Share to:

 

จักรวาล

การแกะลายแบบ Flammarion, กรุงปารีส ค.ศ. 1888

จักรวาล (อังกฤษ: cosmos, UK: /ˈkɒzmɒs/, US: /ˈkɒzms/) คือ เอกภพซึ่งอยู่ในรูปแบบที่ซับซ้อนและเป็นระบบระเบียบ เป็นสิ่งที่ตรงข้ามกับความยุ่งเหยิง (chaos)[1] นักปรัชญา พีทาโกรัส ใช้คำว่า จักรวาล (cosmos) (กรีกโบราณ: κόσμος) เพื่อกล่าวถึงความเป็นระเบียบของเอกภพ ทว่าคำนี้ไม่ถูกใช้ในภาษาสมัยใหม่จนคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อนักภูมิศาสตร์ อเล็กซันเดอร์ ฟอน ฮุมโบลท์ ได้นำคำนี้จากกรีกโบราณกลับมาใช้อีกครั้ง ในชุดหนังสือของเขา Kosmos ซึ่งส่งผลกระทบต่อมุมมองสมัยใหม่องค์รวม ที่มองเอกภพเป็นสิ่งสิ่งเดียวซึ่งปฏิสัมพันธ์กัน[2][3]

จักรวาลวิทยา

จักรวาลแบบโบราณสมัยกลางซึ่งถูกวาดไว้ในหนังสือ Cosmographia ของ Peter Apian (Antwerp, ค.ศ. 1539).

จักรวาลวิทยา คือ การศึกษาเกี่ยวกับจักรวาลในความหมายต่าง ๆ ตามบริบท จักรวาลวิทยาทั้งหมดมีเป้าหมายเดียวกัน คือการพยยามทำความเข้าใจ ระเบียบอันเป็นนัยในการเป็นอยู่ทั้งหมด ศาสนาและระบบปรัชญาส่วนใหญ่มีจักรวาลวิทยาในรูปแบบนี้

จักรวาลวิทยา คือ สาขาหนึ่งในอภิปรัชญา ซึ่งอธิบายเกี่ยวกับธรรมชาติของเอกภพ ทฤษฎีหรือหลักซึ่งกล่าวถึงระเบียบตามธรรมชาติของเอกภพ[4] ความหมายพื้นฐานของจักรวาลวิทยา คือวิทยาศาสตร์ของจุดกำเนิดและการพัฒนาของเอกภพ ในดาราศาสตร์สมัยใหม่ทฤษฎีบิกแบงเป็นสมมุติฐานที่มีคนสนับสนุนมากที่สุด

ดูเหมือนว่า จากสิ่งนี้ รวมไปถึงจากข้อความในหนังสือเล่มแรก (จาก Philolaus) ของผลงานเกี่ยวกับการเริ่มต้นและการเรียงตัวของเอกภพ หนังสือเล่มที่สองเหมือนจะเป็นการอธิบายถึงธรรมชาติของเลข ซึ่งเป็นแก่นของทุกสิ่งทุกอย่างในปรัชญาของพีธาโกรัส (หน้า 305)

ในจักรวาลวิทยาเชิงกายภาพ คำว่า จักรวาล มักถูกใช้ในทางเฉพาะ เพื่อกล่าวถึงภาวะต่อเนื่องของปริภูมิ-เวลา ใน (สมมุติฐาน) พหุภพ โดยจักรวาลของพวกเรา หรือ เอกภพที่สังเกตได้ มักถูกเขียนโดยใช้อักษรตัวพิมพ์ใหญ่นำหน้า (Cosmos)

ชาลส์ ปีเตอร์ เมสัน อ้างว่า ปรัชญาของพีธาโกรัสกล่าวถึงเอกภพดังภาพ[5]

ข้อความจากหนังสือของพีทาโกรัสที่ชื่อว่า Philolaus (โดย Charles Peter Mason ค.ศ. 1870)

เทววิทยา

ในเทววิทยา จักรวาลถูกสร้างบนดวงดาวต่าง ๆ (ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ และดวงดาว) ในเทววิทยาศาสนาคริสต์ คำนี้ถูกใช้ในความหมายเดียวกับคำว่า aion[6] เพื่อกล่าวถึง "ชีวิตซึ่งเจนโลก" หรือ "โลกใบนี้" หรือ "ยุคนี้" ใช้ในทางตรงข้ามกับ "ชีวิตหลังความตาย" (afterlife) หรือ "โลกที่กำลังจะมาถึง" (World to Come)

อ้างอิง

  1. Definition in Merriam-Webster dictionary
  2. von Humboldt, Alexander (1860). Cosmos: a sketch of a physical description of the universe. Vol. 1. E. O. Otté (trans.). New York: Harper & Brothers. p. 69.
  3. Walls, L. D. (2009). "Introducing Humboldt's Cosmos". Minding Nature. August: 3–15.
  4. cosmology - Merriam-Webster.
  5. Sir William Smith (1870). Dictionary of Greek and Roman biography and mythology. p. 305.
  6. "Concerning Aion and Aionios". Saviour of All Fellowship. สืบค้นเมื่อ 22 April 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya