Share to:

 

ปลามีเกราะ

ปลามีเกราะ
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: 430–360Ma ซิลูเรียนตอนต้น-ตอนปลาย – ดีโวเนียนตอนปลาย
หัวกะโหลกด้านข้างของดังเคิลออสเตียสปลาหุ้มเกราะที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ไฟลัมย่อย: Vertebrata
ไฟลัมฐาน: Gnathostomata
ชั้น: Placodermi
McCoy, 1848
อันดับ

ปลามีเกราะ หรือ ปลาหุ้มเกราะ (อังกฤษ: Armored fish) เป็นปลายุคก่อนประวัติศาสตร์ในชั้น (en:Placodermi) หรือ Placoderm ซึ่งปัจจุบันสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว

บรรพบุรุษของปลาถือกำเนิดขึ้นมาในยุคออร์โดวิเชียน (500 ล้านปีก่อน) โดยวิวัฒนาการมาจากสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า แอมฟิออกซัส ที่มีกระดูกอ่อนเป็นกระดูกแกนหลักในร่างกาย และกลายมาเป็นปลาปากกลมที่ไม่มีขากรรไกร หลังจากนั้นก็กลายมาเป็นปลาที่มีเกล็ดแข็งเหมือนเกราะหนาหุ้มตัว จากนั้นในยุคดีโวเนียน (360 ล้านปีก่อน) จึงเป็นปลาที่มีเกล็ดหุ้มร่างกายอย่างหนาแน่นคล้ายชุดเกราะ มีขากรรไกร ก็คือ ปลามีเกราะปรากฏขึ้นมา โดยแบ่งออกเป็นสองส่วนใหญ่ ๆ คือ เกราะบริเวณส่วนหัว และเกราะบริเวณลำตัว[1]

ปลามีเกราะมีกระจายพันธุ์แพร่หลายทั้งในน้ำจืดและทะเล แบ่งออกได้เป็นอันดับต่าง ๆ ถึง 10 อันดับ (ดูในตาราง)

ปลามีเกราะแพร่พันธุ์ด้วยการแพร่พันธุ์แบบอาศัยเพศ โดยออกเป็นไข่ แต่ก็มีบางจำพวกที่ค้นพบว่าคลอดลูกเป็นตัวด้วย[2]

โดยปลามีเกราะขนาดใหญ่ที่สุด คือ ดังเคิลออสเตียส ที่มีส่วนหัวและริมฝีปากที่แหลมคมขนาดใหญ่ใช้แทนฟัน มีความยาวเต็มที่ได้ถึง 10 เมตร มีน้ำหนักได้ถึง 3.6-4 ตัน[3][4] [5]

อ้างอิง

  1. รวมคำอธิบายศัพท์เกี่ยวกับธรณีวิทยาทั่วไป
  2. "Fossil reveals oldest live birth". BBC. May 28, 2008. สืบค้นเมื่อ May 30, 2008.
  3. Ancient Fish With Killer Bite เก็บถาวร 2012-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Science News. May 19, 2009.
  4. Palmer, D., บ.ก. (1999). The Marshall Illustrated Encyclopedia of Dinosaurs and Prehistoric Animals. London: Marshall Editions. p. 33. ISBN 1-84028-152-9.
  5. Monster fish crushed opposition with strongest bite ever. The Sydney Morning Herald. November 30, 2006.
Kembali kehalaman sebelumnya