Share to:

 

คลองไผ่สิงโต

คลองไผ่สิงโต

คลองไผ่สิงโต เป็นคลองขุด เป็นทางน้ำเล็ก ๆ คู่ขนานกับซอยไผ่สิงโตในช่วงต้นซอย คลองนี้จะเชื่อมจากคลองจากถนนอโศกมนตรีลงมาหน้าตลาดคลองเตยผ่านลงเชื่อมต่อคลองหัวลำโพง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้ขุดตามพระราโชบายพัฒนาพื้นที่ลุ่มทางด้านตะวันออกของพระนคร ให้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ตามแนวคิดแบบตะวันตกของกระทรวงเกษตราธิการ[1] ขุดขึ้นเพื่อทดน้ำเข้าพื้นที่ของกรมพระคลังข้างที่ นอกจากนี้ยังช่วยทำให้สวนหม่อนของกองช่างไหมและโรงเรียนราชวิทยาลัยมีน้ำจืดใช้ โดยขุดตั้งแต่คลองพระราชดำริ (ถนนราชดำริ) ทะลุคลองเตยยาว 100 เส้น ปากกว้าง 4 วา พื้นคลองกว้าง 10 ศอก ลึก 3 คืบ[2] ขุดเมื่อ พ.ศ. 2446 แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2447 ใช้แรงงานชาวจีนขุด

ส่วนสุดท้ายที่จะไปเชื่อมกับคลองเตยนั้น คงหายไปเมื่อมีการก่อสร้างถนนรัชดาภิเษก เช่นเดียวกับคลองเตยที่ติดแม่น้ำเจ้าพระยา น่าจะถูกถมเมื่อตอนก่อสร้างท่าเรือ จนเหลือเพียงส่วนปลายคลองทางทิศเหนือ ที่ไปเชื่อมกับคลองไผ่สิงโต

สภาพคลองไผ่สิงโต ในปัจจุบันมีสภาพเน่าและเหม็นมาก มีบ้านเรือนรุกล้ำบางจุด[3] มีชุมชนริมคลองไผ่สิงห์โต มีประวัติการตั้งชุมชนมาตั้งแต่ปี 2500 หรือก่อนนั้น ที่ตั้งของชุมชนอยู่บนคันเขื่อนกั้นขอบแนวคลองไผ่สิงโต เริ่มแรกมีผู้เข้ามาอยู่อาศัยบริเวณนี้ประมาณ พ.ศ. 2529 ระยะแรกมีบ้านเพียง 5 หลัง ต่อมาในช่วงปี 2536 เริ่มมีการปรับปรุงสภาพบ้านในชุมชนให้ดูดีขึ้น แต่ยังไม่จดทะเบียนเป็นชุมชนกับเขตคลองเตย ซึ่งต่อมาประชาชนได้รวมตัวกันเองและได้รับการประกาศเป็นชุมชนตามระเบียบของกรุงเทพมหานคร เมื่อ พ.ศ. 2540[4]

อ้างอิง

  1. ปริญญา ตรีน้อยใส. "คลองไผ่สิงโต". มติชนสุดสัปดาห์.
  2. ศิริวัฒน์ สาระเขตต์. "การเปลี่ยนแปลงทางน้ำที่ส่งผลต่อรูปแบบเมืองกรุงเทพฯ" (PDF). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์. p. 40.
  3. "ชัชชาติ พาสูดกลิ่น 'คลองไผ่สิงโต' บอกเหม็นมาก ต้องลอกด่วน! พร้อมปรับระบบระบายน้ำ". มติชน.
  4. "ชุมชนริมคลองไผ่สิงห์โต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-09-10. สืบค้นเมื่อ 2022-09-10.
Kembali kehalaman sebelumnya