ประชาธิปไตยแบบโซเวียตประชาธิปไตยแบบโซเวียต หรือประชาธิปไตยแบบสภา เป็นระบบการเมืองซึ่งสภา (soviet, โซเวียต) ที่มาจากการเลือกตั้งทางตรงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง สภารับผิดชอบโดยตรงต่อผู้เลือกตั้ง และถูกผูกมัดด้วยคำสั่งโดยใช้แบบจำลองการมีผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย อาณัติแบบเด็ดขาด (imperative mandate) เช่นนี้แตกต่างจากอาณัติเสรี (free mandate) ซึ่งผู้แทนที่ได้รับเลือกตั้งรับผิดชอบต่อมโนธรรมของตนเท่านั้น ผู้แทนอาจถูกไล่ออกจากตำแหน่งหรือถูกออกเสียงถอดถอนเมื่อใดก็ได้ ในประชาธิปไตยแบบโซเวียต ผู้ออกเสียงจัดระเบียบเป็นหน่วยพื้นฐาน ตัวอย่างของหน่วยเหล่านี้เช่น คนงานของบริษัท ๆ หนึ่ง, ผู้อยู่อาศัยในเขต ๆ หนึ่ง หรือทหารในค่าย ๆ หนึ่ง ผู้ออกเสียงส่งผู้แทนเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สาธารณะ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่เป็นสภานิติบัญญัติ รัฐบาลและศาลในคน ๆ เดียว โดยไม่มีการแยกใช้อำนาจตามแบบประชาธิปไตยของจอห์น ล็อกและมงแต็สกีเยอ สภานี้มีการเลือกตั้งในหลายระดับ คือในระดับที่อยู่อาศัยและธุรกิจจะส่งไปยังสภาท้องถิ่นในสภาเต็มคณะ (plenary assembly) และสภาเหล่านี้จะส่งผู้แทนสมาชิกไปในสภาระดับสูงขึ้นไป ระบบผู้แทนนี้ดำเนินต่อไปจนถึงสภาโซเวียตในระดับรัฐ[1] กระบวนการเลือกตั้งจึงเกิดขึ้นจากระดับล่างขึ้นบน ระดับของสภาปกติมักขึ้นอยู่กับระดับการบริหารราชการแผ่นดิน[2] อ้างอิง
|