส่วนที่อยู่ทแยงระหว่างชิ้นส่วนในแนวดิ่งและแนวราบ
  • สำหรับเรือนไทย ไม้ครีบยันหรือไม้เท้าแขน จะใช้รองรับชายคาที่ยื่นออกมาจากตัวอาคาร ครีบยันสำหรับอาคารทางสถาปัตยกรรมไทย อื่น ๆ เช่น โบสถ์ วัด วิหาร จะเรียกว่า คันทวย
  • ในด้านการเกษตรกรรมและภูมิสถาปัตยกรรม ไม้ค้ำยันจะใช้พยุงต้นอ่อนของพันธุ์ไม้ต่าง ๆ เพื่อให้พันธุ์ไม้เหล่านั้นตั้งตรง ไม่ล้ม และคงอยู่ได้
  • ฯลฯ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมศัพท์สถาปัตยกรรมศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2554, หน้า 25.
Kembali kehalaman sebelumnya