Share to:

 

ปลายประสาทอิสระ

ปลายประสาทอิสระ[1] (อังกฤษ: free nerve ending, อังกฤษ: naked nerve ending, terminatio neuralis, ตัวย่อ FNE) เป็นปลายของประสาทนำเข้า (afferent nerve) เป็นส่วนที่ส่งข้อมูลจากอวัยวะต่าง ๆ ไปยังสมอง เป็นปลายประสาทที่ทำหน้าที่เป็นตัวรับความรู้สึกที่ผิวหนัง (cutaneous receptors) ทำหน้าที่รับความรู้สึกสัมผัส อุณหภูมิ และความรู้สึกเจ็บปวด

โครงสร้าง

ปลายประสาทอิสระเป็นปลายที่ไม่มีถุงหุ้ม ไม่มีโครงสร้างที่ซับซ้อนเหมือนกับที่เจอในปลายประสาทประเภท Meissner's corpuscle[2] หรือ Pacinian corpuscle[3] เป็นปลายประสาทที่มีมากที่สุดและพบบ่อยที่สุดในผิวหนังในชั้นหนังกำพร้า (ตั้งแต่บริเวณชั้น stratum basale ถึง stratum granulosum) โดยอยู่รอบ ๆ ปุ่มรากผม (hair follicle) มีรูปร่างเหมือนกับรากฝอยของพืช

ประเภท

ปลายประสาทอิสระสามารถแยกประเภทได้โดยอัตราการปรับตัว ลักษณะที่รับรู้จากสิ่งเร้า และประเภทของใยประสาท

อัตราการปรับตัว

ประเภทของปลายประสาทอิสระสามารถแยกออกเป็น แบบปรับตัวอย่างรวดเร็ว[4] แบบปรับตัวอย่างปานกลาง และแบบปรับตัวอย่างช้า ๆ ตัวอย่างเช่นใยประสาทแบบ Aδ ปรับตัวอย่างรวดเร็ว และแบบ C ปรับตัวอย่างช้า ๆ[ต้องการอ้างอิง]

ลักษณะที่รับรู้จากสิ่งเร้า

ปลายประสาทอิสระสามารถตรวจจับอุณหภูมิ ตัวกระตุ้นเชิงกลเช่นแรงสัมผัส แรงกด และแรงยืด หรือเริ่มกระบวนการโนซิเซ็ปชั่นซึ่งอาจจะนำไปสู่ความเจ็บปวด ดังนั้น จึงมีปลายประสาทอิสระที่ทำหน้าที่เป็นตัวรับอุณหภูมิ (thermoreceptor) ตัวรับแรงกลที่ผิวหนัง (cutaneous mechanoreceptor) และโนซิเซ็ปเตอร์ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ ปลายประสาทหนึ่งสามารถรับความรู้สึกเกี่ยวกับลักษณะหลายอย่างของสิ่งเร้า เป็นความสามารถที่เรียกว่า polymodality

ประเภทของใยประสาท

ใยประสาทประเภท Aδ (เอเด็ลตา) หรือกลุ่ม III และประเภท C หรือกลุ่ม IV โดยมากไปสุดเป็นปลายประสาทอิสระ

เชิงอรรถและอ้างอิง

  1. ศ.พญ. ผาสุก มหรรฆานุเคราะห์ (พ.ศ. 2556). ประสาทกายวิภาคศาสตร์พื้นฐาน (Basic neuroanatomy). กรุงเทพมหานคร: ศ.พญ. ผาสุก มหรรฆานุเคราะห์. ISBN 978-616-335-105-0. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  2. Meissner's corpuscle เป็นตัวรับแรงกล (mechanoreceptors) ซึ่งเป็นตัวรับความรู้สึกประเภทหนึ่ง เป็นปลายประสาทในผิวหนังที่ทำหน้าที่รับสัมผัสเบา มีความไหวสูงสุดเมื่อรับแรงสั่นสะเทือนมีความถี่ต่ำกว่า 50 เฮิรตซ์ เป็นตัวรับความรู้สึกประเภทปรับตัวเร็ว (rapidly adaptive)
  3. Pacinian corpuscle เป็นหนึ่งในตัวรับแรงกล (mechanoreceptor) หลักสี่อย่าง เป็นปลายประสาทในผิวหนังทำหน้าที่รับแรงสั่นสะเทือนและแรงกด การรับรู้แรงสั่นสะเทือนสามารถทำให้ตรวจสอบความหยาบความละเอียดของผิววัตถุได้
  4. คือส่งสัญญาณบอกถึงสิ่งเร้าเฉพาะในขณะที่ระดับของสิ่งเร้ากำลังเปลี่ยน เมื่อระดับของสิ่งเร้าคงที่แล้ว ก็หยุดส่งสัญญาณ

ข้อมูลเพิ่มเติม

Kembali kehalaman sebelumnya