ชัยวัฒน์ ไกรฤกษ์
ชัยวัฒน์ ไกรฤกษ์ (เกิด 24 ธันวาคม พ.ศ. 2504)[1] สมาชิกอดีตสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรครักประเทศไทย อดีตเลขาธิการพรรคต้นตระกูลไทย พรรคสู้เพื่อไทย และพรรครักประเทศไทย การศึกษาชัยวัฒน์ ไกรฤกษ์ จบการศึกษาชั้นมัธยมต้น จากโรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย จบชั้นมัธยมปลาย จากโรงเรียนเทพศิรินทร์ จากนั้นได้ศึกษาจนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง และปริญญาโท จากคณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) การทำงานชัยวัฒน์ ไกรฤกษ์ ประกอบอาชีพเป็นทนายความ เริ่มทำงานประจำที่สำนักงานบำรุงสุวิชา อภิศักดิ์ ต่อมาจึงได้เข้าร่วมงานทางการเมืองร่วมกับพรรคความหวังใหม่ พรรคกิจสังคม และลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กรุงเทพมหานคร เขตที่ 3 สังกัดพรรคถิ่นไทย[1] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง จากนั้น ได้ย้ายมาร่วมงานการเมืองกับชูวิทย์ และเป็นเลขาธิการพรรคซึ่งชูวิทย์ก่อตั้ง ได้แก่ พรรคต้นตระกูลไทย พรรคสู้เพื่อไทย ในระหว่างที่ชูวิทย์ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการเลือกตั้งของชูวิทย์ จากนั้น ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กรุงเทพมหานคร เขต 11 สังกัดพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา แต่ไม่ได้รับเลือกตั้งอีก ก็ย้ายกลับมาทำงานกับชูวิทย์ ในการจัดตั้งพรรคการเมือง ชื่อ พรรครักประเทศไทย ซึ่งในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัคร ส.ส. ระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรครักประเทศไทย ในลำดับที่ 2[2] และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยแรกในการเลือกตั้งครั้งนี้ ต่อมาในเดือนมกราคม พ.ศ. 2555 ได้ลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรครักประเทศไทย แต่เกิดข้อขัดแย้งกับชูวิทย์ในเรื่องการลาออกจากสมาชิกพรรค โดยชูวิทย์ไม่พอใจที่ชัยวัฒน์ลงมติไว้วางใจพลตำรวจเอก ประชา พรหมนอก และความสนิทสนมกับจตุพร พรหมพันธุ์[3] ชูวิทย์ได้แถลงข่าวพร้อมทั้งนำวิดีโอการสนทนากับชัยวัฒน์ โดยมีใจความว่าชัยวัฒน์ มีส่วนได้ผลประโยชน์จากการสร้างถนนในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช[4] วันที่ 31 มกราคม 2556 กกต. มีมติเห็นชอบให้เสนอเรื่องไปยังประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อส่งคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการสิ้นสุดความเป็นสมาชิกภาพการเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรครักประเทศไทย ของชัยวัฒน์ ไกรฤกษ์ ตามที่คณะกรรมการไต่สวนของกกต.เสนอ ซึ่งความเห็นของคณะกรรมการไต่สวนเห็นว่า การที่ชัยวัฒน์ลงลายมือชื่อในหนังสือลาออกจากเป็นสมาชิกพรรครักประเทศไทยจริง ตามกฎหมายแล้ว ถือว่าเมื่อหนังสือลาออกของชัยวัฒน์ ยื่นถึงนายทะเบียนสมาชิกพรรค การลาออกนั้นเป็นอันสมบูรณ์ จึงส่งผลให้สิ้นสุดสมาชิกภาพการเป็น ส.ส. ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 106 (7) ในปี พ.ศ.2562 เขาลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อชาติ[5] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ในปี พ.ศ.2566 เขาลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.กาญจนบุรี พรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
|