Share to:

 

บุญเลิศ สว่างกุล

บุญเลิศ สว่างกุล
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ดำรงตำแหน่ง
27 กรกฏาคม พ.ศ. 2529 – 30 มิถุนายน พ.ศ. 2535
ดำรงตำแหน่ง
2 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 – 27 กันยายน พ.ศ. 2539
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด2 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 (80 ปี)
อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
คู่สมรสนางอุษณีย์ สว่างกุล

บุญเลิศ สว่างกุล (เกิด 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2487) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดแม่ฮ่องสอน 4 สมัย และเป็นประธานมูลนิธิบรรเทาสาธารณภัยแห่งประเทศไทย[1]

ประวัติ

นายบุญเลิศ สว่างกุล เกิดเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2487 เป็นบุตรของนายสังเกต และ นางหน่อดู สว่างกุล[2] สำเร็จการศึกษา บริหารธุรกิจบัณฑิต จาก มหาวิทยาลัยรามคำแหง[3] สมรสกับนางอุษณีย์ สว่างกุล (สกุลเดิม ไพรัชกุล บุตรสาวนายชาญชัย ไพรัชกุล อดีต ส.ส.เชียงใหม่) มีบุตร 2 คน

งานการเมือง

บุญเลิศ เคยทำธุรกิจเกี่ยวกับเหมืองแร่ ในบ้านเกิด ก่อนที่จะได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก ใน พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคสหประชาธิปไตย และได้รับเลือกเรื่อยมาจนถึง พ.ศ. 2538 รวม 4 สมัย[4]

ในปี พ.ศ. 2539 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคความหวังใหม่ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาได้รับแต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ[5] ในรัฐบาลพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ

พ.ศ. 2544 บุญเลิศ ลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่เขต 2 จังหวัดแม่ฮ่องสอน สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยพ่ายแพ้ให้กับ นายสมบูรณ์ ไพรวัลย์ จากพรรคไทยรักไทย

ในปี 2548 เขาไม่ได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง แต่ให้การสนับสนุนผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์[6]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

บุญเลิศ สว่างกุล ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 4 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 จังหวัดแม่ฮ่องสอน สังกัดพรรคสหประชาธิปไตย
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 จังหวัดแม่ฮ่องสอน สังกัดพรรคชาติไทย
  3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 จังหวัดแม่ฮ่องสอน สังกัดพรรคชาติไทย
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 จังหวัดแม่ฮ่องสอน สังกัดพรรคพลังธรรม

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ร่วมกิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันก่อตั้งมูลนิธิบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดแม่ฮ่องสอน[ลิงก์เสีย]
  2. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
  3. นักการเมืองถิ่นจังหวัดแม่ฮ่องสอน. ดร. วีระ เลิศสมพร สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2553
  4. ศูนย์ข้อมูลนักการเมือง
  5. คำสั่งกระทรวงการต่างประเทศ[ลิงก์เสีย]
  6. การเมืองคือเรื่องชนเผ่าแม่ฮ่องสอน สนุกแน่ กระเหรี่ยงชนกระเหรี่ยง
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๔๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-11-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๖, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
Kembali kehalaman sebelumnya