Share to:

 

ตำบลลุ่มสุ่ม

ตำบลลุ่มสุ่ม
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Lum Sum
ปางช้างไทรโยคริมแม่น้ำแควน้อย
ปางช้างไทรโยคริมแม่น้ำแควน้อย
ประเทศไทย
จังหวัดกาญจนบุรี
อำเภอไทรโยค
พื้นที่
 • ทั้งหมด174.20 ตร.กม. (67.26 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2565)
 • ทั้งหมด10,770 คน
 • ความหนาแน่น61.83 คน/ตร.กม. (160.1 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 71150
รหัสภูมิศาสตร์710201
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ลุ่มสุ่ม เป็น 1 ใน 7 ตำบลของอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เป็นที่ตั้งของศูนย์ราชการทั้งหมดของอำเภอ และเป็นที่ตั้งของสะพานถ้ำกระแซ ในทางรถไฟสายมรณะ เป็นถ้ำประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องสงครามโลกครั้งที่สอง เนื่องจากเป็นถ้ำที่อยู่ติดกับเส้นทางรถไฟที่เป็นช่วงหน้าผาพอดี ซึ่งเป็นจุดที่สร้างยากและอันตรายที่สุดของเส้นทางรถไฟ และเคยเป็นที่พักของเชลยศึก

สถานีรถไฟวังโพ สร้างในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเปิดใช้งานเดินรถครั้งแรกวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2495 ในช่วงที่ 2 ของการฟื้นฟูเส้นทางรถไฟสายน้ำตก
อดีตสถานีรถไฟลุ่มสุ่ม เดิมชื่อ "อ้ายหิต" สร้างในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเปิดใช้งานเดินรถครั้งแรกวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2495 ยุบเป็นที่หยุดรถไฟเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2520
ป้ายหยุดรถไฟถ้ำกระแซ

ที่ตั้งและอาณาเขต

ตำบลลุ่มสุ่มมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

แม่น้ำแควน้อยในเขตตำบลลุ่มสุ่ม

ประวัติ

"ลุ่มสุ่ม" ชื่อเมืองที่ปรากฏในเอกสารทางประวัติศาสตร์ไทยเป็นครั้งแรก ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งเป็นเมือง 1 ใน 7 ด่านของกาญจนบุรี ตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ในทางยุทธศาสตร์เพราะได้ตั้งให้พวกมอญอาสา มอญเชลยและกะเหรี่ยงเป็นเจ้าเมืองปกครองกันเอง เพื่อให้มีเกียรติศัพท์ดังออกไปเมืองพม่าว่ามีหัวเมืองแน่นหนาหลายชั้น และมีหน้าที่คอยตระเวน ด่านฟังข่าวคราวข้าศึกติดต่อกันโดยตลอด เมื่อสงครามว่างเว้นลงแล้ว เจ้าเมืองกรมการเหล่านี้ก็มีหน้าที่ส่งส่วย ทองคำ ดีบุกและสิ่งอื่นๆแก่รัฐบาล โดยเหตุที่ในสมัยนั้นมิได้จัดเก็บภาษีอากรจากพวกเหล่านี้แต่อย่างใด เมืองด่าน 7 เมือง ประกอบด้วยเมืองในแควน้อย 6 เมืองกับแควใหญ่ 1 เมืองคือ เมืองสิงห์ เมืองลุ่มสุ่ม เมืองท่าตะกั่ว เมืองไทรโยค เมืองท่าขนุน เมืองทองผาภูมิ เมืองท่ากระดาน เมืองต่างๆ เหล่าน้ีผู้สำเร็จราชการเมืองยังไม่มีพระนาม ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเป็นภาษาสันสกฤตแก่ผู้สำเร็จเมือง ดังนี้

  • เมืองลุ่มสุ่ม เป็นพระนินภูมิบดี ปัจจุบันเป็นต้นสุกล นินบดี จ่าเมืองหลวงบรรเทา

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเปลี่ยนแปลงการปกครองให้เป็นมณฑลเทศาภิบาลขึ้นใหม่ เมืองลุ่มสุ่มจึงได้ลดฐานะลงเป็น "ตำบลลุ่มสุ่ม" ขึ้นเมืองไทรโยค ต่อมาไทรโยคได้ลดฐานะลงเป็นกิ่งอำเภอในปี พ.ศ. 2449 ขึ้นกับอำเภอสังขละบุรี (ปัจจุบันคืออำเภอทองผาภูมิ)[1][2] ในปี พ.ศ. 2467 ได้ยุบอำเภอสังขละบุรีลงเป็นกิ่งและตั้งอำเภอวังกะขึ้นแทน จึงให้โอนกิ่งอำเภอไทรโยคไปขึ้นกับอำเภอวังก (ปัจจุบันคืออำเภอสังขละบุรี)[3] และให้ย้ายที่ว่าการกิ่งอำเภอไทรโยคไปที่ตำบลแม่กระบาล

จนถึงปี พ.ศ. 2479 ทางราชการได้ย้ายที่ว่าการกิ่งอำเภอไทรโยค อำเภอวังกะ จากตำบลแม่กระบาล มาตั้งที่บ้านวังโพ ของตำบลลุ่มสุ่มและโอนย้ายกิ่งอำเภอไทรโยค ของอำเภอวังกะ ไปขึ้นกับอำเภอเมืองกาญจนบุรี[4] ก่อนที่จะจัดตั้งกิ่งอำเภอไทรโยคขึ้นเป็น อำเภอไทรโยค ในปี พ.ศ. 2506 โดยตั้งศูนย์ราชการทั้งหมดไว้ที่ตำบลลุ่มสุ่ม

ตำบลลุ่มสุ่มมีพื้นที่ขนาดกว้างขวางมาก จึงมีการแบ่งหมู่บ้านออกเป็นตำบลต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2512 ทางราชการได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยแยกพื้นที่หมู่ 2–3, 5, 7–8, 10 ของตำบลลุ่มสุ่ม ไปตั้งขึ้นเป็นตำบลท่าเสา[5] ก่อนที่จะจัดตั้งเป็น ตำบลวังกระแจะ[6] ในภายหลัง และทางราชการได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยโดยโอนพื้นที่หมู่ 3 บ้านบ้องตี้บน ตำบลสิงห์ มาขึ้นกับตำบลลุ่มสุ่ม และตั้งเป็นหมู่ 5 บ้านบ้องตี้บน ของตำบลลุ่มสุ่ม[7] และแยกหมู่ที่ 5, 8–9 ของตำบลลุ่มสุ่ม ตั้งเป็น "ตำบลบ้องตี้" ในปี พ.ศ. 2519[8]

สวนเสือไทรโยค

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

ตำบลลุ่มสุ่มแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 11 หมู่บ้าน ได้แก่

หมู่ที่ 1 บ้านวังโพ (Ban Wang Pho)
หมู่ที่ 2 บ้านเขาสามชั้น (Ban Khao Sam Chan)
หมู่ที่ 3 บ้านลุ่มผึ้ง (Ban Lum Phueng)
หมู่ที่ 4 บ้านหนองขอน (Ban Nong Khon)
หมู่ที่ 5 บ้านช่องอ้ายกาง (Ban Chong Ai Kang)
หมู่ที่ 6 บ้านไทรทอง (Ban Sai Thong)
หมู่ที่ 7 บ้านพุน้อย (Ban Phu Noi)
หมู่ที่ 8 บ้านเสรีธรรม (Ban Seri Tham)
หมู่ที่ 9 บ้านไตรรัตน์ (Ban Trai Rat)
หมู่ที่ 10 บ้านลุ่มสุ่ม (Ban Lum Sum)
หมู่ที่ 11 บ้านหินงามพุพูล (Ban Hin Ngam Phu Phun)

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่ตำบลลุ่มสุ่มมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2 แห่ง คือ เทศบาลตำบลวังโพธิ์ และองค์การบริหารส่วนตำบลลุ่มสุ่ม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลุ่มสุ่มทั้งหมด

ประชากร

พื้นที่ตำบลลุ่มสุ่มประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งสิ้นจำนวน 11 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากร 10,770 คน แบ่งเป็นชาย 5,490 คน หญิง 5,280 คน (เดือนธันวาคม 2565)[9] เป็นตำบลที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ในอำเภอไทรโยค

      หมายถึงจำนวนประชากรได้เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้คงเดิมเมื่อเทียบกับปีก่อน
      หมายถึงจำนวนประชากรได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน

* ปี พ.ศ. 2558 มีการรวมผู้ที่ไม่ได้สัญชาติไทยในทะเบียนราษฎร ส่งผลให้ข้อมูลจำนวนประชากรปีดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก

หมู่บ้าน พ.ศ. 2565[10] พ.ศ. 2564[11] พ.ศ. 2563[12] พ.ศ. 2562[13] พ.ศ. 2561[14] พ.ศ. 2560[15] พ.ศ. 2559[16]
*วังโพ 1,931 1,964 1,981 1,981 1,965 1,958 1,966
ไตรรัตน์ 1,799 1,794 1,762 1,750 1,731 1,713 1,676
เขาสามชั้น 1,606 1,595 1,566 1,545 1,525 1,527 1,506
ลุ่มผึ้ง 992 987 988 997 997 981 965
ไทรทอง 768 768 763 745 755 748 726
พุน้อย 729 725 721 721 721 723 723
ช่องอ้ายกาง 658 670 667 657 643 636 632
หนองขอน 653 671 687 694 687 684 676
หินงามพุพูล 652 658 637 643 643 630 623
ลุ่มสุ่ม 525 529 521 516 518 522 538
เสรีธรรม 295 297 299 300 313 302 293
**ทะเบียนกลาง

ทต.วังโพธิ์

81 99 96 113 126 135 140
**ทะเบียนกลาง

อบต.ลุ่มสุ่ม

81 80 97 152 164 164 165
รวม 10,770 10,837 10,785 10,814 10,788 10,723 10,629

*หมู่บ้านวังโพตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลวังโพธิ์ทั้งหมู่บ้าน

อ้างอิง

  1. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบอำเภอไทรโยค อำเภอศรีสวัสดิ์เป็นกิ่งอำเภอ และย้ายอำเภอสังขละบุรีมาตั้งที่เมืองท่าขนุน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 23 (53): 1332. วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2449
  2. "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยุบอำเภอไทรโยค อำเภอศรีสวัสดิ์เป็นกิ่งอำเภอ ย้ายที่ว่าการอำเภอสังขละมาตั้งที่ท่าขนุน คงเรียงว่าอำเภอสังขละและที่ว่าการอำเภอสังขละเดิม ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเรียกว่ากิ่งอำเภอวังกะ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 24 (5): 92. วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2450
  3. "ประกาศ เรื่อง จัดการเปลี่ยนแปลงอำเภอในจังหวัดกาญจนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 41 (0 ก): 75–76. วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2467
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ย้ายที่ว่าการกิ่งอำเภอไทรโยค และเปลี่ยนแปลงเขตต์อำเภอและเขตต์ตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 53 (0 ง): 1912–1913. วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2479
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบล ในท้องที่อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 89 (149 ง): 2524–2526. วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2515
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองกาญจนบุรี และอำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 92 (207 ง): 2475–2481. วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2518
  7. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 92 (24 ง): 343–344. วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (140 ง): 3131–3133. วันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2519
  9. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [1] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  10. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [2] 2565. สืบค้น 24 มกราคม 2565.
  11. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [3] 2564. สืบค้น 18 มีนาคม 2564.
  12. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: [4] 2563. สืบค้น 10 มกราคม 2563.
  13. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2561." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/036/T_0032.PDF 2562. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2562.
  14. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/E/041/22.PDF 2561. สืบค้น 26 กุมภาพันธ์ 2561.
  15. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat59.htm 2560. สืบค้น 3 มีนาคม 2560.
  16. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/stat/y_stat58.htm 2558. สืบค้น 16 กุมภาพันธ์ 2559.
Kembali kehalaman sebelumnya