Share to:

 

ปฏิทินก่อนเกรโกเรียน

ปฏิทินก่อนเกรโกเรียน เป็นการต่อปฏิทินเกรโกเรียนย้อนหลังไปในอดีตก่อนการใช้ปฏิทินเกรโกเรียนอย่างเป็นทางการครั้งแรกในปี ค.ศ. 1582

การใช้

ปฏิทินก่อนเกรโกเรียนเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างชัดเจนสำหรับวันที่ทั้งหมดก่อน ค.ศ. 1582 โดย ISO 8601:2004 (ข้อ 3.2.1) หากคู่แลกเปลี่ยนข้อมูลตกลงใจ ปฏิทินดังกล่าวถูกใช้มากที่สุดโดยนักวิชาการมายา[1] โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อแปลงวันที่จากปฏิทินแบบรอบยาวมายา (ศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสตกาล - คริสต์ศตวรรษที่ 10) อย่างไรก็ตาม ไม่ว่านักดาราศาสตร์หรือนักประวัติศาสตร์ที่ไม่ได้ศึกษาเกี่ยวกับมายาไม่ค่อยได้ใช้มันมากนัก

สำหรับปฏิทินเหล่านี้ สามารถแบ่งออกเป็นระบบการนับปีก่อนคริสต์ศักราชในสองวิธี นักบุญบีดและนักประวัติศาสตร์ในภายหลังไม่ถือว่าเลขศูนย์ในภาษาละติน nulla เป็นปี (ดู ค.ศ. 0) ดังนั้น ปีก่อนหน้า ค.ศ. 1 จึงเป็น 1 ปีก่อนคริสตกาล ในระบบนี้ 1 ปีก่อนคริสตกาลเป็นปีอธิกสุรทิน (เหมือนกับในปฏิทินก่อนจูเลียน) ในทางคณิตศาสตร์ เป็นการสะดวกมากกว่าที่จะถือว่ามี ค.ศ. 0 และกำหนดให้ปีก่อนหน้านั้นเป็นจำนวนเต็มลบ เพื่อจุดประสงค์เฉพาะในการอำนวยความสะดวกในการคำนวณตัวเลขของปีระหว่างจำนวนลบ (ปีก่อนคริสตกาล) และจำนวนบวก (คริสต์ศักราช) นอกจากนี้ยังใช้ในการนับปีทางดาราศาสตร์และในระบบวันที่มาตรฐานระหว่างประเทศ ISO 8601 ในระบบเหล่านี้ ถือว่า ค.ศ. 0 เป็นปีอธิกสุรทิน[2]

ถึงแม้ว่าปฏิทินจูเลียนในนามจะเริ่มใช้ตั้งแต่ 45 ปีก่อนคริสตกาล ปีอธิกสุรทินระหว่าง 45 ปี จนถึง 1 ปีก่อนคริสตกาลไม่เป็นระเบียบ ดังนั้น ปีอธิกสุรทินที่เกิดขึ้นทุก 4 ปีของปฏิทินจูเลียนจึงถูกใช้เฉพาะเพียงระหว่าง ค.ศ. 1 จนถึง ค.ศ. 1582 หรือหลังจากนั้นเท่านั้น ดังนั้น นักประวัติศาสตร์และนักดาราศาสตร์จึงมักจะใช้ปฏิทินจูเลียนที่แท้จริงระหว่างช่วงเวลานี้ แต่เมื่อวันที่ตามฤดูกาลเริ่มมีความสำคัญมากขึ้น ปฏิทินก่อนเกรโกเรียนจึงถูกใช้เป็นบางครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อกล่าวถึงวัฒนธรรมที่มิได้ใช้ปฏิทินจูเลียน

ปฏิทินก่อนเกรโกเรียนบางครั้งถูกใช้ในซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์เพื่อทำให้ง่ายต่อการจัดระเบียบวันที่ในสมัยโบราณ ยกตัวอย่างเช่น ปฏิทินที่ใช้ใน MySQL[3], SQLite[4], PHP, CIM, Delphi และ COBOL

อ้างอิง

  1. The proceedings of the Maya hieroglyphic workshop. University of Texas. 1992. p. 173.
  2. Doggett, L. E. (1992). "Calendars". ใน P. Kennneth Seidelmann (บ.ก.). Explanatory Supplement to the Astronomical Almanac. Sausalito, CA. ISBN 0-935702-68-7. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-10. สืบค้นเมื่อ 2010-11-30. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |Publisher= ถูกละเว้น แนะนำ (|publisher=) (help)
  3. "11.8. What Calendar Is Used By MySQL?". MySQL 5.0 Reference Manual. สืบค้นเมื่อ 21 July 2010.
  4. "Date And Time Functions". SQL As Understood By SQLite. สืบค้นเมื่อ 16 September 2010.
Kembali kehalaman sebelumnya