ทมิฬอีฬัม
ทมิฬอีฬัม (ทมิฬ: தமிழீழம் หรือ தமிழ் ஈழம், tamiḻ īḻam หรือ Tamil Eelam) หรือเอกสารไทยนิยมทับศัพท์ว่า ทมิฬอีแลม เป็นรัฐเอกราชที่มีการเสนอโดยชาวทมิฬศรีลังกาและชาวทมิฬศรีลังกาโพ้นทะเล กินอาณาเขตทางเหนือและตะวันออกของประเทศศรีลังกา[5][6][7][8][9] ชื่อทมิฬอีฬัมมาจากชื่อภาษาทมิฬที่เรียกศรีลังกาในอดีตว่า อีฬัม[10] แนวคิดทมิฬอีฬัมมีพื้นฐานจากการสร้างแผ่นดินแม่ของชาวทมิฬศรีลังกา[11] และในปัจจุบันยังคงไม่ได้รับการรับรองโดยรัฐเอกราชอื่นใด พื้นที่ส่วนใหญ่ของศรีลังกาตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ภายใต้การปกครองโดยพฤตินัยของพยัคฆ์ปลดปล่อยทมิฬอีฬัม (LTTE) ในสมัยปี 1990s–2000s ระหว่างสงครามกลางเมืองศรีลังกา ในปี 1956 Illankai Tamil Arasu Kachchi (ITAK) พรรคการเมืองทมิฬที่มีบทบาทมากที่สุดในศรีลังกา (ในเวลานั้นคือซีลอน) ได้ทำการล็อบบีให้รัฐใหม่ที่จะเกิดขึ้นให้สิทธิทั้งชาวทมิฬส่วนน้อย และชาวสิงหลซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ ได้รับสิทธิเท่าเทียมกัน ซึ่งรวมถึงการมีภาษาราชการสองภาษา คือทมิฬปละสิงหล รวมถึงการให้อำนาจปกครองตนเองแก่ภูมิภาคของชาวทิมฬในประเทศ อย่างไรก็ตาม ท้ายที่สุด ในรัฐบัญญัติว่าด้วยภาษาทางการ มาตรา 33 ปี 1856 (Official Language Act No. 33 of 1956) หรือที่รู้จักในชื่อกฎหมายภาษาสิงหลเท่านั้น ได้รับการผ่านร่างโดยรัฐสภา ซึ่งเปลี่ยนภาษาราชการจากอังกฤษเป็นสิงหล โดยไม่มีการรับรองภาษาทมิฬ ชาวทมิฬมองว่าการกระทำนี้เป็นความพยายามในการจัดตั้งรัฐชาติพุทธสิงหล ถึงแม้จะมีการลงนามในทั้ง Bandaranaike–Chelvanayakam Pact และ Senanayake-Chelvanayakam Pact แต่รัฐสภาซึ่งมีชาวสิงหลเป็นหลักก็ไม่ได้ให้การรับรอง การไม่รับรองภาษาและสิทธิของชาวทมิฬในรัฐสภาสิงหลนี้ทำให้เกิดความไม่พอใจในชาวทิมฬศรีลังกามาก ในการเลือกตั้งผู้แทนรัฐสภาปี 1970 พรรค United Front นำโดย Sirimavo Bandaranaike ชนะและขึ้นมาครองเสียงส่วนใหญ่ในรัฐสภา รัฐบาลนี้ได้นำเอานโยบายสองประการมาใช้ซึ่งถูกมองว่าเป็นการเลือกปฏิบัติต่อชาวทมิฬ คือ นโยบายสร้างมาตรฐานควบคุมการเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยซึ่งถูกมองว่าเป็นการพยายามจำกัดจำนวนชาวทมิฬและชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ ไม่ให้เข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา และอีกนโยบายคล้ายกันสำหรับใช้ในการจ้างงานของหน่วยงานรัฐ ซึ่งทำให้งานข้าราชการน้อยกว่า 10% เปิดรับสำหรับผู้พูดภาษาทมิฬ อ้างอิง
|