Share to:

 

ปายาส

ปายาสของชาวสแกนดิเนเวียในเทศกาลคริสต์มาสที่ประเทศเดนมาร์ก

ปายาส (อังกฤษ: rice pudding) คือ ข้าวชนิดหนึ่งที่หุงเจือด้วยน้ำหรือน้ำนมและน้ำตาล เป็นอาหารของหลายชนชาติ ซึ่งบางชาติเป็นอาหารหลัก บางชาติเป็นอาหารว่าง

มธุปายาส

ปายาสเจือน้ำผึ้งเรียก มธุปายาส ครั้งหนึ่งนางสุชาดาเคยถวายแด่พระสมณโคดม ในพุทธศาสนิกชนชาวไทยทำอาหารใกล้เคียงกันเนื่องในวันสำคัญทางพุทธศาสนา เรียกว่า กระยาทิพย์ หรือ ข้าวทิพย์ กวนด้วยข้าว น้ำตาล น้ำอ้อย น้ำผึ้ง ถั่วงา และน้ำนม โดยจะให้หญิงพรหมจารีย์เป็นผู้กวน ในภาคเหนือเรียก ข้าวพระเจ้าหลวง ส่วนชาวไทใหญ่เรียก ข้าวซอมต่อหลวง โดยจะนำไปถวายพระพุทธเจ้าในเทศกาลสำคัญทางศาสนาพุทธเช่นกัน[1]

ข้าวเวท

ข้าวเวท หรือ ข้าวเปียก คือข้าวที่หุงด้วยน้ำอ้อยและนม หรือหุงด้วยกะทิ[2][3] เป็นอาหารที่พราหมณ์ไทยใช้ทำถวายพระเป็นเจ้า โดยจะนำข้าวสุกใส่กะลามะพร้าว แล้วเอากล้วยน้ำไทปักไว้ตรงกลางลูกหนึ่ง[4] ผู้ทำอาหารชนิดนี้ต้องเป็นคนเชื้อสายพราหมณ์เท่านั้น กระทำที่เทวสถานสำหรับพระนครเพื่อถวายพระเป็นเจ้าในพระราชพิธีตรียัมปวายและศิวาราตรี เดิมห้ามผู้หญิงทำอาหารนี้ แต่คลายความเข้มงวดเรื่องเพศลงแล้ว ปัจจุบันผู้ทำส่วนใหญ่มักเป็นผู้หญิง[5] ข้าวเวทนี้ใกล้เคียงกับ ปงกัล (பொங்கல்) ปายาสของทมิฬ เป็นข้าวหุงด้วยน้ำนมและน้ำตาล[6] ถวายแก่สุริยเทพในเทศกาลปงกัล ช่วงมกรสังกรานติของพราหมณ์ในรัฐทมิฬนาฑูและอานธรประเทศ[7] ซึ่งตรงกับพระราชพิธีตรียัมพวาย-ตรีปวายของไทยพอดี[8]

ระเบียงภาพ

อ้างอิง

  1. "ถวายข้าวมธุปายาส". สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง. 18 มีนาคม 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 ตุลาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2020.
  2. "พระราชพิธีตรียัมปวาย". เทวสถาน. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2020.
  3. คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง (31 กรกฎาคม 2019). "อาหารกับศาสนา : ข้าว". มติชนสุดสัปดาห์. สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2020.
  4. คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง (17 พฤษภาคม 2018). ""บายศรี" สารพัน อะไร? ยังไง? ใหม่? เก่า?". มติชนสุดสัปดาห์. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2020.
  5. Adcharawadee S. (31 กรกฎาคม 2019). "พราหมณ์กินอะไร ?". Urban Eat. สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2020.
  6. Wilson, Horace Hayman (1862). Rost, Reinhold (บ.ก.). Essays and Lectures Chiefly on the Religion of the Hindus, Volume 2. Trübner & Company. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2019.
  7. Pandey, Alpana (11 สิงหาคม 2015). Medieval Andhra: A Socio-Historical Perspective. Partridge Publishing. ISBN 978-1-4828-5017-8. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2019.
  8. คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง (7 กันยายน 2017). "ข้าวในประเพณีพราหมณ์". มติชนสุดสัปดาห์. ISSN 1686-8196. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2020.
Kembali kehalaman sebelumnya