Share to:

 

ทศพิธราชธรรม

ทศพิธราชธรรม หรือ ราชธรรม 10 คือจริยวัตร 10 ประการที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็นหลักธรรม ประจำพระองค์ หรือเป็นคุณธรรมประจำตนของผู้ปกครองบ้านเมือง ให้มีความเป็นไปโดยธรรมและยังประโยชน์สุขให้เกิดแก่ประชาชนจนเกิดความชื่นชมยินดี ซึ่งความจริงแล้วไม่ได้จำเพาะเจาะจงสำหรับพระเจ้าแผ่นดินหรือผู้ปกครองแผ่นดินเท่านั้น บุคคลธรรมดาที่เป็นผู้บริหารระดับสูงในทุกองค์กรก็พึงใช้หลักธรรมเหล่านี้

คำบัญญัติ

ทศพิธราชธรรม เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ราชธรรม 10" นี้ ปรากฏอยู่ในมหาหังสชาดก พระสูตร ขุททกนิกาย ชาดก ปรากฏพระคาถา

ทานํ สีลํ ปริจฺจาคํ อาชฺชวํ มทฺทวํ ตปํ

อกฺโกธํ อวิหึสญฺจ ขนฺติญฺจ อวิโรธนํ.

ขุ.ชา.28/240/86
  • ทาน (ทานํ) คือ การให้ ให้ความรู้ ให้ธรรมะ ให้การศึกษา ให้การงาน ให้โอกาส การพัฒนาแหล่งน้ำ แบ่งปันที่ดินทำกิน เพื่อให้อยู่ดีกินดี การใช้อำนาจเพื่อทำให้ประชาชนเกิดความสุขโดยรวม
  • ศีล (สีลํ) คือ ความประพฤติที่ดีงาม ทั้ง กาย วาจา เพื่อวางตนเป็นแบบอย่าง ไม่ประพฤติผิดจารีตประเพณีและกฎหมายที่คนทั่วไปรักษา
  • บริจาค (ปริจาคํ) คือ การช่วยเหลือผู้ที่กำลังเดือดร้อน การให้เงินเดือนแก่คนที่ทำหน้าที่อย่างเสียสละ เช่นทหารผ่านศึก ไม่ให้ลำบากจนเกินไป เมื่อเกิดข้าวยากหมากแพงฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาลทำการเกษตรไม่ได้เศรษฐกิจไม่ดีหรือมีสงคราม ก็ไม่ควรเก็บภาษีจนเดือดร้อนประชาชนที่กำลังลำบาก การให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดความลำบากเช่นฝนแล้งน้ำท่วมหรือเกิดภัยพิบัติต่างๆ การช่วยเหลือคนยากไร้ ดูแลคนเป็นบ้าอนาถาไร้ที่พึ่ง
  • ความซื่อตรง (อาชฺชวํ) คือ การสุจริตต่อหน้าที่การงานของตน ต่อมิตรสหาย ต่อองค์กรหรือหลักการของตน เปิดเผยข้อมูล นโยบายที่เป็นประโยชน์ ไม่ปิดบังอำพราง เปิดเผยการใช้จ่ายภาษี ไม่คดโกง
  • ความอ่อนโยน (มทฺทวํ) คือ การมีอัธยาศัยอ่อนโยน เป็นกันเอง ไม่เย่อหยิ่งถือตน
  • ความเพียร (ตปํ) คือ ความเพียรพยายามในการทำความสุขเพื่อส่วนรวม การเสียสละความสุขส่วนตนเพื่อความสุขส่วนรวม
  • ความไม่โกรธ (อกฺโกธํ) คือ การไม่แสดงอาการโกรธ เพราะผู้ปกครองที่ขี้โกรธ คนย่อมไม่กล้าทักท้วง ทำให้มีแต่คนยกยอปอปั้น แต่เมื่อเกิดข้อผิดพลาด ต่างจะปกปิดสิ่งผิดพลาด ปิดหูปิดตา จนนำไปสู่ความฉิบหายในที่สุด
  • ความไม่เบียดเบียน (อวิหิงสา) คือ ไม่ออกกฎหมายหรือระเบียบที่ทำให้ยากลำบากในการเป็นอยู่จนเกินไป การที่ผู้ปกครองไม่รังแกผู้อ่อนแอกว่า การออกกฎเกณฑ์ปกป้องไม่ให้มีการรังแกกัน
  • ความอดทน (ขนฺติ) คือการรักษาปกติภาวะของตนไว้ได้ ไม่ว่าจะถูกกระทบกระทั่งด้วยสิ่งอันเป็นที่พึงปรารถนาหรือไม่พึงปรารถนาก็ตาม มีความมั่นคงหนักแน่นไม่หวั่นไหว เป็นเรื่องธรรมดาที่ผู้ปกครองย่อมต้องเจอคำนินทา ปัญหาและอุปสรรคนานาประการ
  • ความเที่ยงธรรม (อวิโรธนํ) คือ ความหนักแน่น ถือความถูกต้อง เที่ยงธรรมเป็นหลัก ไม่หูเบา เชื่อคนง่าย มีหลักการ ไม่เป็นไม้หลักปักขี้เลน เอนไปเอนมาตามคำยุยง มีความยุติธรรม ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง

ประวัติ

ในอดีตมีพระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่งที่ทรงเป็นตัวอย่างของคุณธรรมสิบประการของผู้ปกครองคือพระเจ้าอโศกมหาราช (พ.ศ. 239-พ.ศ. 311) ซึ่งปกครองอินเดียมา 41 ปี ในช่วงต้นของรัชกาลทรงเป็นนักรบผู้ยิ่งใหญ่ชนะการต่อสู้หลายครั้งและยังคงขยายอาณาจักรอินเดียในช่วงแปดปีแรกของการครองราชย์ของพระองค์ หลังจากการสู้รบอย่างนองเลือด ครั้งหนึ่งกษัตริย์ได้ทรงเล็งเห็นชัยชนะของกองทัพของพระองค์และได้ทรงเห็นการสังหารรอบ ๆ พระองค์อย่างมีชื่อเสียงแล้วทรงตรัสออกมาว่า "ข้าฯได้ทำอะไรไปแล้ว?" ต่อจากนั้นเขาเลื่อมใสพระพุทธศาสนา เป็นที่รู้จักในนาม 'ธรรมาโศก' หรือ "อโศกผู้ถือธรรมะ" พระองค์ทรงให้ความสำคัญกับการโปรดสัตว์ มีการสร้างโรงพยาบาลและมหาวิทยาลัยเพื่อให้ผู้คนและสัตว์ และสร้างระบบชลประทานเพื่อการค้าและการเกษตร พระราชายังสละการใช้ความรุนแรงยุติการสู้รบทางทหารกับเพื่อนบ้านของพระองค์แทนที่จะส่งพระภิกษุและแม่ชีไปต่างประเทศเพื่อเผยแผ่คำสอนทางพุทธศาสนาเกี่ยวกับภูมิปัญญาและความเมตตา อันที่จริงพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระเจ้าอโศกมหาราชที่เป็นพระภิกษุและภิกษุณีพาพระพุทธศาสนาไปยังศรีลังกาซึ่งยังคงเป็นความเชื่อที่โดดเด่นมาจนถึงทุกวันนี้ นี่ไม่ได้เป็นการบอกว่าพระองค์ทรงส่งเสริมพระพุทธศาสนาด้วยพระราชทรัพย์ของศาสนาอื่น ๆ อย่างไรก็ตามในขณะที่พระองค์ยังทรงสนับสนุนความอดทนและความเข้าใจระหว่างลัทธิต่าง ๆ และกลุ่มชาติพันธุ์ พระอโศกมหาราชนั้นเป็นที่จดจำของบรรดาพุทธศาสนิกชนและผู้ที่ไม่ได้นับถือศาสนาพุทธเหมือนเป็นตัวอย่างของผู้ปกครองที่มีความเห็นอกเห็นใจและความยุติธรรมผู้ซึ่งอาศัยอยู่ตามคุณธรรมของผู้ปกครองทั้งสิบประการ

Kembali kehalaman sebelumnya