ชินาลังการชินาลังการชินาลังการ คือวรรณกรรมภาษาบาลีประเภทร้อยกรอง เพื่อสรรเสริญความยิ่งใหญ่ของพระพุทธเจ้า คัมภีร์นี้เป็นที่ยอมรับของนักวิชาการมาโดยตลอดนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบันว่า มีคุณค่าทางวรรณศิลป์ มีการใช้ภาษาที่งดงามแยบคาย มีลีลาการประพันธ์ที่กระชับ มีความทรงพลัง มีจังหวะที่ไพเราะสละสลวย นับเป็นยอดแห่งวรรณกรรมประเภทร้อยกรองที่รจนาขึ้นเพื่อพรรณนาพระพุทธคุณ [1]
ผู้รจนามีมติแบ่งออกเป็น 2 สายเกี่ยวกับผู้รจนาคัมภีร์นี้ สายแรกระบุว่า พระพุทธรักขิตะเป็นผู้รจนา ขณะที่อีกสายระบุว่า พระพุทธทัตตะเป็นผู้รจนา พระคันธสาราภิวงศ์ ผู้แปลชินาลังการฉบับปี 2552 ระบุว่า พระพุทธรักขิตะชาวโรหนชนบทในเกาะลังกาเป็นผู้รจนาเมื่อพุทธศตวรรษที่ 17 โดยชี้ว่า ตอนท้ายของคัมภีร์ (คาถาที่ 273 - 275) ระบุนามพระพุทธรักขิตะเป็นผู้รจนาชินาลังการ [2] ขณะที่ Kenneth Roy Norman แสดงทัศนะว่า ผู้ที่รจนาน่าจะเป็นพระพุทธทัตตะ โดยอ้างหลักฐานจากคัมภีร์คันธวงศ์ ที่ระบุว่า ชินาลังการรจนาขึ้นโดยพระพุทธทัตตะตามคำอาราธนาของพระสังฆปาลเถระ นอกจากนี้คัมภีร์คันธวงศ์ยังระบุว่า คัมภีร์ฎีกาของชินาลังการซึ่งใช้ชื่อเดียวกันนั้น รจนาขึ้นโดยพระพุทธรักขิตะ พร้อมทั้งระบุว่า ด้วยว่า ฎีกาฉบับใหม่ หรือ นวะฎีกา ของคัมภีร์นี้ รจนาขึ้นโดยพระภิกษุชาวสิงหลนิรนามรูปหนึ่ง [3] อย่างไรก็ตาม ในคัมภีร์สัทธัมมสังคหะ กลับระบุในบานแผนกว่า ผู้รจนาชินาลังการ คือพระพุทธรักขิตะเมื่อพ.ศ. 1700 ซึ่ง Kenneth Roy Norman ระบุว่า บานแผนกนี้ได้ถูกอ้างอีกครั้งในคัมภีร์ชินากาลมาลี แล้วยังมีการอ้างถึง ชินาลังการวัณณะนา Norman ใช้หลักฐานนี้ยืนยันว่า ชินลังการน่าจะแต่งขึ้นโดยพระพุทธทัตตะมากกว่า ส่วนพระพุทธรักขิตะ น่าจะเป็นผู้รจนาชินาลังการวัณณะนา หรือชินาลังการฎีกา [4] กระนั้น ก็ยังมีประเด็นปัญหาอยู่ว่า พระพุทธทัตตะท่านใดที่รจนาชินาลังการ ระหว่างพระพุทธทัตตะผู้รจนาคัมภีร์บรรยายสังเขปเนื้อหาในพระวินัยและพระอภิธรรม และพระพุทธทัตตะ ชาวแคว้นโจฬะ ในอินเดียใต้ ผู้รจนาคัมภีร์มธุรัตถะวิลาสินี อย่างไรก็ตาม ความคิดเห็นส่วนใหญ่โน้มเอียงไปทางท่านหลังมากกว่า [5] [6] เนื้อหาคัมภีร์ชินาลังการ แปลว่า เครื่องประดับพระชินเจ้า เพื่อสรรเสริญความยิ่งใหญ่ของพระพุทธเจ้า เริ่มตั้งแต่การสร้างบารมี 30 ทัศหลังจากที่ได้รับพุทธพยากรณ์เมื่อเสวยพระชาติเป็นสุเมธดาบส ในศาสนาของพระทีปังกรพุทธเจ้า จนถึงการประสูติ เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ การตรัสรู้ การประกาศพระศาสนา และการปรินิพพาน [7] นอกจากนี้ เนื้อหาในคัมภีร์ยังมีการสอดแทรกข้อธรรมที่เกี่ยวเนื่องจากพุทธประวัติและพระเกียรติคุณของพระพุทธเจ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรำลึกถึงพระคุณของพระองค์ ในฐานะพุทธานุสสติ เพื่อเป็นแบบอย่างในการบำเพ็ญเพียร เพื่อขจัดอกุศลมูลทั้งหลาย
ลักษณะทางวรรณกรรมคัมภีร์นี้ใช้คาถาแต่งเป็นกลบท คล้ายคลึงกับงานวรรณกรรมภาษาของกาลีทาส, ภารวิ และมาฆะ กวีเอกสมัยศตวรรษที่ 5 ศตวรรษที่ 6 และศตวรรษที่ 7 ที่ใช้ภาษาสันสกฤตในการรจนาผลงาน จึงคาดว่าท่านผู้รจนาคัมภีร์ชินาลังการอาจได้รับอิทธิพลจากบรรดากวีสันสกฤตเหล่านี้ [8] ลักษณะเด่นในทางวรรณกรรมของชินาลังการคือการใช้สัมผัสใน (ปทาสัตติ) การใช้เสียงซ้ำ (อนุปปาสะ) การใช้คำซ้ำ (ยมก) การใช้คำที่อ่านออกเสียงเหมือนกันจากซ้ายไปขวา หรือจากขวาไปซ้ายของแต่ละคาถา (ปฏิโลมยมก) การใช้พยัญชนะซ้ำกัน การใช้บาทคาถาหลัง มีเสียงเหมือนบาทหน้า (ปฏิโลมกะ) การใช้อักษรที่มีฐานเสียงเดียวกันในคาถานั้นๆ (สมตา) และการผูกบทหลายบทเป็นบทสมาสยาวๆ [9]
อ้างอิง
บรรณานุกรม
|