Share to:

 

ดาหลา

Etlingera elatior
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Liliopsida
อันดับ: Zingiberales
วงศ์: Zingiberaceae
สกุล: Etlingera
สปีชีส์: E.  eliator
ชื่อทวินาม
Etlingera eliator
K.Schum.

ต้นดาหลา (ชื่อวิทยาศาสตร์: Etlingera elatior (Jack) R.M. Smith) เป็นพืชล้มลุกประเภทใบเลี้ยงเดี่ยวชนิดหนึ่งซึ่งมีดอกที่สวยงาม มีความนิยมปลูกเป็นไม้ตัดดอก ที่อยู่ในวงศ์ขิง (Zingiberales)[1] ซึ่งจัดเป็นพืชที่อยู่ในวงศ์เดียวกันกับขิงและข่า ส่วนลำต้นดาหลาจะอยู่ใต้ดินที่เรียกว่าเหง้าซึ่งเป็นจุดกำเนิดของหน่ออ่อนของต้นดาหลาต่อไป

ต้นดาหลานอกจากจะนำมาเป็นไม้เพื่อชมความสวยงามของดอกแล้วยังสามารถนำดอกมาประกอบอาหารได้และก็มีคุณค่าทางสมุนไพรสูง

สายพันธุ์

  • ดอกสีแดง ได้แก่ พันธุ์บัวแดงใหญ่ พันธุ์แดงอินโด พันธุ์ตรัง 3
  • ดอกสีแดงเข้ม ได้แก่ พันธุ์ตรัง 5
  • ดอกสีชมพู ได้แก่ พันธุ์บานเย็น พันธุ์ตรัง 4
  • ดอกสีขาว ได้แก่ พันธุ์ตรัง 1[2]
  • ดอกสีบานเย็น ได้แก่ พันธุ์ตรัง 2

ลักษณะดาหลา

พืชล้มลุก (ExH) สูงประมาณ 5 เมตร[3] เป็นพืชตระกูลเดียวกับข่าและขิง มีลําต้นใต้ดินเป็นเหง้าหัว ลําต้นเหนือพื้นดินเป็น กาบ หุ้มรอบกันแน่นทรงกระบอก

ใบดาหลา เป็นใบเดี่ยว ลักษณะใบรูปขอบขนานหรือรูปหอก สีเขียวมันเข้ม ปลายใบแหลม กว้าง 20 ซม. ยาวประมาณ 50 ซม.

ดอกดาหลา ออกเป็นช่อเดี่ยวที่ปลายก้านซึ่งแทงขึ้นมาจากเหง้า ใต้ดิน ก้านช่อดอกเป็นปล้องยาวประมาณ 1.5 เมตร ดอกสีแดง อมชมพูหรือสีขาว กลีบดอกหนาเรียบเป็นมันซ้อนกันหลายชั้น โคนกลีบดอกเรียบเป็นมันสีแดง ปลายกลีบสีขาว กลีบนอกใหญ่ กลีบในเล็ก และลดขนาดลงเรื่อย ๆ จนถึงวงชั้นใน ปลายกลีบ แบะออกมีจะงอยแหลม ออกดอกตลอดปี มีมากช่วงเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม

ผลดาหลา รูปกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 2–2.5 ซม. มีขนนุ่ม[4]

สารเคมี

ใบของดาหลาสามารถแยกกรดคาเฟโออิลควินิก (caffeoylquinic acid) ได้สามชนิด รวมทั้งกรดคลอโรจีนิก (CGA) และสารฟลาโวนอยด์ 3 ชนิด ได้แก่ เควอเซติน, ไอโซเควอเซติน และคาเทชิน[5] ปริมาณของ CGA ที่แยกได้สูงกว่าที่สกัดได้จากดอกของ Lonicera japonica (สายน้ำผึ้งญี่ปุ่น) ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมอย่างมีนัยสำคัญ[6] กระบวนการสำหรับการผลิตสารสกัด CGA มาตรฐานจากใบของดาหลาได้รับการพัฒนาขึ้น (แยกได้ 40%) เมื่อเทียบกับสารสกัด CGA เชิงพาณิชย์จากดอกสายน้ำผึ้ง (25%)[5]

อ้างอิง

  1. Roskov Y, Kunze T, Orrell T, Abucay L, Paglinawan L, Culham A, Bailly N, Kirk P, Bourgoin T, Baillargeon G, Decock W, De Wever A, Didžiulis V, บ.ก. (19 September 2014). "Species 2000 & ITIS Catalogue of Life: 2014 Annual Checklist". Reading, UK: Species 2000. สืบค้นเมื่อ 26 May 2014.
  2. "ตรัง-พัฒนาสายพันธุ์ดอกดาหลาเป็น 5 สี ตลาดสดใส". Ch3Thailand. 2018-04-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-02. สืบค้นเมื่อ 2019-09-02.
  3. Ardita, Ferdi (October 2008). "Sabun alami". Percik Yunior (ภาษาอินโดนีเซีย) (6 ed.). Jakarta: Kelompok Kerja Air Minum dan Penyehatan Lingkungan (Pokja AMPL) dan Plan. p. 12. ISSN 1978-5429.
  4. Ibrahim, H.; F.M. Setyowati (1999). Giseke, dalam C.C. de Guzman; J.S. Siemonsma (บ.ก.). Etlingera. Plant Resources of South-East Asia 13: Spices. Bogor: PROSEA. pp. 123–126. ISBN 979-8316-34-7.
  5. 5.0 5.1 Chan, E.W.C. (2009). Bioactivities and chemical constituents of leaves of some Etlingera species (Zingiberaceae) in Peninsular Malaysia (Ph.D.). Monash University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-03.
  6. Chan, E.W.C.; Lim, Y.Y.; Ling, S.K.; และคณะ (2009). "Caffeoylquinic acids from leaves of Etlingera species (Zingiberaceae)". LWT - Food Science and Technology. 42 (5): 1026–1030. doi:10.1016/j.lwt.2009.01.003.


Kembali kehalaman sebelumnya