Share to:

 

นกแซงแซวหางปลา

นกแซงแซวหางปลา
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Passeriformes
วงศ์: Dicruridae
สกุล: Dicrurus
สปีชีส์: D.  macrocercus
ชื่อทวินาม
Dicrurus macrocercus
(Vieillot, 1817)
Subspecies

D. m. macrocercus (Vieillot, 1817)[2]
D. m. albirictus (Hodgson, 1836)[3]
D. m. minor Blyth, 1850[4]
D. m. cathoecus Swinhoe, 1871[5]
D. m. thai Kloss, 1921[6]
D. m. javanus Kloss, 1921[6]
D. m. harterti Baker, 1918[7]

การกระจายพันธุ์
ชื่อพ้อง

Buchanga atra
Bhuchanga albirictus[8]

นกแซงแซวหางปลา (อังกฤษ: Black Drongo, ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dicrurus macrocercus) เป็นนกจับคอนขนาดเล็กในวงศ์นกแซงแซว พบทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอิหร่าน ไปทางตะวันออกถึงอินเดียและศรีลังกา ทางใต้ไปถึงจีน และอินโดนีเซีย ในประเทศไทยพบได้บ่อยมากทั่วประเทศ จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535[9]

อนุกรมวิธาน

นกแซงแซวหางปลาจัดอยู่ในวงศ์นกแซงแซว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dicrurus macrocercus ชื่อสกุล Dicrurus มาจากภาษากรีก คือ dikroos, dikros หมายถึงแยกเป็นแฉก และ oura แปลว่า หาง ซึ่งรวมความแล้วหมายถึง สกุลของนกที่มีหางเป็นแฉก ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของนกแซงแซว

ชื่อบ่งชนิด macrocercus มาจากภาษากรีก คำว่า marokerkos แปลว่า หางยาว ดังนั้น ชื่อวิทยาศาสตร์ของนกแซงแซวหางปลาจึงหมายถึง นกที่มีหางยาวเป็นแฉก[10]

ลักษณะ

นกแซงแซวหางปลาตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะเหมือนกัน ขนาดความยาวลำตัวประมาณ 28 เซนติเมตร ขนทั่วลำตัวมีสีดำเหลือบน้ำเงิน ปลายหางเป็นแฉกคล้ายหางปลาตะเพียน ปากบนขบปากล่าง ปากสีดำ ขาสีดำ เท้าสีดำ ตาแดงที่ม่านตา แต่ตาดำเป็นสีดำ

การกระจายพันธุ์

พบในอิหร่าน อินเดีย จีน ไต้หวัน ชวา อินโดจีน และในประเทศไทยเป็นนกประจำถิ่น พบทั่วไปเกือบทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่ชุมพรลงไป ซึ่งจะพบว่าเป็นนกอพยพมาในช่วงฤดูหนาว

พฤติกรรม

นกแซงแซวหางปลาเป็นนกแซงแซวชนิดเดียวที่ชอบเกาะอยู่ ตามกิ่งไม้ที่โล่งแจ้ง ตามท้องทุ่งริมทางตามแหล่งน้ำ ไม่ชอบลงมาตามพื้นดิน มักหากินเพียงตัวเดียว หรืออยู่เป็นคู่ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ เป็นนกที่ไม่กลัวนกอื่น หากมีนกอื่นมาใกล้จะไล่จิกตี สามารถร้องเลียนเสียงนกชนิดอื่น กินอาหารโดยบินออกจากที่เกาะโฉบจิกแมลงที่กำลังบิน[11] บางครั้งออกหากินฝูงเล็กๆ 3-6 ตัว

นกชนิดนี้ผสมพันธุ์ในช่วงเดือนเมษายน-สิงหาคม ทำรังอยู่บนต้นไม้สูงด้วยกิ่งไม้เล็ก ๆ ขัดสานเป็นรูปถ้วย มีแอ่งตรงกลางไว้วางไข่รองด้วยขนสัตว์และหญ้าอ่อน วางไข่ครั้งละ 3-4 ฟอง[9]

อ้างอิง

  1. BirdLife International (2012). "Dicrurus macrocercus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.1. สืบค้นเมื่อ 16 July 2012.
  2. Vieillot, Louis Jean Pierre (1817). Nouveau Dictionnaire d'Histoire Naturelle Appliquée aux Arts. 9: 588. {{cite journal}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  3. Hodgson, Brian Houghton (1836). The India Review and Journal of Foreign Science and the Arts. 1 (8): 326. {{cite journal}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  4. Blyth, Edward (1850). The Journal of the Asiatic Society of Bengal. 19: 255. {{cite journal}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  5. Swinhoe, Robert (1871). Proceedings of the Scientific Meetings of the Zoological Society of London for the Year. 2: 377. {{cite journal}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  6. 6.0 6.1 Kloss, Cecil Boden (1921). Journal of the Federated Malay States Museums. 10. pt. 3: 208. {{cite journal}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  7. Baker, Edward Charles Stuart (1918). "Some Notes on the Dicruridae". Novitates Zoologicae. 25: 299.
  8. Neave, Sheffield A., บ.ก. (1939). Nomenclator Zoologicus; a List of the Names of Genera and Subgenera in Zoology from the Tenth Edition of Linnaeus, 1758, to the End of 1935 (with supplements). Volume 1. Zoological Society of London, London. p. 425.
  9. 9.0 9.1 นกแซงแซวหางปลา[ลิงก์เสีย] ศูนย์รวมข้อมูลสิ่งมีชีวิตในประเทศไทย
  10. นกแซงแซวหางปลา เก็บถาวร 2015-10-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน
  11. Chari, N.; Janaki Rama Rao, N., Ramesh, R. & Sattaiah, G. (1982). "Comparative studies on flight characteristics, moment of inertia and flight behaviour of two fly-catchers, Dicrurus adsimilis and Merops orientalis". Ind. J. Exp. Biol. 20: 894–896.
Kembali kehalaman sebelumnya