Share to:

 

ดาวเคราะห์คล้ายโลก

ดาวเคราะห์ชั้นในของระบบสุริยะ ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร ขนาดเปรียบเทียบตามจริง

ดาวเคราะห์คล้ายโลก (อังกฤษ: terrestrial planet) หรือบางครั้งเรียกว่า ดาวเคราะห์หิน (rocky planet) หรือ ดาวเคราะห์ชั้นใน (inner planet) หมายถึงดาวเคราะห์ที่มีองค์ประกอบพื้นฐานเป็นหินซิลิเกต ในระบบสุริยะจะหมายถึงดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้กับดวงอาทิตย์มาก และดาวเคราะห์ที่มีลักษณะภายนอก "คล้ายกับโลก"มาก

ดาวเคราะห์คล้ายโลกจะมีองค์ประกอบพื้นฐานที่แตกต่างจากดาวเคราะห์แก๊สยักษ์อย่างเด่นชัด โดยที่ดาวเคราะห์แก๊สยักษ์จะไม่มีพื้นผิวเป็นของแข็งที่ชัดเจน และมีองค์ประกอบพื้นฐานส่วนมากเป็นไฮโดรเจน ฮีเลียม และน้ำ ในสถานะต่างๆ

ดาวเคราะห์คล้ายโลกในระบบสุริยะ

มวลเปรียบเทียบกันระหว่างดาวเคราะห์คล้ายโลกดวงต่างๆ ในระบบสุริยะ รวมถึงดวงจันทร์

ในระบบสุริยะของเรามีดาวเคราะห์คล้ายโลกจำนวน 4 ดวง คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร และมีดาวเคราะห์แคระคล้ายโลกอีก 1 ดวง คือ เซเรส วัตถุบางชนิดเช่น พลูโต แม้จะคล้ายคลึงกับดาวเคราะห์คล้ายโลก เพราะมีพื้นผิวที่เป็นของแข็งชัดเจน ทว่าองค์ประกอบส่วนใหญ่ของดาวนั้นเป็นน้ำแข็ง เชื่อว่าในระหว่างการก่อตัวของดาวเคราะห์ของระบบสุริยะ อาจมีดาวเคราะห์ชั้นในเป็นจำนวนมากกว่านี้ แต่ดาวเคราะห์เหล่านั้นเกิดรวมตัวกันหรือแตกกระแทกสลายไปจนเหลือเพียง 4 ดวง ในจำนวนนี้มีเพียงโลกเท่านั้นที่มีชั้นบรรยากาศซึ่งห่อหุ้มด้วยน้ำ

ดวงจันทร์ของโลก รวมถึงดวงจันทร์บริวารของดาวพฤหัสบดี คือ ไอโอ และ ยูโรปา อาจนับเป็นดาวเคราะห์คล้ายโลกด้วยเช่นกัน แม้ว่ามันจะโคจรรอบดาวเคราะห์ดวงอื่น จึงไม่ได้มีสถานะเป็น "ดาวเคราะห์" โดยตรง

ความหนาแน่น

ยิ่งดาวเคราะห์ใกล้โลกอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากขึ้น เช่น ดาวเซเรส และดาวเคราะห์น้อยขนาดใหญ่อีก 2 ดวง มีแนวโน้มที่ความหนาแน่นของดาวจะยิ่งน้อยลง

วัตถุ ความหนาแน่นเฉลี่ย uncompressed density กึ่งแกนเอก
ดาวพุธ☿ 5.4 g/cm³ 5.3 g/cm³ 0.39 AU
ดาวศุกร์ ♀ 5.2 g/cm³ 4.4 g/cm³ 0.72 AU
โลก 🜨 5.5 g/cm³ 4.4 g/cm³ 1.0 AU
ดวงจันทร์ ☾ 3.3 g/cm³ 3.3 g/cm³ 1.0 AU
ดาวอังคาร ♂ 3.9 g/cm³ 3.8 g/cm³ 1.5 AU
เวสตา ⚶ 3.4 g/cm³ 3.4 g/cm³ 2.3 AU
พัลลัส ⚴ 2.8 g/cm³ 2.8 g/cm³ 2.8 AU
เซเรส ⚳ 2.1 g/cm³ 2.1 g/cm³ 2.8 AU

ดาวเคราะห์คล้ายโลกที่อยู่นอกระบบสุริยะ

Kembali kehalaman sebelumnya