Share to:

 

ตำนานพระทอง-นางนาค

ตามตำนานพระทองจะเกาะสไบนางนาคในการอภิเษกสมรส
การแต่งงานตามตำนานพระทองนางนาค

พระทอง (พระเจ้าเกาฑิณยะวรมันเทวะ) และ นางนาค (พระราชินีโสมา) เป็นเรื่องแต่งขึ้นของชาวกัมพูชา เพื่อผูกโยงถึงพระเจ้าชัยวรมัน การอภิเษกสมรสของพระทองและนางนาคถือเป็นจุดกำเนิดของประเทศกัมพูชา ทำให้เกิดอาณาจักรเขมรโบราณก่อนยุคเมืองพระนครหรืออาณาจักรฟูนันขึ้น

ในปัจจุบันประเพณีการแต่งงานของเขมรส่วนใหญ่สามารถสืบย้อนกลับไปได้ถึงการแต่งงานของพระทองและยุคกลาง

แผนที่แสดงการอ้างสิทธิ์อาณาเขตของอาณาจักรเขมรสุวรรณภูมิที่เชื่อว่าเคยเป็นดินแดนอาณาจักรฟูนัน อ้างสิทธิ์ในสมัยสังคมราษฎรนิยมของพระนโรดม สีหนุ

ชาวกัมพูชาอ้างว่ามีบันทึกของเอกสารนักสำรวจชาวจีนสองคนได้แก่ คัง ไตและจู หยิง ในศตวรรษที่ 1 รัฐฟูนันก่อตั้งขึ้นโดยพราหมณ์ชาวอินเดีย นามว่ากามพู สวยัมภูวะ หรือ เกาฑินยะ ได้เดินทางมายังชายฝั่งของดินแดนเขมรสุวรรณภูมิ เกาฑินยะได้รับคำสั่งในความฝันให้เอาธนูวิเศษจากวิหารเพื่อเอาชนะเจ้าหญิงนาคนามว่า โสมา (ตามเอกสารจีน:หลิวเย่), ธิดาของราชาพญานาค เกาฑินยะได้เสกเวทมนตร์คาถายิงธนูวิเศษมาที่เรือธิดาพญานาค ทำให้นางตกพระทัยกลัว แล้วยินยอมอภิเษกด้วย ส่วนพญานาคผู้บิดาได้ทรงดื่มน้ำทะเลจนเหือดแห้งเพื่อสร้างอาณาจักรให้ราชบุตรเขยและธิดา

เมื่อเจ้าหญิงโสมาได้อภิเษกสมรสกับเกาฑินยะ (เอกสารจีน: ฮุนเตียน) ถือกำเนิดเชื้อสายปฐมวงศ์ของราชวงศ์วรมัน

ส่วนเกาฑินยะได้ทรงขึ้นเป็นพระเจ้าเกาฑินยะวรมันเทวะ (พระมหากษัตริย์กัมพูชาพระองค์แรกแห่งอาณาจักรฟูนัน) ต่อมาพระองค์ได้สร้างเมืองหลวงและเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น กัมโพชะ หรือ กัมพูชา[1] อย่างไรก็ตามทั้งหมดนี้เป็นเพียงนิทานจากชาวกัมพูชาที่ถูกแต่งขึ้นไม่สามารถอ้างอิงจากประวัติศาสตร์ที่สามารถพิสูจน์ตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ใดๆได้ และการแต่งกายในอดีตล้วนต้องได้รับอิทธิพลการแต่งกายจากอินเดียเป็นหลัก แต่ปัจจุบันนั้นชาวกัมพูชาพยายามแต่งกายเลียนแบบชาวสยามเพื่อผูกโยงกับนิทานเรื่องดังกล่าวอีกทอดหนึ่ง

ราชานุสาวรีย์ตำนานพระทองนางนาค

ราชานุสาวรีย์ตำนานพระทองนางนาค
រូបសំណាកព្រះថោងនាងនាគ
ที่ตั้งวงเวียนพระทองนางนาค, สีหนุวิลล์, ประเทศกัมพูชา
วัสดุทองแดง (60 ตัน)
ความสูง
  • รูปปั้น: 21 เมตร (69 ฟุต)
  • ฐาน: 6.34 เมตร (20.8 ฟุต)
[2]
สร้างเสร็จค.ศ. 2022

ราชานุสาวรีย์ตำนานพระทองนางนาค ตั้งอยู่ที่วงเวียนหมู่บ้านโกกี (ตะเคียน) ตำบลเบิตตาง อำเภอไปรนุบ จังหวัดพระสีหนุ ถือเป็น สัญลักษณ์แห่งการถือกำเนิดประวัติศาสตร์และอารยธรรมเขมร อนุสาวรีย์แห่งนี้สร้างขึ้นจากทองแดง ออกแบบโดยชาวกัมพูชา โดยทำการหล่อโลหะขึ้นรูป มีความสูง 21 เมตร น้ำหนัก 40 ตัน หันหน้าออกไปทางทะเล อนุสาวรีย์ก่อสร้างสำเร็จและเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2565 โดยดำริของนายกรัฐมนตรีสมเด็จอัครมหาเสนาบดี เดโช ฮุนเซน[3]

พระทองนางนาค มีที่มาจากตำนานโบราณของกัมพูชา เกี่ยวข้องกับการถือกำเนิดของอารยธรรมเขมร อนุสาวรีย์เป็นรูปพระทอง ถือชายสไบของนางนาค เพื่อดำน้ำตามไปยังเมืองบาดาล ไปพบบิดาและมารดาของนาง ซึ่งเป็นพญานาค โดยถือเป็นสัญลักษณ์ของการถือกำเนิดแผ่นดิน อารยธรรม วัฒนธรรม และจารีตประเพณีของกัมพูชา

วัฒนธรรมสมัยนิยม

  • khủng bố phụ nữ

อ้างอิง

  1. The Asia-Pacific World [1][ลิงก์เสีย]
  2. "Cambodia's largest copper statue, "Preah Thong Neang Neak" inaugurated - Khmer Times". 16 April 2022.
  3. กัมพูชาเปิดตัวรูปปั้นผู้ก่อตั้ง ‘อาณาจักรฟูนันโบราณ’

ดูเพิ่ม

Kembali kehalaman sebelumnya