ดาวยักษ์ใหญ่ยิ่งเหลืองดาวยักษ์ใหญ่ยิ่งเหลือง (yellow hypergiant) เป็นดาวฤกษ์มวลมหาศาลที่ประกอบด้วยก๊าซที่ขยายตัวใหญ่มาก ชนิดสเปกตรัมอาจเป็นได้ตั้งแต่ A จนถึง K มีมวลตั้งแต่ 20 เท่าจนถึง 50 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ ดาวยักษ์ใหญ่ยิ่งเหลืองอย่างดาว Rho Cassiopeiae ในกลุ่มดาวค้างคาวนั้นจะมองดูแล้วเหมือนมีการระเบิดอยู่เป็นระยะ แต่จริง ๆ แล้วนั่นแค่เกิดจากการลดแสงลงอย่างต่อเนื่อง เชื่อกันว่าดาวยักษ์ใหญ่ยิ่งเหลืองหายากมากภายในเอกภพ เนื่องจากมวลส่วนแกนกลางเกิดการเผาผลาญอย่างรวดเร็วมาก ทำให้ดาวประเภทนี้อยู่ในแถบลำดับหลักเพียงระยะเวลาสั้นประมาณไม่กี่ล้านปีก่อนที่จะเกิดเป็นมหานวดาราหรือไฮเปอร์โนวา ดาวยักษ์ใหญ่ยิ่งเหลืองนั้นเป็นช่วงหลังจากสิ้นสุดการเป็นดาวยักษ์แดง แล้วกำลังเปลี่ยนไปเป็นสีน้ำเงิน อยู่ในบริเวณช่วงว่าง ๆ สีเหลืองภายในแผนภาพของแฮร์ตสปรอง–รัสเซิล ซึ่งแก๊สมีความไม่เสถียรขณะกำลังเปลี่ยนผ่านไปทางสีน้ำเงิน[1] ดาวฤกษ์ชนิดนี้จะเผาผลาญมวลที่แกนกลางจนหมดสิ้นอย่างรวดเร็ว และก่อให้เกิดมหานวดาราประเภท 2 ในที่สุด โครงสร้างภายในตามแบบจำลองทางฟิสิกส์ของดาวฤกษ์ในปัจจุบัน ดาวยักษ์ใหญ่ยิ่งเหลืองมีเขตพาความร้อนอยู่ภายในเขตแผ่รังสีซึ่งแตกต่างจากดาวฤกษ์ขนาดเท่าดวงอาทิตย์ซึ่งมีชั้นการแผ่รังสีอยู่ภายในชั้นการพาความร้อน[2] เนื่องจากความกดดันที่รุนแรงบนแกนกลางขอดาวยักษ์ใหญ่ยิ่งเหลือง จึงเชื่อว่าแกนกลางนั้นประกอบด้วยสสารสถานะเสื่อมทั้งหมดหรืออาจแค่บางส่วน ชั้นโครโมสเฟียร์เนื่องจากขนาดที่ใหญ่มาก ดาวยักษ์ใหญ่ยิ่งเหลืองจึงมีสนามแม่เหล็กขนาดใหญ่และปล่อยพลังงานออกมา และมีประสิทธิภาพในการกักเก็บวัสดุบนพื้นผิวน้อยกว่าดาวฤกษ์ประเภทอื่น ๆ ดังนั้นดาวยักษ์ใหญ่ยิ่งเหลืองจึงมีชั้นบรรยากาศที่แผ่ขยายออกไปมาก บางครั้งเห็นจานฝุ่นและก๊าซ และอาจมีระบบดาวเคราะห์ อยู่รอบ ๆ ตัวอย่างดาวฤกษ์ประเภทนี้
อ้างอิง
|