Share to:

 

ตำนาน

ตำนาน (อังกฤษ: legend; ละติน: legenda, แปลว่า "สิ่งที่จะต้องอ่าน") คือ เรื่องเล่าขานที่มีมาแต่อดีต เปรียบได้เหมือนเครื่องมือที่ช่วยถ่ายทอดเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต ความคิด ความเชื่อ รวมถึงประเพณีต่าง ๆ ของคนในยุคอดีต อาจเป็นเรื่องจริงหรือไม่ก็ได้ อาจมีหลักฐานหรือไม่มีก็ได้

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ได้ให้นิยามของคำ "ตำนาน" ไว้ว่า[1]

น. เรื่องแสดงความเป็นมาแต่ปางหลังของสถานที่ บุคคล หรือพิธีกรรม เป็นต้น, เรื่องราวนมนานที่เล่ากันสืบ ๆ มา, เช่น ตำนานพุทธเจดีย์, ตำนานเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว; เรียกพระปริตรบทหนึ่ง ๆ ว่า ตำนาน ในคำว่า เจ็ดตำนาน สิบสองตำนาน.

ในหนังสือแบบเรียนประวัติศาสตร์ของกรมสามัญศึกษา ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 หน้า 74 ได้ให้นิยามของคำ "ตำนาน" และการใช้ประโยชน์จากตำนานในการศึกษาทางวิชาการไว้ว่า[2]

นิทานพื้นบ้าน นิทานปรัมปรา และเทพนิยายผสมผสานเข้าด้วยกัน เนื้อเรื่องส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับศาสนา การใช้ข้อมูลจากตำนานต้องตรวจสอบกับหลักฐานอื่น ๆ ให้ดีก่อน เพราะตำนานมักจะคัดลอกต่อ ๆ กันมา บางเรื่องมีหลายสำนวน เช่น ตำนานมูลศาสนา มีถึง 5 สำนวน การคัดลอกมีข้อความผิดพลาดตกหล่น บางครั้งก็เขียนต่อยาวกันเป็นพืด ทั้งที่เป็นคนละเรื่องกัน ทำให้ยากต่อการตีความ

ตัวอย่างของตำนาน

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 497.
  2. ณรงค์ พ่วงพิศ, วุฒิชัย มูลศิลป์ และคณะ. ประวัติศาสตร์ ม.๔. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์, 2547, หน้า 74. ISBN 974-408-626-2
Kembali kehalaman sebelumnya