Share to:

 

คำอุปสรรคเอสไอ

คำอุปสรรคเอสไอระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ (SI) ได้กำหนดชุดคำอุปสรรค ซึ่งรู้จักกันว่า คำอุปสรรคเอสไอ หรือ คำอุปสรรคเมตริก คำอุปสรรคเอสไอเป็นคำนำหน้าหน่วยวัดพื้นฐานเพื่อแสดงการคูณหรือเศษส่วนเลขฐานสิบของหน่วยนั้น คำอุปสรรคแต่ละคำนั้นจะมีสัญลักษณ์เฉพาะตัวซึ่งเขียนหน้าสัญลักษณ์ของหน่วยพื้นฐานได้เช่นกัน คำอุปสรรคเอสไอได้รับการวางมาตรฐานโดยสำนักงานชั่งตวงวัดระหว่างประเทศในมติระหว่าง ค.ศ. 1960 ถึง 1991[1] การใช้คำเหล่านี้ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแต่หน่วยเอสไอและคำอุปสรรคหลายคำพบมีใช้ตั้งแต่ระบบเมตริกเพิ่งถือกำเนิดขึ้นใน ค.ศ. 1790

รายการคำอุปสรรค

ปัจจุบัน ในหน่วย SI กำหนดคำอุปสรรคไว้ 24 ตัว ดังนี้

คำอุปสรรค สัญลักษณ์ ตัวคูณ แฟคเตอร์
เควตตะ- (quetta-) Q- 1030 1,000,000,000,000,000,000,000,000,000,000
รอนนะ- (ronna-) R- 1027 1,000,000,000,000,000,000,000,000,000
ยอตตะ- (yotta-) Y- 1024 1,000,000,000,000,000,000,000,000
เซตตะ- (zetta-) Z- 1021 1,000,000,000,000,000,000,000
เอกซะ- (exa-) E- 1018 1,000,000,000,000,000,000
เพตะ- (peta-) P- 1015 1,000,000,000,000,000
เทระ- (tera-) T- 1012 1,000,000,000,000
กิกะ-/จิกะ- (giga-) G- 109 1,000,000,000
เมกะ- (mega-) M- 106 1,000,000
กิโล- (kilo-) k- 103 1,000
เฮกโต- (hecto-) h- 102 100
เดคา- (deca-) da- 101 10
เดซิ- (deci-) d- 10-1 0.1
เซนติ- (centi-) c- 10-2 0.01
มิลลิ- (milli-) m- 10-3 0.001
ไมโคร- (micro-) μ- 10-6 0.000 001
นาโน- (nano-) n- 10-9 0.000 000 001
พิโค- (pico-) p- 10-12 0.000 000 000 001
เฟมโต- (femto-) f- 10-15 0.000 000 000 000 001
อัตโต- (atto-) a- 10-18 0.000 000 000 000 000 001
เซปโต- (zepto-) z- 10-21 0.000 000 000 000 000 000 001
ยอกโต- (yocto-) y- 10-24 0.000 000 000 000 000 000 000 001
รอนโต- (ronto-) r- 10-27 0.000 000 000 000 000 000 000 000 001
เควกโต- (quecto-) q- 10-30 0.000 000 000 000 000 000 000 000 000 001

การใช้งานทั่วไป

การใช้งานทั่วไป คือ เมื่อเห็นคำอุปสรรค แล้วต้องการแปลงกลับเป็นตัวเลขของหน่วยเดิม ให้คูณด้วยค่าแฟกเตอร์ที่กำหนดไว้ เช่น 5 กิโลเมตร = 5 X 1,000 (แฟกเตอร์ของกิโล) = 5,000 เมตร

คำอุปสรรคเอสไอใช้เพื่อลดจำนวนเลขศูนย์ที่แสดงในจำนวนที่เป็นตัวเลข ยกตัวอย่างเช่น กระแสไฟฟ้า 0.000 000 004 แอมแปร์ หรือสี่ในพันล้านของแอมแปร์ จะเขียนแทนด้วยคำอุปสรรคที่เหมาะสม ในกรณีนี้คือ นาโน- (nano-) เป็น 4 นาโนแอมแปร์ (1nA) ซึ่งเมื่อคูณ 4 กับแฟกเตอร์ของนาโนเข้าไป ก็จะได้ค่าเดิมออกมา

ในการคำนวณ คำอุปสรรค จะสามารถบวกหรือลบกันได้ แต่ไม่สามารถคูณหรือหารกันได้ เช่น โดยปกติแล้ว กำลัง (วัตต์) = กระแส (แอมแปร์) * แรงดันไฟฟ้า (โวลต์) แต่ 5 มิลลิแอมแปร์ คูณ 2 มิลลิโวลต์ ไม่เท่ากับ 10 มิลลิวัตต์ เพราะการคูณ จำเป็นต้องแยกตัวคูณของคำอุปสรรคออก และร่วมคูณเข้าด้วยกันก่อน คือต้องเป็น 5x10-3 X 2x10-3 = 10x10-3-3 (คูณเลขธรรมดาแยกกับคูณตัวคูณคำอุปสรรค การคูณคำอุปสรรคจะจับเลขยกกำลังรวมกัน ในที่นี้ -3 รวมกับ -3 ได้ -6) = 10x10-6 = 10 ไมโครวัตต์

อ้างอิง

Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9

Portal di Ensiklopedia Dunia

Kembali kehalaman sebelumnya