Share to:

 

ฐานธรณีภาค

ฐานธรณีภาค (อังกฤษ: asthenosphere; มีรากศัพท์จากภาษากรีก asthenēs แปลว่า "ไม่แข็งแรง" และ sphere แปลว่า "โลก") เป็นส่วนที่มีลักษณะยืดหยุ่นตั้งอยู่ในชั้นหินหนืดตอนบนของโลกและตั้งอยู่ใต้ชั้นธรณีภาค ฐานธรณีภาคมีขอบเขตที่ระดับความลึกระหว่าง 100 – 200 กิโลเมตรจากชั้นพื้นผิว แต่สามารถขยายตัวไปจนถึงระดับความลึก 400 กิโลเมตร

ลักษณะเฉพาะ

ฐานธรณีภาคเป็นส่วนหนึ่งของชั้นหินหนืดตอนบนและวางตัวใต้ชั้นธรณีภาค นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก ความร้อนและความดันทำให้ชั้นธรณีภาคมีลักษณะหลอมและมีความหนาแน่นต่ำ คลื่นไหวสะเทือนมีความเร็วต่ำเมื่อเคลื่อนผ่านชั้นฐานธรณีภาคเมื่อเทียบกับชั้นธรณีภาค เรียกว่า บริเวณความเร็วคลื่นต่ำและความเร็วของคลื่นไหวสะเทือนจะลดลงเมื่อความแข็งแกร่งของชั้นนั้นๆ ลดลง ใต้แผ่นสมุทรซึ่งมีขนาดบางระดับชั้นฐานธรณีภาคจะอยู่ไม่ห่างจากระดับพื้นผิวและจะห่างไม่กี่กิโลเมตรเมื่ออยู่ในบริเวณเทือกเขากลางสมุทร

บริเวณส่วนบนของชั้นฐานธรณีภาคเป็นชั้นที่มีความแข็งและมีชั้นธรณีภาคซึ่งรวมไปถึงชั้นเปลือกโลกมีการเคลื่อนที ด้วยสภาวะที่มีความร้อนและความดันสูงทำให้หินส่วนนี้มีความยืดหยุ่นและสามารถเคลื่อนที่ได้ตั้งแต่ไม่กี่เซนติเมตรต่อปีไปจนถึงเคลื่อนได้เป็นระยะทางหลายพันกิโลเมตร อย่างไรก็ตามการไหลของหินหนืดเป็นลักษณะกระแสวนและมีการแผ่รังสีความร้อนออกมาจากภายในโลก สำหรับหินที่อยู่เหนือชั้นฐานธรณีภาคจะมีความยืดหยุ่น, เปราะและแตกหักซึ่งทำให้เกิดรอยเลื่อนได้ ชั้นธรณีภาคซึ่งมีความแข็งกว่าจะลอยหรือเคลื่อนที่อย่างเชื่องช้าบนชั้นฐานธรณีภาคทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของชั้นเปลือกโลก

ประวัติ

ความรู้เรื่องชั้นฐานธรณีภาคเริ่มมีการศึกษาตั้งแต่ ค.ศ. 1926 แต่ได้มีการวิเคราะห์และพิสูจน์จนเป็นที่ยอมรับจากการศึกษาการเกิดแผ่นดินไหวบริเวณเกรทชีเลียนซึ่งเกิดในวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1960

อ้างอิง

  • Donald L. Turcotte and Gerald Schubert. Geodynamics, 2nd ed., Cambridge University Press 2001
  • GEMS Institute of higher education,Nepal.Environment Management Club, Kushal
  • An Introduction to the Solar System; McBride and Gilmour; Cambridge University Press 2004
Kembali kehalaman sebelumnya