ปลาสเกต (อังกฤษ: Skate) ปลากระดูกอ่อนจำพวกหนึ่ง ในกลุ่มปลากระเบน จัดอยู่ในวงศ์ Rajidae จัดเป็นปลากระเบนขนาดเล็ก แต่มีความแตกต่างไปจากปลากระเบนรวมถึงปลากระดูกอ่อนจำพวกอื่น ๆ
ปัจจุบันพบมากกว่า 200 ชนิด แบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อย คือ Rajinae และ Arhynchobatinae
ปลาสเกตนับว่าเป็นปลากระเบนขนาดเล็ก จึงนิยมนำมาปรุงเป็นอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศทางตะวันตก เพราะมีขนาดเล็กและเนื้อไม่มีกลิ่นแอมโมเนียฉุนเหมือนกับปลากระเบนจำพวกอื่น[2]
การจำแนก
แบ่งเป็นสกุล
โดยปลาสเกตที่พบได้ในน่านน้ำไทย มีรายงานเพียงชนิดเดียว คือ ปลาสเกตทะเลซูลู, Okamejei jensenae พบที่ท่าเทียบเรือจังหวัดระนองและภูเก็ต จัดเป็นปลาน้ำลึกที่พบไม่บ่อยนัก[3]
ความแตกต่างระหว่างปลาสเกตกับปลากระเบน
ความแตกต่างทั่วไปของปลาสเกตกับปลากระเบน
|
ลักษณะภายนอกที่แตกต่างกันไปทั่วของปลาสเกตกับ ปลากระเบน
อย่างไรก็ตาม มีความแตกต่างกันโดยพื้นฐาน
|
ลักษณะ
|
ปลาสเกต
|
ปลากระเบน
|
ข้อมูล
|
การเกิด
|
ปลาสเกตเป็นปลาที่ออกลูกเป็นไข่ โดยถือว่าเป็นปลากระดูกอ่อนเพียงไม่กี่จำพวกที่วางไข่ และเป็นปลากระเบนกลุ่มเดียวที่วางไข่ โดยไข่ถูกเรียกว่ากระเป๋านางเงือก
|
ปลากระเบนออกลูกเป็นตัว โดยลูกปลาพัฒนาจนเป็นตัวในช่องท้องของแม่ เมื่อออกลูกจะออกคราวละ 1–5 ตัว
|
[4] [3]
|
ครีบหลัง
|
แตกต่าง
|
หายไปหรือปรากฏร่องรอย
|
[4]
|
ครีบเชิงกราน
|
ครีบแบ่งออกเป็นสองแฉก
|
ครีบแบ่งออกเป็นแฉกเดียว
|
[5]
|
หาง
|
หางอวบอ้วน ไม่มีเงี่ยงแหลม
|
หางเรียวยาวเหมือนแส้ มีเงี่ยงแหลมหนึ่งหรือสองชิ้น
|
[4][5]
|
การป้องกันตัว
|
ป้องกันตัวเองโดยการใช้ตุ่มหนามบนหลัง
|
ป้องกันตัวเองด้วยการใช้เงี่ยงแหลมที่โคนหาง
|
[4]
|
ฟัน
|
เล็ก
|
ฟันแบนเหมาะสำหรับการบดอาหาร
|
[4]
|
ขนาด
|
โดยทั่วไปเล็กกว่าปลากระเบน
|
โดยทั่วไปใหญ่กว่าปลาสเกต
|
[4]
|
สี
|
มักจะมีสีทึบทึม เช่น น้ำตาลหรือเทา (แต่ไม่เสมอไป)
|
บ่อยครั้งที่พบว่ามีลวดลายต่าง ๆ (แต่ไม่เสมอไป)
|
[5]
|
แหล่งอาศัย
|
อาศัยอยู่ในทะเลลึก (แต่ไม่เสมอไป)
|
อาศัยอยู่ในน้ำตื้น (แต่ไม่เสมอไป)
|
[5]
|
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น