Share to:

 

นครมายา

ใจกลางของติกัล หนึ่งในนครมายาที่ทรงอำนาจที่สุดในสมัยคลาสสิก
แผนที่ภูมิภาคมายาแสดงที่ตั้งของนครหลักบางนคร

นครมายาเป็นศูนย์กลางประชากรของอารยธรรมมายาสมัยก่อนโคลัมบัสในมีโซอเมริกา ทำหน้าที่พิเศษทางการบริหาร การค้า การผลิต และศาสนาซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของนครโบราณทั่วโลก[1] นครมายามีแนวโน้มที่จะตั้งอยู่กระจัดกระจายมากกว่ากลุ่มนครในสังคมอื่น ๆ แม้แต่ภายในมีโซอเมริกาเอง อันเป็นผลมาจากการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมแบบที่ลุ่มเขตร้อนซึ่งเอื้อต่อการผลิตอาหารท่ามกลางพื้นที่ที่ใช้ประกอบกิจกรรมอื่น ๆ[1] นครมายาไม่มีผังเมืองแบบตาตารางอย่างนครในที่สูงทางตอนกลางของเม็กซิโก (เช่น เตโอตีวากาน, เตนอชตีตลัน)[2] กษัตริย์มายาปกครองอาณาจักรจากพระราชวังที่ตั้งอยู่ใจกลางนคร[3] นครต่าง ๆ มักตั้งอยู่ในบริเวณที่สามารถควบคุมเส้นทางการค้าหรือสามารถจัดส่งผลผลิตที่จำเป็น[4] สิ่งนี้ทำให้อติชนที่ควบคุมการค้าสามารถเพิ่มพูนความมั่งคั่งและสถานะของตนเอง[4] นครเหล่านี้สามารถจัดสร้างวิหารสำหรับประกอบพิธีสาธารณะได้ จึงดึงดูดผู้คนให้เข้ามาอาศัยมากขึ้น[4] นครที่มีสภาพเอื้ออำนวยต่อการผลิตอาหารและเข้าถึงเส้นทางการค้าได้มีแนวโน้มที่จะพัฒนาเป็นเมืองหลวงของบรรดาแว่นแคว้นมายาในยุคเริ่มแรก[4]

ความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างนครรัฐมายาสมัยคลาสสิกมักถูกนำไปเปรียบเทียบกับความสัมพันธ์ระหว่างนครรัฐในกรีซสมัยคลาสสิกและอิตาลีสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา[5] นครบางนครเชื่อมโยงกันโดยตรงผ่านถนนหินปูนที่เรียกว่า ซักเบ แต่วัตถุประสงค์ของการสร้างถนนเหล่านี้จะเป็นไปเพื่อการค้า การเมือง หรือศาสนานั้นยังไม่สามารถสรุปได้อย่างแน่ชัด[6]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Sharer & Traxler 2006, p.71.
  2. Graham 2005, p.4.
  3. Martin & Grube 2000, p.15.
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 Sharer & Traxler 2006, p.85.
  5. Martin & Grube 2000, p.21.
  6. Olmedo Vera 1997, p.35.

บรรณานุกรม

  • Graham, Elizabeth (2005). "Maya cities and the character of a tropical urbanism" (PDF). Uppsala, Sweden: Uppsala University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2011-03-01.
  • Martin, Simon; Nikolai Grube (2000). Chronicle of the Maya Kings and Queens: Deciphering the Dynasties of the Ancient Maya. London and New York: Thames & Hudson. ISBN 0-500-05103-8. OCLC 47358325.
  • Olmedo Vera, Bertina (1997). A. Arellano Hernández; และคณะ (บ.ก.). The Mayas of the Classic Period. Mexico: Consejo Nacional para la Cultura y las Artes (National Council for Culture and the Arts). pp. 9–99. ISBN 970-18-3005-9. OCLC 42213077.
  • Sharer, Robert J.; Loa P. Traxler (2006). The Ancient Maya (6th (fully revised) ed.). Stanford, CA: Stanford University Press. ISBN 0-8047-4817-9. OCLC 57577446.
Kembali kehalaman sebelumnya