Share to:

 

นายกเทศมนตรี (ประเทศไทย)

ในประเทศไทย นายกเทศมนตรี มาจากการปกครองที่มีต่อจากการปกครองแบบเทศาภิบาล ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เป็นผู้ตราขึ้น หน้าที่หลักของนายกเทศมนตรี ก็คือ นายกเทศมนตรีจะมี การปกครองแบบพิเศษ (ซึ่งมิใช่การปกครองแบบท้องถิ่น หรือในรูปแบบที่เรียกว่าอำเภอ หรือที่ว่าการอำเภอ หรือสภาตำบล กำนัน หรือ ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งเรียกว่าการปกครองร่วมแบบท้องถิ่น)

การปกครองแบบพิเศษ

การปกครองแบบพิเศษ คือการปกครองแบบเทศมนตรี คือมีนายกเทศมนตรีในการปกครองซึ่งคำว่าการปกครองพิเศษ ที่มีที่มาจากเขตปกครองพิเศษ เช่น เทศบาลเมืองพัทยา หรือเทศบาลจังหวัดพัทยา (พิเศษ) ซึ่งเป็นการให้ใช้ความเป็นการเรียกว่าการปกครองแบบพิเศษ โดยการจัดระบบเป็นรูปแบบกึ่งรัฐพิเศษ (โดยรัฐอนุญาตให้เทศบาลเมืองพัทยาที่เดียว) แต่ในปัจจุบันนี้ การปกครองในรูปแบบเทศมนตรีโดยมีนายกเทศมนตรีเป็นผู้บริหารงานภายในพื้นที่และบริหารงานในท้องที่ตำบลนั้นๆ งานหลักของนายกเทศมนตรีที่ต้องปฏิบัตินั่นก็คือ ดูแลเรื่องความสะอาด ถนน ความสะอาดชุมชนตำบล งานบำรุง งานซ่อมแซม ควบคุมกองงานซ่อมแซมรักษา ดูแลรักษาสาธารณูปโภค งานสุขาภิบาล (ขยะมูลฝอย) รวมไปถึงการดูแลในเรื่องสวัสดิการประชาชน (ความช่วยเหลือด้านข้อมูลทะเบียนราษฎร์) (ตามอย่างรูปแบบเดียวกับก.ท.ม) (มิเกี่ยวกับการพัฒนาปกครองท้องถิ่น)

การปกครองแบบท้องถิ่น

การปกครองท้องถิ่น คือ การปกครองแบบในรูปแบบการพัฒนาตามระบบทั่วไป ทั้งในรูปแบบดำเนินการพัฒนาทางด้านสังคม วางรากฐานพัฒนาสังคม และสาธารณูปโภคต่างๆทั่วไปให้กับประชาชน ซึ่งแบ่งการปกครองแบบท้องถิ่นได้ดังนี้

  1. ที่ว่าการอำเภอ (รวมไปถึงกองการสัสดี)
  2. สภาตำบล หรือกำนัน
  3. ผู้ใหญ่บ้าน

และในส่วนของการปกครองดูแลระบบท้องถิ่น จะแบ่งแยกกับการปกครองแบบในระบบพิเศษ (มิรวมกัน) และจะมีการปกครองในรูปแบบที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งจะมีการเรียกการปกครองได้ใน 2 รูปแบบดังที่กล่าวไว้ข้างต้น คือ การปกครองแบบท้องถิ่น และการปกครองแบบพิเศษเป็นต้น

Kembali kehalaman sebelumnya