Share to:

 

ดินแดนปาเลสไตน์

ดินแดนปาเลสไตน์

ดินแดนปาเลสไตน์ ทำเครื่องหมายด้วยแนวสีเขียว
ดินแดนปาเลสไตน์ ทำเครื่องหมายด้วยแนวสีเขียว
ที่ตั้งของปาเลสไตน์
นครใหญ่สุด
กลุ่มชาติพันธุ์
ชาวปาเลสไตน์
ยิว
เดมะนิม
พื้นที่
• รวม
6,220 ตารางกิโลเมตร (2,400 ตารางไมล์)
3.5
ประชากร
• ชาวปาเลสไตน์ (2557):
4,550,000[3]
• ผู้ตั้งถิ่นฐาน (2555):
564,000[5]
• สำมะโนประชากร 2550
3,719,189 (ปา.)[3][4]
654[4] ต่อตารางกิโลเมตร (1,693.9 ต่อตารางไมล์)
เอชดีไอ (2553)0.645[6]
ปานกลาง · 97
สกุลเงิน (JOD, EGP, ILS)
เขตเวลาUTC+2 ( )
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+3 ( )
รหัสโทรศัพท์+970d
โดเมนบนสุด
  1. ใช้ในเวสต์แบงก์ตั้งแต่ปี 2493
  2. ใช้ในฉนวนกาซาตั้งแต่ปี 2494
  3. ใช้ตั้งแต่ปี 2528
  4. ใช้ +972 ด้วย

ดินแดนปาเลสไตน์ ประกอบด้วยเวสต์แบงก์ (รวมเยรูซาเลมตะวันออก) และฉนวนกาซา[7] ในปี 2536 ตามข้อตกลงออสโล ในทางการเมือง บางส่วนของดินแดนดังกล่าวอยู่ภายใต้เขตอำนาจขององค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ (พื้นที่เอและบี) ในปี 2550 ฉนวนกาซาที่ฮามาสปกครองแยกจากองค์การบริหารปาเลไสตน์อย่างรุนแรง และปกครองพื้นที่กาซาเป็นอิสระนับแต่นั้น อิสราเอลยังควบคุมทางทหาร (military control) สมบูรณ์ และตามข้อตกลงออสโล ควบคุมทางพลเรือน (civil control) เหนือ 61% ของเวสต์แบงก์ (พื้นที่ซี) ในเดือนเมษายน 2554 ภาคีปาเลสไตน์ลงนามความตกลงปรองดอง แต่การนำไปปฏิบัติยังสะดุดอยู่หลังจากนั้น ความพยายามปรองดองต่อมาในปี 2555 ก็ไม่ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน

พื้นที่เวสต์แบงก์และฉนวนกาซาเป็นส่วนของดินแดนทางตะวันตกของแม่น้ำจอร์แดนในปาเลสไตน์ในอาณัติภายใต้การปกครองของอังกฤษ ซึ่งก่อตั้งในปี 2465 นับแต่สงครามอาหรับ–อิสราเอล ปี 2491 กระทั่งสงครามหกวัน ปี 2510 เวสต์แบงก์ถูกจอร์แดนยึดครองและผนวก (เฉพาะสหราชอาณาจักรและปากีสถานรับรองการผนวก) และฉนวนกาซาถูกอียิปต์ยึดครอง แม้รัฐบาลปาเลสไตน์ล้วน (All-Palestine Government) ใช้อำนาจอย่างจำกัดในกาซาตั้งแต่เดือนกันยายน 2491 ถึงปี 2502 ก็ตาม แนวพรมแดนซึ่งเป็นเรื่องของการเจรจาในอนาคต ประชาคมนานาชาติถือโดยทั่วไปว่านิยามโดยเส้นสีเขียวอันแทนเส้นการสงบศึกภายใต้ความตกลงการสงบศึกปี 2492 ซึ่งประกาศเส้นการสงบศึกอย่างชัดเจน มิใช่พรมแดนระหว่างประเทศ

เนื่องจากอิสราเอลยึดดินแดนเวสต์แบงก์และฉนวนกาซาจากจอร์แดนและอียิปต์ตามลำดับในสงครามหกวัน ปี 2510 และได้รักษาการควบคุมดินแดนดังกล่าวนับแต่นั้น ประชาคมนานาชาติ รวมทั้งสหประชาชาติและองค์การกฎหมายระหว่างประเทศจึงมักเรียกพื้นที่ดังกล่าวว่า "ดินแดนปาเลสไตน์ที่ถูกยึดครอง"

ในปี 2523 อิสราเอลผนวกเยรูซาเลมตะวันออกอย่างเป็นทางการ การผนวกดังกล่าวถูกนานาชาติประณามและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติประกาศให้ "ไม่มีผลและเป็นโมฆะ" ขณะที่ชาติอิสราเอลมองว่า เยรูซาเลมทั้งหมดเป็นเมืองหลวงของประเทศ ในปี 2531 ด้วยองค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์มีเจตนาประกาศรัฐปาเลสไตน์ จอร์แดนจึงยอมสละการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนเวสต์แบงก์ รวมเยรูซาเลมตะวันออก ตั้งแต่คำประกาศอิสรภาพปาเลสไตน์ในปี 2531 มีชาติสมาชิกสหประชาชาติประมาณ 130 ชาติรับรองรัฐปาเลสไตน์ อันประกอบด้วยดินแดนปาเลสไตน์ แต่อิสราเอลและชาติตะวันตกบางชาติ รวมทั้งสหรัฐอเมริกา ยังไม่รับรอง ทว่า ไม่นาน องค์การบริหารปาเลสไตน์ถูกตั้งขึ้นตามผลของข้อตกลงออสโล ปี 2536 โดยควบคุมเหนือบางส่วนของเวสต์แบงก์และฉนวนกาซาอย่างจำกัด

องค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ สหภาพยุโรป ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศและกาชาดสากลถือว่าเยรูซาเลมตะวันออกเป็นส่วนหนึ่งของเวสต์แบงก์ และจึงเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนปาเลสไตน์ตามลำดับ ขณะที่อิสราเอลถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของตนอันเป็นผลจากการผนวกในปี 2523 ตามศาลสูงสุดอิสราเอล อนุสัญญาเจนีวาฉบับที่สี่ ซึ่งห้ามการผนวกดินแดนที่ถูกยึดครองฝ่ายเดียว ใช้ไม่ได้กับเยรูซาเลมตะวันออก เพราะอิสราเอลและพันธมิตรไม่รับรอง "องค์อธิปัตย์ที่ชอบด้วยกฎหมาย" ที่เดิมเคยควบคุมดินแดนนั้น องค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ (ซึ่งล่าสุดเปลี่ยนชื่อเป็นรัฐปาเลสไตน์ อันเป็นผลจากสหประชาชาติรับรองเอกราช) ซึ่งรักษาการอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนเยรูซาเลมตะวันออก ไม่เคยใช้อำนาจอธิปไตยเหนือพื้นที่ดังกล่าว ทว่า ไม่มีประเทศใดรับรองอำนาจอธิปไตยของอิสราเอล นับแต่การผนวกดินแดนที่ถูกยึดครองระหว่างสงครามฝ่ายเดียวโดยฝ่าฝืนอนุสัญญาเจนีวาฉบับที่สี่ ข้อตกลงออสโล (2538) สถาปนาการออกสู่ทะเลสำหรับกาซาภายใน 20 ไมล์ทะเลจากฝั่ง ข้อผูกมัดเบอร์ลินปี 2545 ลดเหลือ 19 กิโลเมตร ในเดือนตุลาคม 2549 อิสราเอลกำหนดขีดจำกัด 6 ไมล์ และผลของสงครามกาซาจำกัดการออกลงเหลือขีดจำกัด 3 ไมล์ทะเล ซึ่งเกินกว่านั้นมีเขตห้ามเข้า (no-go zone) ผลคือ ชาวประมงกว่า 3,000 คนถูกปฏิเสธการออกสู่ 85% ของพื้นที่ทะเลตามที่ตกลงกันในปี 2538 พื้นที่เดดซีส่วนใหญ่ถูกห้ามไม่ให้ชาวปาเลสไตน์ใช้ และชาวปาเลสไตน์ถูกห้ามไม่ให้ออกสู่แนวชายฝั่ง

การยึดกาซาของฮามาสแบ่งดินแดนปาเลสไตน์ทางการเมือง โดยฟาตาห์ของอับบาสส่วนใหญ่ปกครองเวสต์แบงก์ และนานาชาติรับรองเป็นองค์การบริหารปาเลสไตน์อย่างเป็นทางการ ฉนวนกาซาภายในพรมแดนถูกฮามาสปกครอง ขณะที่พื้นที่เวสต์แบงก์ส่วนมากปกครองโดยองค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ซึ่งตั้งอยู่ที่รอมัลลอฮ์ ทว่า มีความตกลงเมื่อเดือนเมษายน 2557 ระหว่างสองกลุ่มการเมืองจะจัดการเลือกตั้งในปลายปี 2557 และตั้งรัฐบาลเอกภาพปรองดอง

ประชากรศาสตร์

ชาวปาเลสไตน์

จำนวนประชากร (ในแต่ละปี)[8][9][10]
ปี เวสต์แบงก์ กาซา ทั้งหมด
1970 0.69 0.34 1.03
1980 0.90 0.46 1.36
1990 1.25 0.65 1.90
2000 1.98 1.13 3.11
2004 2.20 1.30 3.50
2008 2.41 1.5 3.91
2010 2.52 1.60 4.12
Source: U.S. Census Bureau
2006 2.5 1.5 4.0
2009 2.48 1.45 3.94
Source: Palestinian Central Bureau of Statistics
เขตการปกครอง จำนวนประชากร
เวสต์แบงก์ 2,568,555[11]
เยรูซาเลมตะวันออก 192,800[12]
ฉนวนกาซา 1,657,155[13]
ชื่อ จำนวนประชากร
(2007)[14]
พื้นที่ (กม2) ความหนาแน่น[15]
เวสต์แบงก์ 2,369,700 5,671 417.86
ฉนวนกาซา 1,416,539 360 3934.83
ทั้งหมด 3,786,239 6,031 627.80

ประวัติศาสตร์

Map comparing the borders of the 1947 partition plan and the armistice of 1949.
แม่แบบ:Partition Plan-Armistice Lines comparison map legend

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ดร.คาอิม ไวช์มันน์ นักเคมีชาวยิวสมาชิกกลุ่มไซออนนิสต์ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวัตถุระเบิด และได้เปลี่ยนสัญชาติจากลัตเวียมาเป็นอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1910 ได้ทำการคิดค้นดินระเบิดประสิทธิภาพสูง ซึ่งสามารถผลิตเองได้โดยใช้วัตถุดิบที่หาได้ง่าย เนื่องจากก่อนหน้านั้นกองทัพอังกฤษใช้ดินระเบิดคอร์ไดท์ ซึ่งอังกฤษผลิตเองได้แต่จำเป็นต้องใช้วัตถุดิบสำคัญคือ อาซีโทน (Acetone) โดยอาซีโทนนี้จำเป็นต้องสั่งเข้าจากเยอรมันซึ่งเป็นคู่สงคราม เมื่อไม่มีวัตถุดิบ อังกฤษจึงประสบปัญหาใหญ่ในการทำสงคราม จนกระทั่งได้ ดร.คาอิม มาช่วย อังกฤษจึงยังคงสามารถเข้าร่วมรบในสงครามโลกต่อไปได้

จากการช่วยเหลือของ ดร.คาอิม (ต่อมาได้ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ กระทรวงทหารเรือของอังกฤษ ในช่วงปี 1916-1919) ทำให้อังกฤษซึ่งมีอิทธิพลเหนือดินแดนตะวันออกกลางในช่วงนั้น ตอบแทนโดยการมอบดินแดนปาเลสไตน์ให้เป็นที่พักพิงถาวรของชาวยิว โดย ลอร์ด อาร์เธอร์ เจมส์ บัลฟอร์ (Lord. Arthur James Balfour) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอังกฤษในขณะนั้น เป็นผู้ลงนามใน "สนธิสัญญาบัลฟอร์" เมื่อปีค.ศ.1917 ซึ่งถือเป็นการมอบที่แปลกพิศดารและอัปยศที่สุดในประวัติศาสตร์ เพราะผู้มอบไม่ใช่เป็นเจ้าของที่แท้จริง ในขณะที่ผู้รับมอบเองก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะรับ ส่วนเจ้าของที่แท้จริงไม่มีสิทธิ์แม้กระทั่งเรียกร้องโดยวาจา ได้แต่มองด้วยสายตาอันน่าเวทนา

ขณะเดียวกันก็เกิดสนธิสัญญาขึ้นซ้อนอีกหนึ่งฉบับที่ลงนามโดย เซอร์เฮนรี่ แม็กมาฮอน (Sir. Henry McMahon) ข้าหลวงใหญ่ของอังกฤษในอียิปต์ ซึ่งไปตกลงกับชาวอาหรับว่า หากชาวอาหรับช่วยอังกฤษทำสงครามกับเยอรมันแล้ว อังกฤษจะยกดินแดนบางส่วน รวมถึงปาเลสไตน์คืนให้แก่ชาวอาหรับ แต่เมื่อสิ้นสงคราม อังกฤษก็ยังคงยึดครองปาเลสไตน์โดยมิได้มอบให้แก่ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด เนื่องด้วยฝ่ายยิวและอาหรับต่างก็อ้างสนธิสัญญาที่ตนเองถือเป็นข้ออ้างในการครอบครองดินแดน

ปี ค.ศ. 1923 องค์การสันนิบาตชาติ มอบหมายให้อังกฤษเป็นผู้ดำเนินการส่งมอบดินแดนปาเลสไตน์ให้แก่ชาวยิว แต่อังกฤษก็ยังคงครอบครองดินแดนไว้เพื่อใช้ต่อรองกับกลุ่มชาติอาหรับ ในการทำสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งแน่นอนว่าภายหลังสงคราม ดินแดนเจ้าปัญหานี้ก็ยังไม่ได้ถูกส่งมอบให้แก่ฝ่ายไหนอยู่ดี อีกทั้งปัญหาการอพยพเข้ามาของชาวยิวจำนวนมากก็ยังทวีความวุ่นวายเข้าไปทุกขณะ โดยมีกลุ่มชาติอาหรับแสดงท่าทีไม่พอใจอย่างเห็นได้ชัด

ปี ค.ศ. 1947 สมัชชาสหประชาชาติ ลงมติแบ่งดินแดนปาเลสไตน์ให้กับชาวยิว โดยแบ่งเอาดินแดนบางส่วนของซีเรียและอียิปต์ไปด้วย โดยมติดังกล่าวไม่ได้ขอความเห็นชอบจากชาวปาเลสไตน์เลยแม้แต่น้อย โดยการแบ่งดินแดนในครั้งนั้น ทำให้ปาเลสไตน์ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งเป็นที่อาศัยของชาวยิว และอีกส่วนหนึ่งเป็นที่อาศัยของชาวมุสลิมอาหรับ

ปี ค.ศ. 1948 มีการจัดตั้งรัฐยิวขึ้นอย่างเป็นทางการบนแผ่นดินปาเลสไตน์โดยมี เดวิด เบนกูเรียน (David Bengurion) เป็นผู้นำคนแรก โดยตั้งชื่อว่า รัฐอิสราเอล นับแต่นั้นมา อิสราเอลก็เริ่มปรากฏในแผนที่โลกในฐานะประเทศ ทั้งที่ก่อนหน้านี้พวกเขาไม่มีแผ่นดินครอบครองเลย

แต่ทุกครั้งที่เกิดสงคราม ก็ลงเอยด้วยความพ่ายแพ้ของชาติอาหรับ และปาเลสไตน์ก็ต้องเสียดินแดนไปทุกครั้ง โดยเฉพาะ "สงคราม 6 วัน" ในปี ค.ศ. 1967 ประธานาธิบดีนัสเซอร์ แห่งอียิปต์ ส่งกองกำลังทหารกว่า 7 แสนนาย จากความร่วมมือของ 7 ชาติอาหรับ เข้าถล่มอิสราเอลที่มีกองกำลังเพียง 2 แสนนายเท่านั้น เหตุการณ์กลับตาลปัตรกลายเป็นว่ายิวเป็นฝ่ายมีชัยในสงคราม อีกทั้งยังยึดดินแดนของฝ่ายชาติอาหรับมาเป็นของตน ไม่ว่าจะเป็นเขตกาซ่าตะวันออก แหลมซีนายของอียิปต์ ชายฝั่งตะวันตกบางส่วนของแม่น้ำจอร์แดน (เขตเวสต์แบงก์) ที่ราบสูงโกรันของซีเรีย นครเยรูซาเล็มฝั่งตะวันออก ซึ่งดินแดนที่ว่านี้ก็ยังถูกอิสราเอลครอบครองมาจนถึงปัจจุบัน นอกเหนือจากชัยชนะครั้งนี้แล้ว อิสราเอลยังฉวยโอกาสนี้ทำการขับไล่ชาวอาหรับออกจากจากดินแดนของตนเป็นจำนวนมาก

จากความพ่ายแพ้ในครั้งนี้ ทำให้กลุ่มชาติอาหรับลดความนับถือต่อประธานาธิบดี นัสเซอร์ เป็นอย่างมาก และยังทำให้ "องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์" (PLO : Palestine Liberation Organization) ที่เขาก่อตั้งขึ้น ต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายครั้งใหญ่ มีการเลือกประธานคนใหม่ที่มาพร้อมกับนโยบายที่แข็งกร้าวขึ้น นั่นคือนายยัสเซอร์ อาราฟัต (Yasser Arafat)

การประชุดสุดยอดสันนิบาตอาหรับปี 1974 กำหนดให้องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์เป็น "ผู้แทนชาวปาเลสไตน์โดยชอบด้วยกฎหมายแต่ผู้เดียว" และยืนยันอีกครั้งถึง "สิทธิของพวกเขาในการสถาปนารัฐที่มีเอกราชอย่างเร่งด่วน"[16] องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ได้รับสถานะผู้สังเกตการณ์ในสหประชาชาติเป็น "องค์การมิใช่รัฐ" (non-state entity) ตั้งแต่วันที่ 22 พฤศจิกายน 1974[17][18] ซึ่งให้สิทธิพูดในสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้ แต่ไม่มีสิทธิออกเสียง หลังคำประกาศอิสรภาพ สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ "รับรอง" คำประกาศดังกล่าวอย่างเป็นทางการ และออกเสียงให้ใช้ชื่อ "ปาเลสไตน์" แทน "องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์" เมื่อเอ่ยถึงผู้สังเกตการณ์ถาวรปาเลสไตน์[19][20] แม้จะมีคำวินิจฉัยนี้ องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ก็มิได้เข้าร่วมสหประชาชาติในขีดความสามารถที่เป็นรัฐบาลของรัฐปาเลสไตน์[21] วันที่ 29 พฤศจิกายน 2012 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติผ่านข้อมติที่ 67/19 ยกระดับปาเลสไตน์จาก "องค์การผู้สังเกตการณ์" (observer entity) เป็น "รัฐผู้สังเกตการณ์ที่มิใช่สมาชิก" ในระบบสหประชาชาติ ซึ่งถือเป็นการรับรองอธิปไตยขององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์โดยปริยาย[22][23][24]

ในข้อตกลงกรุงออสโลปี 1993 อิสราเอลรับรองคณะผู้เจรจาขององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ว่า "เป็นผู้แทนของชาวปาเลสไตน์" ตอบแทนการที่องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์รับรองสิทธิของอิสราเอลที่จะดำรงอยู่อย่างสันติ กรยอมรับข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 242 และ 338 และปฏิเสธ "ความรุนแรงและการก่อการร้าย"[25] ผลคือ ในปี 1994 องค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์สถาปนาการปกครองดินแดน ซึ่งบริหารหน้าที่รัฐบาลบ้างในบางส่วนของเวสต์แบงก์และฉนวนกาซา[26][27]

ในปี 2007 การยึดฉนวนกาซาโดยฮามาส แบ่งชาวปาเลสไตน์ทั้งทางการเมืองและดินแดน โดยฟาตาห์ของมาห์มูด อับบาสยังปกครองเวสต์แบงก์ส่วนใหญ่และนานาประเทศรับรองว่าเป็นองค์การบริหารปาเลสไตน์[28] ขณะที่ฮามาสรักษาการควบคุมฉนวนกาซาไว้ ในเดือนเมษายน 2011 พรรคการเมืองปาเลสไตน์ลงนามความตกลงปรองดอง แต่การนำไปปฏิบัติหยุดไปนับแต่นั้น

จนถึงเดือนพฤศจิกายน 2012 มีรัฐสมาชิกสหประชาชาติ 131 รัฐ จาก 193 รัฐ (67.9%) ให้การรับรองรัฐปาเลสไตน์[29][30] กระนั้นหลายประเทศที่มิได้รับรองรัฐปาเลสไตน์ก็รับรององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์เป็น "ผู้แทนของชาวปาเลสไตน์" ยิ่งไปกว่านั้น คณะกรรมการบริหารขององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ได้รับอำนาจจากสภาแห่งชาติปาเลสไตน์ให้ดำเนินหน้าที่รัฐบาลในรัฐปาเลสไตน์[31]

หมายเหตุ

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. "CIA - The World Factbook". cia.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-06. สืบค้นเมื่อ 2012-11-28.
  2. "CIA - The World Factbook". cia.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-08. สืบค้นเมื่อ 2012-11-28.
  3. 3.0 3.1 "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-08. สืบค้นเมื่อ 2014-06-24.
  4. 4.0 4.1 "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-01-20. สืบค้นเมื่อ 2014-06-24.
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ PCBS_settlements_2012
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-15. สืบค้นเมื่อ 2014-06-24.
  7. "Palestinian Territories". State.gov. 2008-04-22. สืบค้นเมื่อ 2012-12-26.
  8. US Census Bureau International Programs International Data Base IDB West Bank and Gaza
  9. Palestinians in figures 2009 เก็บถาวร 2011-12-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Palestinian Central Bureau of Statistics May 2010
  10. Palestinians at the End of Year 2006 เก็บถาวร 2021-02-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Palestinian Central Bureau of Statistics
  11. (July 2010 est.) @ CIA The World Factbook เก็บถาวร 2014-05-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. This data plus 1.66 million in Gaza (resulting 4.23 million) agrees with the 4.1 million figure given by the Palestinian Central Bureau of Statistics @ Google Hosted News เก็บถาวร 2012-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  12. Israeli settlers for (2008 est.) (July 2011 est.) [ตามต้นฉบับ] estimation @ CIA The World Factbook เก็บถาวร 2014-05-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  13. Estimation for July 2011 @ CIA The World Factbook เก็บถาวร 2014-06-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. This data plus 2.57 million in the West Bank (resulting 4.23 million) agrees with the 4.1 million figure given by the Palestinian Central Bureau of Statistics @ Google Hosted News เก็บถาวร 2012-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  14. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-09-24. สืบค้นเมื่อ 2014-06-24.
  15. As stated in List of sovereign states and dependent territories by population density, in 2010, the total density raised to 681, ranking the 20th biggest of this list.
  16. al Madfai, Madiha Rashid (1993). Jordan, the United States and the Middle East Peace Process, 1974–1991. Cambridge Middle East Library. Vol. 28. Cambridge: Cambridge University Press. p. 21. ISBN 978-0-521-41523-1.
  17. UN General Assembly (22 November 1974). "UN General Assembly Resolution 3237". UN General Assembly (via The Jerusalem Fund). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-10. สืบค้นเมื่อ 2011-09-29.
  18. Geldenhuys, Deon (1990). Isolated States: A Comparative Analysis. Cambridge Studies in International Relations. Vol. 15. Cambridge: Cambridge University Press. p. 155. ISBN 978-0-521-40268-2.
  19. UN General Assembly (9 December 1988). "United Nations General Assembly Resolution 43/177". UN Information System on the Question of Palestine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-17. สืบค้นเมื่อ 2011-09-29.
  20. Hillier, 1998, p. 205 (via Google Books).
  21. General Assembly Session 55 meeting 54: "Moreover, we are confident that in the near future we will truly be able to join the international community, represented in the Organization as Palestine, the State ..."
  22. "Palestinians win implicit U.N. recognition of sovereign state". Reuters. 29 November 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-05. สืบค้นเมื่อ 29 November 2012.
  23. "UN makes Palestine nonmember state". 3 News NZ. November 30, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-16. สืบค้นเมื่อ 2014-06-24.
  24. "General Assembly grants Palestine non-member observer State status at UN". United Nations News Centre. 29 November 2012. สืบค้นเมื่อ 2012-12-03.
  25. Murphy, Kim (10 September 1993). ""Israel and PLO, in Historic Bid for Peace, Agree to Mutual Recognition - Mideast - After Decades of Conflict, Accord Underscores Both Sides' Readiness To Coexist - Arafat Reaffirms the Renunciation of Violence in Strong Terms". Los Angeles Times. Retrieved 2011-9-27.
  26. Resolution 250 session 52 (retrieved 2010-09-21)
  27. pp. 44-49 of the written statement submitted by Palestine เก็บถาวร 2009-02-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (PDF format; requires Adobe Reader), 29 January 2004, in the International Court of Justice Advisory Proceedings เก็บถาวร 2015-09-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน on the Legal Consequences of the Construction of a Wall in the Occupied Palestinian Territory เก็บถาวร 2008-04-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, referred to the court เก็บถาวร 2009-02-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (PDF format; requires Adobe Reader) by U.N. General Assembly resolution A/RES/ES-10/14 (A/ES-10/L.16) adopted on 8 December 2003 at the 23rd Meeting of the Resumed Tenth Emergency Special Session.
  28. "Hamas leader's Tunisia visit angers Palestinian officials". English.alarabiya.net. 2012-01-07. สืบค้นเมื่อ 2012-09-01.
  29. "A/67/L.28 of 26 November 2012 and A/RES/67/19 of 29 November 2012". Unispal.un.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-10. สืบค้นเมื่อ 2012-12-02.
  30. Christmas Message from H.E. President Mahmoud Abbas เก็บถาวร 2014-11-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Christmas 2012: "133 countries that took the courageous step of recognizing the State of Palestine on the 1967 borders."
  31. Sayigh, Yezid (1999). Armed Struggle and the Search for State: The Palestinian National Movement, 1949–1993 (illustrated ed.). Oxford University Press. p. 624. ISBN 0-19-829643-6, 9780198296430. {{cite book}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help); ตรวจสอบค่า |isbn=: ตัวอักษรไม่ถูกต้อง (help)CS1 maint: postscript (ลิงก์) "The Palestinian National Council also empowered the central council to form a government-in-exile when appropriate, and the executive committee to perform the functions of government until such time as a government-in-exile was established."
Kembali kehalaman sebelumnya