Share to:

 

นกพิราบนักเดินทาง

นกพิราบนักเดินทาง
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 5.33–0Ma Zanclean-Holocene[1]
นกพิราบนักเดินทางเพศเมียที่อาศัยในaviary of C. O. Whitmanในปี1898
สถานะการอนุรักษ์

Presumed Extinct  (1914)  (NatureServe)[3]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์ปีก
อันดับ: Columbiformes
วงศ์: วงศ์นกพิราบและนกเขา

Swainson, 1827
สกุล: Ectopistes

(Linnaeus, 1766)
สปีชีส์: Ectopistes migratorius
ชื่อทวินาม
Ectopistes migratorius
(Linnaeus, 1766)
Distribution map, with former range in orange and breeding zone in red
ชื่อพ้อง
  • Columba migratoria Linnaeus, 1766
  • Columba canadensis Linnaeus, 1766
  • Ectopistes migratoria Swainson, 1827

นกพิราบนักเดินทาง (อังกฤษ: passenger pigeon, Ectopistes migratorius) เป็นสปีชีส์ของนกพิราบหนึ่งที่สูญพันธุ์ไปแล้ว เคยอาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ ชื่อสามัญและชื่อทางวิทยาศาสตร์ของสปีชีส์นี้อธิบายถึงนิสัยการอพยพของมัน

นกพิราบนักเดินทางมีลักษณะทางเพศที่แตกต่างกันทั้งในด้านขนาดและสีสัน ตัวผู้มีความยาวประมาณ 390-410 มม.[4] ลำตัวส่วนบนมีเป็นสีเทาเป็นหลัก ส่วนล่างมีสีเทาที่อ่อนกว่า บริเวญขอมีขนสีเหลือบสัมฤทธิ์ และมีจุดสีดำบนปีก ตัวเมียมีความยาว 380-400 มม. โดยรวมมีสีที่หมองและน้ำตาลกว่าตัวผู้ ลูกนกจะมีลักษณะคล้ายกับตัวเมียแต่ขาดขนสีเหลือบที่คอ [5][4] นกพิราบนักเดินทางรับประทานผลเปลือกแข็งเป็นหลัก นอกจากนี้ยังรับประทานผลไม้และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

นกพิราบนักเดินทางอาศัยอยู่ในไม้ผลัดใบในทางภาคตะวันออกของทวีปอเมริกาเหนือเป็นหลัก และมีการบันทึกว่าพบในพื้นที่อื่น ๆ แต่การขยายพันธุ์ของมันมักเกิดขึ้นในบริเวณรอบเกรตเลกส์[6] นกพิราบชนิดนี้อพยพเป็นฝูงขนาดใหญ่ โดยจะเดินทางเพื่อค้นหาอาหาร ที่พักพิง และที่ผสมพันธุ์[7][8] นกพิราบนักเดินทางเคยเป็นนกที่มีจำนวนมากที่สุดในอเมริกาเหนือ โดยมีจำนวนประมาณ 3 พันล้านตัว และอาจมากถึง 5 พันล้านตัว นอกจากนี้ยังเป็นนกสี่สามารถบินได้รวดเร็วเป็นอย่างมากด้วยความเร็วถึง 100 กม./ชม[9].

นกพิราบนักเดินทางถูกล่าโดยชนพื้นเมืองอเมริกัน แต่การล่าทวีความรุนแรงขึ้นหลังจากชาวยุโรปเข้ามาพักอาศัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในศตวรรษที่ 19 โดยเนื้อนกพิราบถูกค้าขายเป็นอาหารราคาถูก ส่งผลให้มีการล่าขนาดใหญ่เป็นเวลาหลายทศวรรษ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่น ๆ เช่นการลดจำนวนลงของประชากรที่สามารถสืบพันธุ์ได้ ซึ่งไม่เพียงพอต่อการอนุรักษ์สายพันธุ์ และการตัดไม้ทำลายป่าซึ่งทำลายแหล่งที่อยู่มาศัยของมัน ซึ่งล้วนส่งผลให้นกพิราบนักเดินทางลดจำนวนลงและสูญพันธุ์ในที่สุด ประชากรมีการลดลงอย่างช้า ๆ ระหว่างประมาณปี 1800 ถึง 1870 ตามด้วยการลดลงอย่างรวดเร็วระหว่างปี ค.ศ. 1870 ถึง 1890 และในปี ค.ศ. 1900 นกพิราบนักเดินทางป่าตัวสุดท้ายที่ได้รับการยืนยันถูกยิงในทางตอนใต้ของรัฐโอไฮโอ[2][10]

นกกลุ่มสุดท้ายที่ถูกจับมาเลี้ยงถูกแบ่งออกเป็นสามกลุ่มในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 โดยบางกลุ่มมีภาพถ่ายขณะมีชีวิตอยู่ มาร์ธา ซึ่งเชื่อว่าเป็นนกพิราบนักเดินทางตัวสุดท้าย เสียชีวิตเมื่อวันที่ 1 กันยายน 1914 ที่สวนสัตว์ซินซินนาติ การหายไปของนกพิราบนักเดินทางเป็นตัวอย่างที่สำคัญของการสูญพันธุ์ที่เกิดจากมนุษย์

อ้างอิง

  1. "†Ectopistes Swainson 1827 (passenger pigeon)". PBDB.
  2. 2.0 2.1 แม่แบบ:Cite IUCN
  3. "Ectopistes migratorius. NatureServe Explorer 2.0". explorer.natureserve.org. สืบค้นเมื่อ 31 March 2022.
  4. 4.0 4.1 Gibbs, D.; Barnes, E.; Cox, J. (2001). Pigeons and Doves: A Guide to the Pigeons and Doves of the World. Sussex: Pica Press. pp. 318–319. ISBN 978-1-873403-60-0.
  5. Fuller 2014, pp. 150–161
  6. Blockstein 2002, p. 3
  7. Fuller, E. (2014). The Passenger Pigeon. Princeton and Oxford: Princeton University Press. ISBN 978-0-691-16295-9. pp. 30-47.
  8. Blockstein 2002, p. 2
  9. Blockstein, D. E. (2002). "Passenger Pigeon Ectopistes migratorius". ใน Poole, A.; Gill, F. (บ.ก.). Birds of North America. Philadelphia: The Birds of North America, Inc., Cornell Lab of Ornithology. p. 611. สืบค้นเมื่อ October 8, 2024.
  10. Henninger, W. F. (1902). "A Preliminary List of the Birds of Middle Southern Ohio". The Wilson Bulletin. 14 (3): 77–93. ISSN 0043-5643. JSTOR 4153807.
Kembali kehalaman sebelumnya