ประวัฒน์ อุตตะโมช
ประวัฒน์ อุตตะโมช[1][2] (เกิด 22 มิถุนายน พ.ศ. 2497) เป็นรองหัวหน้าพรรคไทยสร้างไทย อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อดีตรองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนา อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย และอดีตที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม[3] ประวัติภูมิหลังและการศึกษาประวัฒน์ อุตตะโมช เกิดเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2497 เป็นบุตรของนายประกิต อุตตะโมต อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย และนางอำไพวรรณ มีน้อง 5 คน หนึ่งในนั้นคือนางพนิตา กำภู ณ อยุธยา อดีตปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ประวัฒน์ศึกษาระดับประถมตอนต้นที่โรงเรียนยอแซฟ จันทุบรี ระดับประถมตอนปลายที่โรงเรียนอัสสัมชัญ ระยอง และ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ กรุงเทพมหานคร เนื่องจากคุณพ่อรับราชการจึงต้องย้ายโรงเรียนบ่อย ต่อมาได้ย้ายไปศึกษามัธยมตอนปลายที่รัฐแคนซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา และ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ด้านรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเอ็มโพเรียสเตท ประเทศสหรัฐอเมริกา ระดับปริญญาโท ด้านรัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยมิดเดิ้ลเทนเนสซี่สเตท สหรัฐอเมริกา และปริญญาเอก ด้านรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยฮูสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา[4] และเป็นนักการเมืองที่มีความสนิทสนมกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และพล.ต.อ.ชิดชัย วรรณสถิตย์[5] ครอบครัวประวัฒน์ อุตตะโมช สมรสกับนางฤดีนาฎ อุตตะโมช มีบุตร 2 คน คือ นายโสพัฒน์ อุตตะโมช และนางสาวศุธาภา อุตตะโมช[6] ตำแหน่งทางการเมือง
การทำงานประวัฒน์ อุตโมช เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดจันทบุรี หลายสมัย ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ต่อมาได้ย้ายมาสังกัดพรรคประชากรไทย และได้รับเลือกตั้งอีก 2 สมัย คือในปี พ.ศ. 2531 และ พ.ศ. 2535(1) ต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2535 (ครั้งที่ 2) จึงได้ย้ายมาสังกัดพรรคชาติพัฒนา ของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ (รองหัวหน้าพรรคชาติพัฒนา) ได้รับเลือกตั้งในนามพรรคชาติพัฒนา 3 สมัย เขายังเป็นสมาชิก ส.ส.กลุ่ม 16[7] อีกด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 ย้ายมาลงสมัครในสังกัดพรรคไทยรักไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับนางคมคาย พลบุตร กระทั่งในปี พ.ศ. 2554 ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคเพื่อไทย (แบบบัญชีรายชื่อ)[8] และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ลำดับสุดท้ายของบัญชีพรรคเพื่อไทย) ประวัฒน์ อุตตะโมช เคยได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ซึ่งมีนายชูชีพ หาญสวัสดิ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการฯ[9] ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 78[10] ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคไทยรักษาชาติ ลำดับที่ 27 แต่พรรคไทยรักษาชาติ ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบพรรคก่อนวันเลือกตั้ง[11] ในปี 2564 เขาได้เข้าร่วมงานกับพรรคไทยสร้างไทย ซึ่งนำโดยคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์[12] เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
|