Share to:

 

บริเวณบรอดมันน์

บริเวณบรอดมันน์ 3-มิติ
ผิวด้านข้างของสมอง บริเวณบรอดมันน์ต่าง ๆ มีตัวเลขกำกับ

บริเวณบรอดมันน์ (อังกฤษ: Brodmann area) เป็นการกำหนดเขตต่าง ๆ ในเปลือกสมองของมนุษย์ มีการจำกัดขอบเขตโดยโครงสร้างและการจัดระเบียบของเซลล์ (cytoarchitectonics)

ประวัติ

บริเวณบรอดมันน์ต่าง ๆ ดั้งเดิมได้รับการกำหนดขอบเขตและกำหนดตัวเลข โดยนักประสาทวิทยาชาวเยอรมันชื่อว่า คอร์บีนาน บรอดมันน์ (Korbinian Brodmann) ผู้กำหนดเขตเหล่านั้นโดยโครงสร้างและการจัดระเบียบของเซลล์ (cytoarchitectonics) ที่สังเกตเห็นได้ในเปลือกสมอง โดยใช้การย้อมสีแบบ Nissl

บร็อดแมนน์ตีพิมพ์แผนที่เขตเปลือกสมองของมนุษย์ ลิง และสปีชีส์อื่น ๆ ใน ค.ศ. 1909[1] พร้อมกับข้อมูลและข้อสังเกตอื่น ๆ เกี่ยวกับประเภทของเซลล์ในสมอง และการจัดระเบียบเป็นชั้น ๆ ของคอร์เทกซ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (ให้สังเกตว่า บริเวณบรอดมันน์ที่มีหมายเลขเดียวกันในสปีชีส์ต่าง ๆ กัน อาจจะไม่ได้หมายถึงเขตที่มีกำเนิดเดียวกัน[2])

คอนสแตนติน วอน อีโคโนโม และจอร์จ คอสกินาส ได้ตีพิมพ์แผนที่ที่คล้าย ๆ กันแต่มีรายละเอียดมากกว่า ใน ค.ศ. 1925[3]

ความสำคัญในปัจจุบัน

เป็นระยะเวลาเป็นศตวรรษที่มีการสนทนาและอภิปรายถึงบริเวณบรอดมันน์อย่างละเอียดถี่ถ้วน และการกำหนดเขตและชื่อก็ได้รับการปรับปรุงมาโดยตลอด บริเวณบรอดมันน์ยังเป็นการจัดระบบโดย cytoarchitectonics ของเปลือกสมองมนุษย์ ที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางและอ้างอิงถึงมากที่สุด

จนกระทั่งถึงปัจจุบัน บริเวณบรอดมันน์ต่าง ๆ ที่กำหนดขอบเขตโดยระเบียบของเซลล์ประสาทเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ปรากฏว่าทำกิจหน้าที่ต่าง ๆ มากมายของสมอง ยกตัวอย่างเช่น บริเวณบรอดมันน์ 1-2-3 ก็คือ คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิ (primary somatosensory cortex) เขต 4 ก็คือ คอร์เทกซ์สั่งการปฐมภูมิ (primary motor cortex) เขต 17 ก็คือ คอร์เทกซ์การเห็นปฐมภูมิ (primary visual cortex) และเขต 41-42 ก็เกือบจะเหมือนคอร์เทกซ์การได้ยินปฐมภูมิ (primary auditory cortex)

นอกจากนั้นแล้ว กิจหน้าที่ระดับสูง ๆ ยิ่งขึ้นไปของเขตสัมพันธ์ในเปลือกสมอง ก็ยังปรากฏว่ามีเขตจำกัดอยู่ในเขตที่บรอดมันน์กำหนดไว้ ปรากฏโดยใช้วิธีต่าง ๆ รวมทั้ง เทคนิคทางประสาทสรีรวิทยา fMRI และวิธีอื่น ๆ ตัวอย่างเช่น เขตโบรคา ซึ่งเป็นเขตทางการพูดและภาษา ก็จำกัดอยู่ในบริเวณบรอดมันน์ 44-45 ถึงแม้กระนั้น การสร้างภาพโดยกิจ (functional imaging) ก็สามารถเพียงแค่บ่งชี้ตำแหน่งอย่างคร่าว ๆ ของการทำงานในสมองโดยสัมพันธ์กับบริเวณบรอดมันน์ได้เท่านั้น เพราะว่า ขอบเขตจริง ๆ ของเขตสมองต่าง ๆ ต้องอาศัยการตรวจสอบโดยอ้างอิงวิทยาเนื้อเยื่อ

บริเวณบรอดมันน์ในมนุษย์และในไพรเมตอื่น

(*) เขตที่เจอในไพรเมตที่ไม่ใช่มนุษย์เท่านั้น

บริเวณบรอดมันน์ดั้งเดิมมีส่วนย่อยลงไปอีกเป็นต้นว่า "23a" และ "23b"[5]

แผนที่คลิกได้: ผิวสมองด้านข้าง

บริเวณบรอดมันน์ คลิกที่ตัวเลขจะโหลดบทความที่เหมาะสม ถ้ามีเขต 3-1-2 - คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายขันปฐมเขต 4 - คอร์เทกซ์สั่งการหลักเขต 5 - คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายสัมพันธ์เขต 6 - Premotor cortex และ Supplementary Motor Cortex (Secondary Motor Cortex) (Supplementary motor area)เขต 7 - คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายสัมพันธ์เขต 8 - รวม Frontal eye fieldsเขต 9 - Dorsolateral prefrontal cortexเขต 10 - Anterior prefrontal cortexเขต 11 - Orbitofrontal areaเขต 17 - คอร์เทกซ์สายตาปฐมภูมิเขต 18 - เขตสายตา V2เขต 19 - คอร์เทกซ์สายตาสัมพันธ์ (V3 V4 V5)เขต 20 - Inferior temporal gyrusเขต 21 - Middle temporal gyrusเขต 22 - Superior temporal gyrusเขต 37 - รอยนูนรูปกระสวยเขต 38 - Temporopolar areaเขต 39 - Angular gyrusเขต 40 - Supramarginal gyrusเขต 41-42 - คอร์เทกซ์การได้ยินเขต 41-42 - คอร์เทกซ์การได้ยินเขต 43 - Primary gustatory cortexเขต 44 - pars opercularis เป็นส่วนของ Broca's areaเขต 45 - pars triangularis เป็นส่วนของ Broca's areaเขต 46 - Dorsolateral prefrontal cortexเขต 47 - Inferior prefontal gyrusImage Map
บริเวณบรอดมันน์ คลิกที่ตัวเลขจะโหลดบทความที่เหมาะสม ถ้ามี

แผนที่คลิกได้: ผิวสมองส่วนใน (medial)

บริเวณบรอดมันน์ คลิกที่ตัวเลขจะโหลดบทความที่เหมาะสม ถ้ามีเขต 3-1-2 - คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายปฐมภูมิเขต 4 - primary motor cortexเขต 5 - คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายสัมพันธ์เขต 6 - Premotor cortex และ Supplementary Motor Cortex (Secondary Motor Cortex) (Supplementary motor area)เขต 7 - คอร์เทกซ์รับความรู้สึกทางกายสัมพันธ์เขต 8 - รวม Frontal eye fieldsเขต 9 - Dorsolateral prefrontal cortexเขต 10 - Anterior prefrontal cortexเขต 11 - Orbitofrontal areaเขต 12 - Orbitofrontal areaเขต 17 - เขตสายตา V1 (คอร์เทกซ์สายตาขั้น)ปฐม)เขต 18 - เขตสายตา V2เขต 19 - เขตสายตาสัมพันธ์ (V3)เขต 19 - เขตสายตาสัมพันธ์ (V3)เขต 18 - เขตสายตา V2เขต 23 - Ventral Posterior cingulate cortexเขต 24 - Ventral Anterior cingulate cortexเขต 25 - Subgenual cortex (เป็นส่วนของ Ventromedial prefontal cortex)เขต 26 - Ectosplenial portion of the retrosplenial region of the cerebral cortexเขต 27 - คอร์เทกซ์รูปชมพู่ (Piriform cortex)เขต 28 - Posterior Entorhinal Cortexเขต 29 - Retrosplenial cingulate cortexเขต 30 - ส่วนของ cingulate cortexเขต 31 - Dorsal Posterior cingulate cortexเขต 32 - Dorsal anterior cingulate cortexเขต 33 - Part of anterior cingulate cortexเขต 34 - Anterior Entorhinal Cortex (บนรอยนูนรอบฮิปโปแคมปัส)เขต 35 - Perirhinal cortex (บนรอยนูนรอบฮิปโปแคมปัส)เขต 20 - Inferior temporal gyrusเขต 37 - Fusiform gyrusเขต 3-1-2 - คอรเทกซ์ความรู้สึกทางกายปฐมภูมิเขต 38 - Temporopolar areaImage Map
บริเวณบรอดมันน์ คลิกที่ตัวเลขจะโหลดบทความที่เหมาะสม ถ้ามี

ข้อวิจารณ์

เมื่อวอน โบนิน และเบล์ลี ทำแผนที่สมองในลิงมาคาก จึงพบว่าการพรรณนาของบรอดมันน์นั้นไม่สมบูรณ์พอ จึงได้บันทึกไว้ว่า[6]

"ใน ค.ศ. 1907 เป็นความจริงที่บรอดมันน์ได้สร้างแผนที่ของสมองมนุษย์ที่ได้เผยแพร่ไปอย่างกว้างขวาง แต่โชคไม่ดีว่า ข้อมูลที่แผนที่นั้นอิงอาศัย ไม่เคยได้รับการเผยแพร่"

และจึงได้ใช้แผนที่ cytoarchitectonics ของ คอนสแตนติน วอน อีโคโนโม และจอร์จ คอสกินาส ที่พิมพ์ใน ค.ศ. 1925[3] ซึ่งมี

"การพรรณนาที่ละเอียดของคอร์เทกซ์ในมนุษย์ ในระดับที่ใช้ได้เพียงเท่านั้น"

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถและอ้างอิง

  1. Brodmann K. (1909). Vergleichende Lokalisationslehre der Grosshirnrinde (ภาษาเยอรมัน). Leipzig: Johann Ambrosius Barth. OCLC 14796098.
  2. Garey LJ (2006). Brodmann's Localisation in the Cerebral Cortex. New York: Springer. ISBN 0-387-26917-7, 978-0387-26917-7.
  3. 3.0 3.1 Economo, C.; Koskinas, G.N. (1925). Die Cytoarchitektonik der Hirnrinde des erwachsenen Menschen (ภาษาเยอรมัน). Wien: Springer Verlag. OCLC 14723058.
  4. Fales CL, Barch DM, Rundle MM, Mintun MA, Snyder AZ, Cohen JD, Mathews J, Sheline YI (24 สิงหาคม 2007). "Altered emotional interference processing in affective and cognitive-control brain circuitry in major depression". Biological Psychiatry. 63 (4): 377–384. doi:10.1016/j.biopsych.2007.06.012. PMC 2268639. PMID 17719567.[ลิงก์เสีย]
  5. Brent A. Vogt; Deepak N. Pandya; Douglas L. Rosene (สิงหาคม 1987). "Cingulate cortex of the rhesus monkey: I. Cytoarchitecture and thalamic afferents". The Journal of Comparative Neurology. 262 (2): 256–270. doi:10.1002/cne.902620207. PMID 3624554.
  6. Gerhardt von Bonin; Percival Bailey (1947). The Neocortex of Macaca Mulatta. Urbana, Illinois: The University of Illinois Press. OCLC 339362.

แหล่งข้อมูลอื่น

  • brodmann x func, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2006 – หมวดหมู่ตามหน้าที่ของบริเวณบรอดมันน์
  • Brodmann, Mark Dubin pages on Brodmann areas
  • Brodmann areas, Brodmann areas of cortex involved in language
  • Illustrations, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 ธันวาคม 2012
Kembali kehalaman sebelumnya