บานไม่รู้โรย
บานไม่รู้โรย[1] (Globe Amaranth หรือ Bachelor Button) เป็นพืชล้มลุกในสกุลบานไม่รู้โรย ดอกมีสีม่วง แดง ขาว ชมพู และม่วงอ่อน มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกากลาง แถบประเทศปานามา และประเทศกัวเตมาลา ปัจจุบันกลายเป็นพืชประจำถิ่นทั่วโลก[2] ในประเทศไทยมีชื่อพื้นเมืองอื่นคือ กะล่อม (เหนือ) ดอกสามปีบ่เหี่ยว (อีสาน) ดอกสามเดือน (เชียงใหม่,ใต้) ตะล่อม (เหนือ) และกุนหยี (ใต้) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ไม้ล้มลุก (ExH) สูงประมาณ 15-60 ซม. ลำต้นตั้งตรงหรือโคนต้นอาจจะเอนราบกับดิน ที่ข้อของต้นจะพอกออกเล็กน้อย และเกิดรากตามข้อ ลำต้นมักจะมีข้อสีแดงหรือบางต้นมีสีเขียว กิ่งอ่อน ๆ มีขนอยู่ทั่วไป[3] ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ลักษณะใบรูปใบหอก หรือรูปขอบขนานหรือ รูปขอบขนานแกมรูปรี ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ตัวใบมีขนปกคลุมทั้งสองด้าน ใบกว้าง ก้านใบยาว แต่ใบคู่ยอดที่ติดกับดอกจะไม่มีก้าน ดอก ออกเป็นกระจุกกลม ๆ ประกอบด้วยดอกเล็ก ๆ มากมาย อยู่บนก้านช่อดอก ออกเดี่ยว ๆ หรือ บางครั้งก็ออกเป็นกลุ่ม 2-4 กระจุก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.75-2.25 ซม. มี 3 สี คือ ขาว ชมพู ส้ม และม่วงแดงเข้ม ออกดอกตามซอกใบใกล้ยอด แต่ละดอกมีใบประดับ 2 ใบ กลีบรวมมี 5 กลีบ ออกดอกตลอดปี ผล ลักษณะรูปไข่แกมขอบขนาน มีเปลือกบาง ขนาดเล็ก ยาวเพียง 2-5 มม. เมล็ดแบน สีน้ำตาล เป็นมัน นิเวศวิทยาเป็นไม้ถิ่นเดิมของอเมริกากลางและอเมริกาใต้หรืออเมริกาเขตร้อน ปัจจุบันนิยมปลูกกันแพร่หลายเป็นไม้ประดับ ตามบ้านเรือนหรือตามสวนสาธารณะ การปลูกและขยายพันธุ์เจริญเติบโตได้ในดินทุกสภาพ ขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ หรือการเพาะเมล็ด ประโยชน์ทางยารสและสรรพคุณในตำรายา แพทย์แผนไทยใช้ชนิดดอกสีขาวเป็นยา ราก รสเย็นขื่น แก้โรคระบบทางเดินปัสสาวะอักเสบ ขับระดู รักษาโรคบิดและอาการไอ ทั้งต้น รสขื่นเล็กน้อย ต้มเอาน้ำดื่มแก้หนองใน กามโรค ขับปัสสาวะ นิ่ว และแก้ระดูขาว ช่อดอก รสจืด สุขุม ใช้กล่อมตับ แก้ตาเจ็บ แก้ไอ ขับปัสสาวะ แก้บิด แก้ปวดศีรษะ วิธีและปริมาณที่ใช้
ข้อควรทราบ
อ้างอิง
|