ฉมวกเพชร ช่อชะมวง |
---|
เกิด | วิเชียร บุตรดี 10 ตุลาคม พ.ศ. 2505 (62 ปี) |
---|
ฉมวกเพชร ช่อชะมวง หรือ ฉมวกเพชร ห้าพลัง เป็นอดีตยอดมวยไทยและอดีตนักมวยอาชีพ ฉมวกเพชร สร้างสถิติคว้าเข็มขัดของสนามมวยลุมพินีและสนามมวยราชดำเนินรวม 9 เส้น จาก 7 รุ่นน้ำหนัก และยังคงเป็นสถิติจนถึงปัจจุบัน เขาชกที่กรุงเทพฯ ในช่วงปลายทศวรรษ 2510 ถึงกลางทศวรรษ 2530 และต่อมาได้ชกที่ญี่ปุ่น ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นผู้ฝึกสอนมวยไทยที่มีชื่อเสียง
ในช่วงทศวรรษที่ 2510 ถึง 2520 ในสมัยเป็นนักมวยวัยรุ่น เขาเป็นมวยลูกผสมระหว่างมวยบุกกับมวยเข่า ความสามารถในการโจมตีด้วยเข่าของเขาทำให้ได้รับฉายาว่า "ขุนเข่าคอมพิวเตอร์" จากสื่อมวลชน ในช่วงทศวรรษที่ 2530 เมื่อฉมวกเพชรอายุมากขึ้น เพื่อนสนิทของเขาอย่างสามารถ พยัคฆ์อรุณ ได้ฝึกให้เขากลายเป็นมวยฝีมือที่ประสบความสำเร็จ ทำให้ได้รับสมญานามจากสื่อมวลชนว่า พ่อบานไม่รู้โรย
ประวัติ
วิเชียร บุตรดี เกิดที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2505 เขาได้รับแรงบันดาลใจในการฝึกมวยไทยจากการดูพี่ชายคือ เคลย์น้อย รัศมีจันทร์ ฝึกที่ค่ายส.วรกุลชัย ของครูบุญเลิศ ศรีวรกุล ต่อมาได้รับการฝึกฝนจากดีเซลน้อย ช.ธนะสุกาญจน์ นักมวยชื่อดังที่ฝึกอยู่ที่ค่าย ส.วรกุลชัย ในขณะนั้นด้วย จึงทำให้ดีเซลน้อยกลายเป็นพี่เลี้ยง เพื่อนร่วมค่าย และเพื่อนสนิท[1] หลังจากใช้ชื่อบนเวทีว่า "ฉมวกเพชร ส.วรกุลชัย" ตามที่ดีเซลน้อยแนะนำ เขาจึงเริ่มชกมวยไทยเมื่ออายุ 11 ปีในละแวกบ้านของเขา[2] ก่อนจะมาเป็นยอดมวยที่กรุงเทพฯ เขาก็ขึ้นชกที่เมืองชลบุรีและพัทยาจนหมดคู่ต่อสู้ เขาเดินทางไปชกที่ขอนแก่นเป็นเวลา 2-3 ปี[3]
หลังจากนั้นได้เดินทางไปกรุงเทพฯ พร้อมกับเคลย์น้อย รัศมีจันทร์ พี่ชาย เขาได้ขึ้นชกครั้งแรกที่กรุงเทพฯ ที่สนามมวยราชดำเนิน เมื่อปลายปี 2521 เขาได้แชมป์ครั้งแรกในรุ่นพินเวทเมื่ออายุ 17 ปี โดยเอาชนะนักมวยชื่อดังอย่างสามารถ พยัคฆ์อรุณ ด้วยการชนะคะแนน ในปี 2523 เขากับสามารถชกกันอีก 2 ครั้ง ส่งผลให้ทั้ง 2 คนกลายเป็นเพื่อนสนิทกัน[3] และสามารถจะมาช่วยเทรนให้กับฉมวกเพชรในวันที่เข้ามาให้กำลังใจในสนามมวย
สไตล์การชก
ในช่วงปี 2510 ถึง 2520 ฉมวกเพชร เป็นนักมวยลูกผสมระหว่างมวยบุกและมวยเข่า ซึ่งหมายความว่าเขาเป็นนักมวยที่ใช้การชกที่หลากหลาย โดยเฉพาะการตีเข่า มวยเข่าส่วนใหญ่อาศัยกำลังในการตีเข่า แต่ฉมวกเพชรเปลี่ยนรูปแบบการตีเข่าเข้าที่กระดูกสันอกของคู่ต่อสู้[4] ฉมวกเพชรจึงได้ฉายาว่า "ขุนเข่าคอมพิวเตอร์" ในช่วงต้นทศวรรษที่ 2520 ในช่วงเวลานี้เขายังได้รับการขนานนามว่าเป็น 1 ใน 3 ของนักมวยที่มีลูกถีบที่ดีที่สุดในประเทศไทย อีก 2 คน ได้แก่ สามารถ พยัคฆ์อรุณ และชาญชัย ส.ธรรมรังสี[5][6]
ฉมวกเพชรได้รับการอธิบายว่ามี "จิตใจที่แข็งแกร่ง" ซึ่งหมายความว่าเขามีคางที่แข็งแรงและมีร่างกายที่ทนทานซึ่งเหมาะกับสไตล์มวยบุกของเขา สามารถ พยัคฆ์อรุณ อดีตคู่ต่อสู้และเพื่อนสนิท แนะฉมวกเพชร หยุดรับความเสียหายโดยไม่จำเป็นหากต้องการเป็นนักมวยไทยต่อไป สามารถสอนให้ฉมวกเพชรเปลี่ยนรูปแบบการชกเป็นมวยฝีมือ โดยฉมวกเพชรจะพิงหลังกับเชือกของเวที และต่อยเมื่อจำเป็นเท่านั้น[5][7]
แม้ว่าสไตล์ของเขาจะเปลี่ยนไปอย่างมาก แต่ฉมวกเพชรก็ยังคงรักษาลูกถีบและเข่าตรงเอาไว้ ฉมวกเพชรใช้ประโยชน์จากสไตล์การชกใหม่คว้าเข็มขัดเพิ่มอีก 2 เส้นใน 2 รุ่นน้ำหนัก ลูกถีบและเข่าเป็นเทคนิคที่เขาชื่นชอบ[8]
ช่วงรุ่งโรจน์และบั้นปลายอาชีพ
ฉมวกเพชร และดีเซลน้อย ย้ายจากค่ายส.วรกุลชัยไปยังค่ายห้าพลังในช่วงทศวรรษ 2520 จากนั้นพวกเขาก็กลายเป็นเพื่อนร่วมค่ายกับพนมทวนเล็ก ห้าพลัง ซึ่งเป็นยอดมวยเข่าเช่นเดียวกับพวกเขา ทั้ง 3 คนยังใช้ชื่อ ส.ศิรินันท์ ของ สมชาย ดวงประเสริฐดี หรือ เฮียกวง และค่าย ส.ธนิกุล ของแคล้ว ธนิกุล หรือ เฮียเหลา แต่ส่วนใหญ่จะฝึกที่ค่ายห้าพลัง[1][9] ในปี 2528 ฉมวกเพชร คว้ารางวัลนักมวยยอดเยี่ยมแห่งปีของสมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย[10]
เขาเผชิญหน้ากับคู่ต่อสู้ที่ดีที่สุดในรุ่นน้ำหนักที่เขาอยู่อย่างต่อเนื่อง[11] เช่น 2 พี่น้อง สามารถ และก้องธรณี พยัคฆ์อรุณ, โอเล่ห์ เกียรติวันเวย์, หมัดสากเหล็ก สำราญศักดิ์ เมืองสุรินทร์, เจริญทอง เกียรติบ้านช่อง, หมัด 33 วิ วังจั่นน้อย ส.พลังชัย ฯลฯ ในการชกไฟต์แรกกับขุนเข่าไร้น้ำใจ หลังสวน พันธ์ยุทธภูมิ ในศึกวันทรงชัย เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2531 ที่สนามมวยลุมพินี ชัยวัฒน์ “โหงว” พลังวัฒนะกิจ หรือ “โหงว ห้าพลัง” ผู้จัดการของเขาถูกยิงเสียชีวิตขณะชมเขาชก[12]
หลังจากแขวนนวม ฉมวกเพชร ได้ก่อตั้งยิมมวยไทยในโตเกียว และกลายเป็นผู้ฝึกสอนมวยไทยที่มีชื่อเสียงในประเทศ พร้อมด้วยอดีตนักมวยไทยอีกหลายคน[11][8] เขาชกในระบบการให้คะแนนและกติกาของมวยไทย อย่างน้อย 200 ไฟต์[13][7]
เกียรติประวัติ
- แชมป์มวยไทย
- แชมป์มวยไทยเวทีมวยลุมพินีรุ่นพินเวท ชนะคะแนน สามารถ พยัคฆ์อรุณ เมื่อ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2523
- แชมป์มวยไทยเวทีมวยราชดำเนินรุ่นมินิมั่มเวท ชนะคะแนน เขี้ยวพิษ ชูวัฒนะเมื่อ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2523
- แชมป์มวยไทยเวทีมวยลุมพินีรุ่นมินิมั่มเวท ชนะคะแนน น่ารัก ศิษย์ไกรสีห์ เมื่อ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2524
- แชมป์มวยไทยเวทีมวยลุมพินีรุ่นฟลายเวท ชนะคะแนน ก้องธรณี พยัคฆ์อรุณ เมื่อ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2525
- แชมป์มวยไทยเวทีมวยลุมพินีรุ่นแบนตัมเวท ชนะคะแนน ศรศิลป์ ศิษย์เนินพะยอม เมื่อ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2526
- แชมป์มวยไทยเวทีมวยราชดำเนินรุ่นซูเปอร์แบนตั้มเวท ชนะคะแนน วันพิชิต แก่นนรสิงห์ เมื่อ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 และได้ครองแชมป์เส้นนี้อีกสมัยเมื่อ 30 มีนาคม พ.ศ. 2537 ชนะคะแนน ไผ่แดง เลอศักดิ์ยิม
- แชมป์มวยไทยเวทีมวยราชดำเนินรุ่นเฟเธอร์เวท ชนะคะแนน แจ๊ค เกียรตินิวัฒน์ เมื่อ 29 มีนาคม พ.ศ. 2533 และได้ครองแชมป์เส้นนี้อีกสมัยเมื่อ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 ชนะน็อค ชาญเดช เกียรติชัยสิงห์ ยก 3
- แชมป์ PABA รุ่นเฟเธอร์เวท
- ชิง 1 พฤษภาคม 2540 ชนะคะแนน เบนจี้ ดูรัน (ฟิลิปปินส์) ที่ เวทีมวยราชดำเนิน แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 1, 24 กรกฎาคม 2540 ชนะน็อค เซลวิน เคอร์รี่ (ออสเตรเลีย) ยก 11 ที่ โรงเรียนปากเกร็ด ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 2, 23 ตุลาคม 2540 ชนะคะแนน เซริกซาน เอซมากัมเบตอฟ (คาซัคสถาน) ที่ พระรามเก้า พลาซ่า สาขาพระราม 3 แขวงบางโคล่ เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 3, 18 มกราคม 2541 ชนะน็อค การ์รี่ กาเรย์ (ฟิลิปปินส์) ยก 7 ที่ จ.เพชรบุรี
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 4, 6 เมษายน 2541 ชนะน็อค ร็อบบี้ ราแฮมเมตัน (อินโด) ยก 5 ที่ จ.ราชบุรี
- ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 5, 28 สิงหาคม 2541 ชนะน็อค ปาร์ค ยังซู (เกาหลีใต้) ยก 2 ที่ จ.ราชบุรี
- กันยายน 2541 สละแชมป์
- นักมวยไทยยอดเยี่ยมของสมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2528
ชื่อในการชกมวยอื่น ๆ
- ฉมวกเพชร ห้าพลัง
- ฉมวกเพชร ส.ศิรินันท์
(มวยไทย)
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 "Dieselnoi Walks Us Through Muay Thai History | All the Great Fighters of Thailand". Muay Thai Blog & Journalism | Sylvie von Duuglas-Ittu (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-12-13.
- ↑ Rattanachanta, Tassanathep (15 Aug 2022). "ราชาเข็มขัด : ฉมวกเพชร ห้าพลัง ยอดมวยราชดำเนินผู้ไร้เทียมทานจนได้ฉายา "พ่อบานไม่รู้โรย" | Main Stand". Mainstand. สืบค้นเมื่อ 2023-12-13.
- ↑ 3.0 3.1 ยกที 6 [Round 6] (Television production) (ภาษาThai). Channel 7 (Thailand). 1995.
{{cite AV media}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
- ↑ von Duuglas-Ittu, Sylvie; Bootdee, Vichean (Apr 11, 2020), Chamuakpet Hapalang - Evil Vertical Knee and Rising Up | Muay Thai Library (trailer) (ภาษาอังกฤษ), สืบค้นเมื่อ 2023-12-29
- ↑ 5.0 5.1 "English trans: Paidaeng Lergsakgym vs Chamuakpet Hapalong 1994 | 122 lb Rajadamnern Belt", Yod Muay Ek (ภาษาThai), May 26, 2020, สืบค้นเมื่อ 2023-12-29
{{citation}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
- ↑ "ฉมวกเพชร ธ.ยืนยง ปะทะ แจก เกียรตินิวัฒน" [Chamuakpet Thor.Yinyong vs. Jack Kiatniwat], Yod Muay Ek (ภาษาThai), สืบค้นเมื่อ 2023-12-29
{{citation}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
- ↑ 7.0 7.1 ฉมวกเพชร ห้าพลัง-พ่อบานไม่รู้โรย. Sportclassic (ภาษาthai). 2013-09-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-04. สืบค้นเมื่อ 2017-11-05.
{{cite web}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
- ↑ 8.0 8.1 Trefeu, Serge (2012-01-01). "CHAMUAKPET HA PHALANG". SIAM FIGHT MAG (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2023-12-13.
- ↑ von Duuglass-Ittu, Sylvie; von Duuglass-Ittu, Kevin (Apr 8, 2020), Watch With Me - Chamuakpet vs Langsuan 2x and the Murder at the Ring (ภาษาอังกฤษ), สืบค้นเมื่อ 2023-12-29
- ↑ Trefeu, Serge (2013-05-25). "THE TROPHIES OF MUAY THAI IN THAILAND". SIAM FIGHT MAG (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2023-12-29.
- ↑ 11.0 11.1 123 Greatest Muay Thai Fighters of All-time (ภาษาThai). Thai: Yod Muay Muang Siam. 2014. p. 155. สืบค้นเมื่อ 2 September 2021.
{{cite book}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
- ↑ ปิดฉาก "จุงไช้" มังกรเยาวราชมือพิฆาต "ซิตี๋" คู่บารมี "เฮียเหลา". Manager Online (ภาษาthai). 2014-10-30. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-01. สืบค้นเมื่อ 2017-11-06.
{{cite web}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
- ↑ เสือเหลือง. ฉีกซองตอบปัญหามวยโลก. นิตยสารมวยโลก. ปีที่ 23 ฉบับที่ 1427 11-17 มกราคม พ.ศ. 2557. หน้า 58-59 (ในภาษาไทย)
แหล่งข้อมูลอื่น