Share to:

 

ตาคลี เจเนซิส

ตาคลี เจเนซิส
กำกับชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล
เขียนบทชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล
นักแสดงนำ
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่ายวอร์เนอร์บราเธอส์
วันฉาย12 กันยายน พ.ศ. 2567
ประเทศไทย
ภาษาไทย

ตาคลี เจเนซิส (อังกฤษ: Taklee Genesis) เป็นภาพยนตร์ไทยแนวไซไฟ ผจญภัย เขียนบทและกำกับโดยชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล นำแสดงโดยพอลล่า เทเลอร์, ปีเตอร์ คอร์ป ไดเรนดัล, วนรัตน์ รัศมีรัตน์, ทราย เจริญปุระ และณัฐชา นีน่า เจสซิกา พาโดวัน ภาพยนตร์เข้าฉายอย่างเป็นทางการวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2567 ทั้งในโรงภาพยนตร์ระบบปกติและไอแมกซ์ มีบริษัทผู้สร้างคือค่ายเนรมิตรหนัง ฟิล์ม และวอร์เนอร์บราเธอส์เป็นผู้จัดจำหน่าย[1]

นักแสดง

งานสร้าง

จุดเริ่มต้นของโครงการมาจากการที่ชูเกียรติได้ไปพบกับค่ายรามสูร อดีตสถานีตรวจจับสัญญาณที่กองทัพสหรัฐ จังหวัดอุดรธานี สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2507 ซึ่งได้พบกับสถานีเรดาร์ร้างขนาดใหญ่ที่ใช้สำหรับติดต่อสื่อสารพร้อมด้วยเสาสัญญาณล้อมรอบมากถึง 48 ต้น และมีอุโมงค์ใต้ดินที่ยาว 300 เมตร ชูเกียรติและทีมสร้างจึงได้ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่นี้เพิ่มเติม จนพบว่ามีสถานีเช่นนี้ 7 แห่งในโลก ส่วนที่มาของชื่อ ตาคลี มาจากอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งก็มีฐานทัพของกองทัพสหรัฐ ในช่วงสงครามเวียดนาม และมีเรื่องเล่าว่าเป็นฐานทัพที่อาจมีมนุษย์ต่างดาวอาศัยอยู่[2]

ตาคลี เจเนซิส มีทุนสร้างประมาณ 60 ล้านบาท[3] ภาพยนตร์ใช้เวลาพัฒนาบทอยู่ราวหนึ่งปี ถ่ายทำประมาณ 6 ถึง 8 เดือน[4]

ทีมงานสร้างภาพเทคนิคพิเศษคือ แฟตแคตสตูดิโอส์ (Fatcat Studios) ที่เคยทำงานในภาพยนตร์เรื่อง นาคี 2 (2561) และ ขุนแผน ฟ้าฟื้น (2562) นอกจากยังได้เอกสิทธิ์ ไทยรัตน์ นักวาดการ์ตูนที่เคยร่วมงานกับชูเกียรติมาแล้วใน 13 เกมสยอง มารับหน้าที่ออกแบบสัตว์ประหลาด โดยมีแนวคิดที่ต้องการนำเสนอคือประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและตํานานภาคอีสาน[5]

การตอบรับ

รายได้

ตาคลี เจเนซิส เปิดตัวบนตารางบ็อกซ์ออฟฟิศของไทยที่อันดับ 3 กับรายได้ 4 วันแรก 2.95 ล้านบาท (หรือ 3.18 ล้านบาท จากการรวมยอดรอบฉายพิเศษในคืนวันพุธ)[6]

คำวิจารณ์

มติชนสุดสัปดาห์ วิจารณ์ว่า แม้ ตาคลี เจเนซิส จะไม่ใช่หนังไทยระดับดีเลิศ ไม่ใช่ผลงานที่ยอดเยี่ยมที่สุดของชูเกียรติ และมีบาดแผล-จุดบกพร่องไม่ลงตัวอยู่พอสมควร ทว่า โดยพื้นฐานที่สุด ผลงานชิ้นนี้ของมะเดี่ยว ชูเกียรติ ก็ยังเป็น "เรื่องเล่า" ที่ดูสนุกและมีประเด็นชวนขบคิด-ถกเถียง ซ่อนแฝงไว้อยู่มากมาย[7]

อ้างอิง

  1. ทัศนีย์ สาลีโภชน์. "TAKLEE GENESIS (ตาคลี เจเนซิส) ก้าวที่ยิ่งใหญ่ของหนังไทย". กรุงเทพธุรกิจ.
  2. สุพัฒน์ ศิวะพรพันธ์. "Taklee Genesis สำรวจเบื้องหลังหนังไซไฟ-ผจญภัย จากวิสัยทัศน์ มะเดี่ยว ชูเกียรติ". เดอะสแตนดาร์ด.
  3. ""เนรมิตรหนัง ฟิล์ม" โชว์วิสัยทัศน์ ครั้งแรกกับการนำหนังไทยสู่ตลาดโลก ทุ่ม 60 ล้านประเดิมเรื่องแรก "ตาคลี เจเนซิส"". ผู้จัดการออนไลน์.
  4. ทัศนีย์ สาลีโภชน์. "บ้านเชียง ไดโนเสาร์ การเดินทางข้ามเวลาใน TAKLEE GENESIS (ตาคลี เจเนซิส)". กรุงเทพธุรกิจ.
  5. "ศิลปะแห่งการออกแบบสัตว์ประหลาด ความเป็นมนุษย์ และสงครามเย็น คุยกับ 'มะเดี่ยว-ชูเกียรติ' และ 'เอก-เอกสิทธิ์' จาก 13 เกมสยอง สู่ Taklee Genesis: ตาคลี เจเนซิส".
  6. "[Thailand Boxoffice] ไซไฟไทยยังไม่เกิด "ตาคลี เจเนซิส" ออกสตาร์ทแบบสูญสิ้นความหวัง".
  7. คนมองหนัง. "'ตาคลี เจเนซิส' : 'เรื่องเล่า' ที่สนุกและชวนขบคิด". มติชนสุดสัปดาห์.
Kembali kehalaman sebelumnya