บุหรี่สมัยใหม่สองมวน โดยมวนบนถูกจุดและเผาไหม้ไปแล้ว
บุหรี่ หมายถึงทรงกระบอกที่ภายในบรรจุวัตถุติดไฟ ซึ่งส่วนใหญ่คือใบยาสูบ ห่อด้วยกระดาษบาง เพื่อใช้สำหรับการสูบบุหรี่ บุหรี่นั้นจุดที่ปลายฝั่งหนึ่งซึ่งจะเกิดการเผาไหม้โดยช้าโดยปราศจากเปลวเพลิง (smolder) ทำให้ควันจากบุหรี่ถูกดูดกลืนเข้าไปผ่านทางปากจากปลายอีกฝั่งหนึ่ง การสูบบุหรี่เป็นวิธีการบริโภคใบยาสูบที่เป็นที่นิยมมากที่สุด บุหรี่ต่างจากซิการ์ ด้วยลักษณะของบุหรี่ที่มักมีขนาดเล็กกว่า มักใช้ใบยาสูบที่ผ่านกระบวนการแล้ว และวิธีการห่อด้วยกระดาษซึ่งมักเป็นสีขาว บุหรี่ส่วนใหญ่ในยุคสมัยใหม่มีไส้กรอง ซึ่งไม่ได้ส่งผลต่อการกรองสารเคมีอันตรายและสารก่อมะเร็ง
รูปแบบที่เก่าแก่ที่สุดของบุหรี่มีลักษณะคล้ายกันกับซิการ์ ซึ่งถือกำเนิดมาก่อนบุหรี่ มีหลักฐานปรากฏการสูบบุหรี่ในเม็กซิโกและอเมริกากลางย้อนไปถึงอย่างน้อยศตวรรษที่ 9 ในรูปของท่อเพื่อสูบควัน อารยธรรมมายา และแอซเท็ก สูบใบยาสูบและสารมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทเพื่อประโยชน์ในพิธีกรรมทางศาสนา ในภาพแกะสลักโบราณมักปรากฏผู้นำศาสนาหรือเทพเจ้าสูบบุหรี่[ 1] ภายในทศวรรษ 1830 บุหรี่ได้เข้ามาถึงฝรั่งเศสและได้รับชื่อเรียกว่า cigarette ซึ่งคำนี้ต่อมาถ่ายทอดไปในภาษาอังกฤษในทศวรรษ 1840s[ 2]
เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าบุหรี่มีผลกระทบต่อสุชภาพ อันตรายเหล่านี้เกิดมาจากสารเคมีอันเป็นพิษจำนวนมากที่พบในใบยาสูบตามธรรมชาติ ไปจนถึงที่เกิดขึ้นในควันจากการเผาไหม้ของใบยาสูบ[ 3] สารเคมีนิโคติน ซึ่งเป็นสารมีฤทธิ์ต่อระบบประสาทตัวหลักในบุหรี่ มีฤทธิ์ทำให้เกิดการเสพติดอย่างรุนแรงซึ่งทำให้เกิดการเสพติดบุหรี่[ 4] เช่นเดียวกับยาเสพติด บุหรี่ "ถูกสร้างมาเพื่อให้เสพติด" (strategically addictive) โดยมีคุณสมบัติความเสพติดเป็นองค์ประกอบหลักในแผนธุรกิจของผู้ผลิตบุหรี่[ 5] ผู้สูบบุหรี่ราวครึ่งหนึ่งเสียชีวิตจากสาเหตุที่เกี่ยวเนื่องมาจากการสูบบุหรี่[ 6] [ 7] [ 8] การสูบบุหรี่เป็นพิษต่อแทบทุกอวัยวะของร่างกาย และโดยส่วนมากนำไปสู่โรคที่ส่งผลต่อหัวใจ[ 9] ตับ ปอด นอกจากนี้ บุหรี่ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเกิดหัวใจล้มเหลว , โรคหลอดเลือดสมอง , โรคถุงลมโป่งพองเรื้อรัง (COPD) และมะเร็ง [ 9] [ 10] [ 11] [ 12] [ 13]
อ้างอิง
↑ Robicsek, Francis Smoke ; Ritual Smoking in Central America pp. 30–37
↑ Oxford English Dictionary , s.v.
↑ Centers for Disease Control and Prevention. (March 5, 2018). 2014 SGR: The Health Consequences of Smoking—50 Years of Progress. Retrieved November 25, 2019, from Centers for Disease Control and Prevention website: https://www.cdc.gov/tobacco/data_statistics/sgr/50th-anniversary/index.htm เก็บถาวร ธันวาคม 1, 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
↑ "Why is it so hard to quit?" . Heart.org. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ April 2, 2012. สืบค้นเมื่อ March 25, 2012 .
↑ Day, Ruby. "Strategically Addictive Drugs" . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ October 30, 2020. สืบค้นเมื่อ September 4, 2020 .
↑ Doll, R.; Peto, R.; Boreham, J.; Sutherland, I. (2004). "Mortality in relation to smoking: 50 years' observations on male British doctors" . BMJ (Clinical Research Ed.) . 328 (7455): 1519. doi :10.1136/bmj.38142.554479.AE . PMC 437139 . PMID 15213107 .
↑ World Health Organization. (July 26, 2019). Tobacco. Retrieved November 25, 2019, from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/tobacco เก็บถาวร กรกฎาคม 9, 2021 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
↑ "Archived copy" (PDF) . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ December 29, 2009. สืบค้นเมื่อ November 13, 2009 .{{cite web }}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์ )
↑ 9.0 9.1 Benowitz, Neal L. (June 17, 2010). "Nicotine Addiction" . The New England Journal of Medicine . 362 (24): 2295–2303. doi :10.1056/NEJMra0809890 . ISSN 0028-4793 . PMC 2928221 . PMID 20554984 .
↑ "WHO Framework Convention on Tobacco Control" (PDF) . World Health Organization . February 27, 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ September 6, 2005. สืบค้นเมื่อ January 12, 2009 . Parties recognize that scientific evidence has unequivocally established that exposure to tobacco has the potential to cause death, disease and disability
↑ Office on Smoking Health (US) (June 27, 2006). "The Health Consequences of Involuntary Exposure to Tobacco Smoke: A Report of the Surgeon General" . Surgeon General of the United States . PMID 20669524 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ February 15, 2017. สืบค้นเมื่อ June 16, 2014 . Secondhand smoke exposure causes disease and premature death in children and adults who do not smoke
↑ Board (June 24, 2005). Proposed Identification of Environmental Tobacco Smoke as a Toxic Air Contaminant (Report). California Environmental Protection Agency . สืบค้นเมื่อ January 12, 2009 – โดยทาง University of California San Francisco: Center for Tobacco Control Research and Education.
↑ Tobacco Smoke and Involuntary Smoking (PDF) . International Agency for Research on Cancer . 2004. ISBN 9789283215837 . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ June 7, 2018. สืบค้นเมื่อ January 12, 2009 . There is sufficient evidence that involuntary smoking (exposure to secondhand or 'environmental' tobacco smoke) has the potential to cause lung cancer in humans